pic of day

pic of day

วันเสาร์ที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

อะไรกันนักหนากับ Pure Sine Wave (PSW) อินเวอร์เตอร์




กาลครั้งหนึ่ง นานมาแล้ว สมัยเมื่อครั้งผมและผองเพือนกำลังบ้าแสง ถึงจุดหนึ่งเราก็เริ่มคิดว่า เอ๊ะ ถ้าเรามีไฟสตูแรงๆสักตัวก็น่าจะดีนะเผื่อเอาไว้ ทำอะไรมันส์ๆ กัน และ เผื่อจัดอบรมนอกสถานที่จะได้มีของเล่นเอาให้ให้สมาชิกเล่นกัน เราก็ชายตามองไปที่แฟลช Alien Bees กันก่อนเลย ซึ่งอันที่จริง ผมนี่แหละ ที่ให้ข้อมูลกับเพื่อนในกลุ่มว่า ตัวนี้ เจ๋งจริง ราคาไม่แพง

อุปสรรคที่เราเจอ ด่านแรกคือ AB ไม่มีตัวแทนจำหน่ายใดๆ ทั้งสิ้น ต้องสั่งจาก อเมริกา อย่างเดียวเท่านั้น ด่านสองคือ ไฟที่ AB ใช้คือไฟแรงดัน 110 V ปัญหานี้ได้รับการแก้ไข โดยเพื่อนรุ่นน้องคนนั้น ก็ติดต่อไป ปรากฎว่า เขายินดี แก้ไขให้ใช้ไฟ 220V ได้แต่ต้องจ่าย $10 เหรียญ ปัญหาแรก ก็ผ่าน จากการซื้อตรง (ข่าวว่า ปัจจุบัน AB ไม่ขายตรงนอก USA แล้ว)

ทีนี้ กลับมาเรื่อง แหล่งจ่ายไฟ เดิมนั้น เรามีจุดตัดสินใจต่อว่า จะทำไฟ 220V หรือ ทิ้งมันไว้อย่างนั้น แล้วใช้ แบตเตอรี่แพค ที่ชื่อว่า VAGABOND ซึ่งต่อมา ได้พัฒนามาเป็น VAGABOND MINI™ LITHIUM แบตเตอรี่แพคของ AB นั้น (หมายถึงรุ่นเก่า) ไม่ได้เป็นอะไรมากไปกว่า การมีแบตเตอรี่แบบ SLA (Seal Lead Acid หรือ ตะกั่วกรดแบบแบตรถยนต์ที่ผนึกมิดชิด ซึ่งหาได้ในไทยง่าย ราคาถูก) รวมกับตัวแปลงไฟแบบ PSW แต่ไอ้ตัวแปลงไฟนี่สิ แพงงงงง (ในตอนนั้น) แพงนี่ เรากำลังคุยถึง เงินหมื่นบาท นะครับ! มันเลยเป็นจุดตัดสินใจยากมาก ว่าจะเอาแบตแพคด้วยไหม เพราะจริงๆ การที่เราเล่นแฟลชเล้ก ส่วนหนึ่งก็เพราะมันพกพาไปไหนง่าย ใช้นอกสถานที่ได้ง่ายนั่นเอง ส่วนค่าตัวของแบตแพคของ AB ก็หลักหมื่นเหมือนกัน โอ๊ย ปวดหัว



ต่อมามีคนมาเฉลยว่า การประดิษฐ์ แบตแพคแบบ AB นั้นไม่ยาก แค่ใช้ตัวแปลงไฟตรงไปเป็นไฟสลับ หรือ ที่เรียกว่า Inverter นั่นเอง แต่ปัญหาเดิมนั้น ค่าตัว Inverter แบบ PSW (Pure Sine Wave) นั่นแหละแพง

กลับมาดูหน่อยว่า Inverter ในปัจจุบันมีกี่แบบ ที่เราพบเห็นตามห้าง IT บ้านหม้อ หรือที่อื่นใดนั่น ส่วนใหญ่ จะเป็นแบบ Quasi-Sine Wave หรือ modified sine wave ตามรูปด้านล่าง


จุดที่ควร พูดถึงตอนนี้เลยก็คือ พวกไฟสตู ทั้งหลายนั้น ทางผู้ผลิตเขาบอกเลยว่า ต้องใช้กับตัว Inverter ที่เป็นแบบ PSW เท่านั้น จะไปใช้แบบอื่นไม่ได้ ปัญหาก็เลยตามมาว่า ตัว PSW นั่นแพงมากก

ผมเคยสงสัยว่า ทำไม๊ ทำไม มันต้องใช้แบบ PSW ด้วยใช้แบบ modified sine wave ไม่ได้หรือ จะได้ไปหาซื้อแถวห้าง IT มีขายตัวไม่กี่พันบาท ก็ได้วัตต์ถึง 1000 วัตต์แล้ว คำตอบคือ ไม่ได้ !!!

เหตุผลที่ผมขุดลึกลงไปก็คือ การชาร์ตไฟเข้ากับคาปาซิสเตอร์นั่น หากเป็นแบบ modified sine wave ช่วงที่มัน กระโดดขึ้นไป ตามยอดคลื่นนั่น จะส่งผลให้เกิดกระแสมากจนทำให้คาปาซิสเตอร์เสียหายได้ (Charging capacitors uses a huge inrush current. Initially they appear to be a short circuit. ) ดังนั้น เพื่อความชัวร์ เราใช้ Inverter แบบ PSW จะปลอดภัยกว่า

บางคนถามว่า ใช้ UPS ไม่ได้เหรอ ต้องดูด้วยครับว่าเป็นแบบไหน UPS ของคอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่จะเป็นแบบ modified sine wave และจะว่าไป จริงๆแล้ว อุปกรณ์ไฟฟ้าส่วนใหญ่จะสามารถรองรับไฟสลับแบบ modified sine wave ได้โดยไม่มีปัญหาแต่ประการใด มีแต่เจ้า ไฟสตู นี่แหละ ที่เรื่องมาก

ทางเลือกนอกจากจะประดิษฐ์ ตัวแปลงไฟเองแล้ว ก็จะีมีสองทางคือ 1. ใ้ช้เครื่องปั่นไฟเล็ก 2. ซื้อตัวแปลงไฟแบบ PSW สำเร็จรูปซึ่งมีขายหลายยี่ห้อมาก แต่ราคา ก็จะแพงตาม

ปัจจุบัน มีข่าวดีคือ เรามี PSW ราคาถูกออกจำหน่ายมากขึ้นๆ ใน E-Bay คุณภาพผมยังไม่ได้รับรายงาน แต่ เห็นเขามีใบรับรอง CE และ ROHS certificate ก็ลองหาดู



ตัวข้างบนนี้ ผมสนใจ ราคาแค่ $79 เหรียญเท่านั่น ส่วนตัวล่างนี้ ราคา $139 เหรียญ หาใน E-Bay นะครับ


ส่วนใครอยากลองทำเอง ดูวิดีโอนี้ ครับ (ผมคนหนึ่งละ จะทำ)

4 ความคิดเห็น:

  1. สั่งผ่านตัวแทนใน aus ได้ครับ แต่ราคาแพงกว่า 200 us โหดน่าดู อยากได้อยู่แต่ยังทำใจเรื่องราคาอยู่ครับ

    ตอบลบ
  2. ผมจะลองสั่งจาก อีเบย์ เอาตัวของจีนที่ได้ CE นะ่ครับ ถูกดี น่าลองเสี่ยง

    ตอบลบ
  3. อัพเดทหน่อย ผมทำแล้วนะครับ ใช้ของจีน รุ่น 300/600W หมายถึง มันรับกระแสงสูงสุดช่วงสั้นได้ 600W และต่อเนื่องได้ 300W มาต่อกับ แบตแห้งขนาด 18Ah ใช้กับไฟสตูสองหัวๆละ 300 WS ซำบายครับ

    ตอบลบ
  4. อุปกรณ์ที่จำเป็นต้องใช้เพียวซาย คือมีมอเตอร์เป็นส่วนกำลังงานคับ นอกนั้นไม่จำเป็น มอเตอร์ สว่าน คอมเพรสเซอร์

    ตอบลบ