pic of day

pic of day

วันจันทร์ที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2554

แหล่งข้อมูลสำหรับคนที่อยากดัดแปลงแบตเตอรี่แบบ SLA



ผมจำได้ว่า ผมเขียนเรื่องนี้ไปหลายต่อหลายหน วันนี้เลยลองเอาไอเดียต่างๆมารวบรวม ผนวกของเก่าที่เคยเขียนไว้เอามารวมไว้ในนี้ด้วย

เนื่องจากเราเป็นกลุ่มเล่นแสง การใช้แสงต้องมีแหล่งพลังงานจากที่ไหนสักที่ และปัจจุบันแหล่งจ่ายไฟที่หาง่าย ราคาถูก และมีประสิทธิภาพดีก็น่าจะเป็นแหล่งจ่ายไฟจากแบตเตอรรี่แบบ Ni-Mh ผมถึงกับเคยคิดถึงการดัดแปลงแบตที่ใช้กับ เฮลิคอปเตอร์ ของเล่นหรือกลุ่มที่ใช้ Li-Po (ลิเธียมโพลิเมอร์) แต่ เพื่อนฝรั่งบอกว่า อย่าเีชียวเอ็ง มันไม่เสถียรพอ และมีวิดีโอคลิปที่เห็นมันระเิบิดหรือลุกไหม้ได้ง่ายๆ ถ้าบังเอิญมันแตก หรือ รั่ว เสียก่อน

เวปหนึ่งที่น่าสนใจเข้าไปเยี่ยม แต่ของค่อนข้างแพงคือ http://www.aljacobs.com นายคนนี้ปากจัดดี แต่ข้อมูลดิบล้วนๆเรื่องแฟลช
แหล่งพลังงานใช้ได้ ไ่ม่โกหก

ทำไมผมแนะนำให้ใช้แบตแบบ SLA สำรหรับดัดแปลงแฟลชเก่าๆ (ย้ำนะครับเก่าๆ ที่รีไซเคิลช้าๆ อย่าง Vivitar 285, 285Hv และกลุ่ม Sunpak รุ่นเก่าทั้งหมด) ผมขอยก บทควมเก่าที่เคยเขียนไว้มาดังนี้นะครับ

แบตเตอรี่ SLA แบตเตอรี่ดี ที่คุณ(อาจ)ลืม

เอ๊ะ แบตอะไรนะ? คุณอาจถาม ...
ในโลกของแบตเตอรี่แบบ Li-Ion หรือ Ni-Mh ที่ครองตลาดอยู่ในปัจจุบัน (ผมขอไม่พูดถึง Ni-Cd นะ) หลายคนคงไม่คิดว่า จะมีแบตอะไรที่จะมาใช้งานกับ กล้องถ่ายภาพหรืออุปกรณ์ ได้มากไปกว่าแบตสองประเภทนี้ แน่นอน สำหรับ กล้องถ่ายภาพปัจจุบัน ที่เทคโนโลยีสูงขึ้น การกินแบตก็ลดลง สมัยก่อนที่ผมยังเล่นกล้องคอมแพคอยู่ มีถึงขนาดบางคนทำแบตภายนอกที่เรียกว่าแบตกระสือ เพื่อจ่ายกระแสให้กับกล้องดิจิตอลคอมแพคได้นานๆปัจจุบันกล้องทั้งคอมแพคหรือ DSLR เกือบทั้งหมด จะหันมาใช้แบตชนิด ลิเที่ยม (li-ion) กันเกือบหมดแล้วด้วยเหตุผลที่มันดูแลง่าย มีการเก็บประจุได้มากเทียบกับ น.น. ตัว และไม่มีเมมโมรี่เอฟเฟก
นับว่าเป็นแบตที่เลิศเลอ เฟอร์เฟคใช่ไหมครับ ช้าก่อน .. เดี๋ยวเราจะมาดูกันต่อ

BATT1

หันมาทางแบตชนิด Ni-Mh กันบ้าง คุณสมบัติแม้จะใกล้เคียงกับ Li-ion แต่ก็ยัง ด้อยกว่าในเรื่องการคายประจุตัวเอง
และการเก็บประจุต่อ นน ที่ยังด้อยกว่า Li-Ion เอาละผมจะเทียบสองตัวนี้และจุดอ่อนให้เห็นสักนิดก่อน ก่อนไปเรื่อง SLA ของเรานะครับ เพราะว่า ผมไม่ค่อยเห็นใครให้ข้อมูลตรงนี้กันเลย เอาเรื่องที่เป็นจุดอ่อนนะครับ

ประการแรก ทั้งสองแบบนี้ มันมีอายุการใช้งานครับ!! หมายถึง ถ้าเราไม่ใช้เลย แล้วเอามาเก็บไว้เล่นๆซะงั้นหลังจากผลิตสัก 2-3 ปี
ความสามารถในการเก็บประจุจะเริ่มเสือมแล้วครับ คุ้นๆไหมครับว่า เคยได้ยินคนบ่นว่า ซื้อแบตใหม่ๆพวกนี้มาแต่ชาร์ตแล้วไม่ค่อยเข้า
(ไม่เก็บประจุ) นั่นอาจเป็นเพราะคุณได้แบตเก่ามาครับผม

ประการที่สอง แบตแบบ Li-Ion จะมีความเปราะบางในการเก็บ ดังนั้นมันจึงต้องมีเปลือกและวงจรหุ้มมัน ซึ่งถ้าหากทำได้ไม่มาตรฐาน
จึงค่อนข้างอันตรายมากๆ ดังจะเห็นว่า คอมพิวเตอร์แลปทอปยี้ห้อหนึ่ง ถึงกับต้องเก็บเครื่องคืนเนื่องจากแบตไม่ปลอดภัย และ คุณคงเคยได้ยินเรื่องแบตไม่ได้มาตรฐานระเบิดกันแล้วนะครับ



เอาละเราหันมาดูเรื่องแบตแบบ SLA ของเรากันวันนี้ดีกว่า ที่ผมหันมาสนใจแบตชนิดนี้ก็เพราะเรื่องแฟลชนี่แหละครับ
แบตแบบ SLA ย่อมาจาก Seal Lead-Acid แบตเตอรี่ หรือพูดอีกนัยคือ แบตเตอรี่รถยนต์แบบผนึกปิด เออ ฟังดูเท่ไหม
ครับแบตพวกนี้มันคือ แบตตะกั่ว-กรด แบบที่ใช้ในรถยนต์จริงๆนั่นแหละ เพียงแต่มันถูกออกแบบมาให้อยู่ในระบบปิดเท่านั้นครับ

แอ่นแอ๊น ไอ้แบตแบบนี้มันดีอย่างไร? ยังไม่เคยมีใครบอกคุณใช่ม้า .......

มาดูคุณสมบัติน่าทึ่งของมันหน่อย โอเค ถ้าพูดถึงความจุต่อน้ำหนักแล้ว แบตแบบนี้ แพ้ ทั้ง Li-Ion และ Li-Mh หลุดลุ่ยเลยครับแต่ๆๆๆๆๆ อย่าลืมนะครับ นั่นคือ ความจุต่อน้ำหนัก แต่แบตพวกนี้ อาศัย รูปร่างที่ใหญ่โตกว่าเขา ก็เลยกลายเป็นว่า มันมีความจุมากกว่าเพื่อนมากมายเลยครับ

กลับมาดูเรื่องคุณสมบัติของมันกัน

1. แบตพวกนี้ มีพัฒนาการมานาน และเกิดก่อนคนอื่น ดังนั้นระบบของมันจึงอยู่ตัวเป็นอย่างมาก แม้ความจุต่อน้ำหนักจะต่ำกว่าคนอื่น แต่คุณสมบัติที่น่าสนใจของพวกมันคือ การจ่ายกระแส หนักๆได้ทีละมากๆ มันจึงถูกใช้ในรถยนต์ มอเตอร์ไซด์ ฟอร์กลิฟต์ และเครื่องมือที่ต้องดึงกระแสหนักๆ ต่างๆ
2. พวกมัน มีอัตราการคายประจุที่ต่ำมาก อาจเรียกได้ว่าต่ำที่สุดในบรรดาแบตเตอรี่ด้วยกันทีเดียว
3. พวกมันมีความอึดในการใช้งาน และดูแลรักษา ดีกว่าแบตชนิดใดๆ
4. มันสามารถชาร์ตเมื่อไหร่ก็ได้ ไม่มี memory effect
5. อันนี้สำคัญมากกกกก คือ มันมีราคาถูก อย่างเหลือเชื่อ เมื่อเทียบกับ แบตอื่นๆที่มีความจุเท่ากัน (ผมไปถามร้าน อมร ตรง IT mall เอาแบบ 6V มีราคาแค่ 220 บาท - ข้อมูลวันที่ 25 มกราคม 2011 )

เห็นไหมครับ แค่คร่าวๆ เราจะเห็นแล้วว่า มันจะเหมาะกับอะไรก็แล้วแต่ ที่ ต้องการกระแสมากๆ หนักๆ ครับผม

แล้วมาเกี่ยวอะไรกับแฟลชที่ผมพูดถึง? เราคงรู้กันว่า แฟลช ของระบบกล้องถ่ายรูป เป็นตัวกินแบตอย่างแท้จริง แบตขนาดความจุ 2000-2500mAh หากนำมาใช้กับแฟลชแรงๆที่มี GN สัก 40-58 (m) นี่ถ้ายิงเต็มแรง รับรองไม่กี่สิบหนก็หมด ดังนั้น หลายๆคนจึงมักต้องมีแบตสำรอง 4-5 ชุดด้วยกันเลยทีเดียว


ช่างภาพแนว wedding ของ ต่างประเทศจะใช้แฟลชที่มี GN แรงๆ อย่าง Quantum flash และจำเป็นต้องใช้นอกสถานที่บ่อยๆ ดังนั้นแบตของแฟลชพวกนี้มักเป็นแบตชนิด SLA กัน (หรือเป็นพวก ไฮโวลเตจแพค) ครับ และหลายคนถึงแม้จะใช้แฟลชที่แรงน้อยกว่าที่ว่ามา แต่ความต้องการในการใช้แบตความจุสูงๆ ก็ยังเป็นอะไรที่ต้องการอยู่ แฟลชโบราณอย่าง Sunpak ถึงกับมี อแดปเตอร์ที่มาจากแหล่งจ่ายไฟ AC โดยตรงเลยทีเดียว

แน่นอน แฟลชระดับสูงมากๆจะมีช่องที่รับไฟจากภายนอกแต่ปัญหาของแหล่งจ่ายไฟที่สามารถ จ่ายได้หนักๆนานๆ ก็ยังเป็นปัญหาที่สำคัญมาก เนื่องจากแบต sla พวกนี้ สามารถจ่ายกระแสหนักๆได้สบายๆ ดังนั้น การ รีไซเคิล ของแฟลช จะเร็วขึ้นมาก บางคนบอกว่าเร็วขึ้นกว่าเท่าตัวเลยทีเดียว!!! (ของผม Vivitar 285HV จากที่ใช้ Eneloop @ 6 วินาที เหลือ 3 วินาที ที่เต็มกำลัง)

DIY External Flash Power-160607-010.jpg

ดังนั้นถ้าใครใช้แฟลชมากๆ และต่อเนื่องยาวนาน โดย น้ำหนัก และขนาด ไม่ได้เป็นปัญหาของคุณแล้ว(เช่นแขวนไวักับขาตั้งไฟ หรือมีคนช่วยสะพายให้) ลองชายตามองแบตแบบ SLA สิครับ แล้วคุณจะติดใจ
DIY Flash Battery Pack - 6V SLA

วันศุกร์ที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2554

10 ขั้นตอนในการถ่ายภาพสไตล์ เรียบ ง่าย

แนวการถ่ายภาพที่เรียกกันว่า Minimalist หรือ ความเรียบง่าย นั้น เป็นแนวคิดที่มีมานาน บางคนอาจเรียกชื่อกันไปต่างๆนาๆ เช่น Zen photography แต่อย่างไรก็ตาม แนวคิดนี้ มาจากการที่เราคิดว่า การที่เราเลือกองค์ประกอบภาพที่ไม่ซับซ้อน รกรุงรังนั้น ให้ผลต่อความน่าสนใจในภาพสูง อาจเทียบได้ว่า Small is beautiful มีบทความที่แนะนำ 10 วิธีในการถ่ายภาพโดยอาศัยความเรียบง่ายนี้เป็นพลัง
บทความชื่อว่า A 10 Step Guide to Superb Minimalist Photography ซึ่งผมเห็นว่า เป็นอีกแนวทางหนึ่งที่น่าสนใจและมีประโยชน์ จึงขอยกสรุปมาเขียนให้อ่านกันนะครับ

1. เข้าใจความคิดพื้นฐานของความเรียบง่าย : แนวคิดเรื่องนี้ เน้นไปที่การนำเอาองค์ประกอบภาพ อาทิ เส้น สี รูปร่าง พื้นผิว หรือ รูปทรง มาใช้ให้น้อยทีสุดในภาพ โดยทิ้งให้ผู้รับชมภาพได้ดื่มด่ำและตีความหมายภาพโดยตัวของผู้ชมภาพเอง วิธีการเช่นนี้ เปิดอิสระความคิดในการตีความหมายภาพ โดยบางครั้งอาจไม่ได้มีทิศทางหรือซับเจคใดๆในภาพ


2. ทำให้มันเรียบง่ายเข้าไว้ : เมื่อเราเข้าใจหลักพื้นฐานของการถ่ายภาพแนวเรียบง่าย แต่มันไม่ได้หมายความว่ามันจะน่าเบื่อหรือไม่น่าสนใจ แต่ขอให้เราจงพยายามเลือกซับเจคที่น่าสนใจหรือดึงดูดสายตา ตัวซับเจคเองจะต้องเป็นองค์ประกอบสำคัญที่สุดในภาพ แต่ไม่จำเป็นต้องกินพื้นที่ส่วนใหญ่ในภาพ


3. คอมโพสิชั่น : อันนี้ไม่ต้องพูดมาก เพราะทุกคนต่างรู้กันดี โดยเฉพาะกฎทอง เรื่อง จุดตัด 9 ช่อง ขอให้เราประยุกต์กฎต่างๆของการจัดวางองค์ประกอบภาพให้จงดี


4. ใช้สีให้ส่งเสริมกัน : สีนับเป็นองค์ประกอบภาพที่แข็งแรงอันหนึ่ง บางครั้ง การรู้จักเลือกใช้สีที่ส่งเสริมกันนั้น สามารถสร้างความโดดเด่นให้กับภาพแม้บางครั้งจะไม่มีซับเจคใดๆในภาพเลยก็ตาม ยิ่งสีมีความสว่างสดใสมากก็ยิ่งน่าสนใจ (ระวังเรื่องคอนทราสที่จัดด้วย)


5. รู้จักใช้เส้นที่แข็งแรง : เส้นที่แข็งแรงไม่ได้หมายความว่าต้องเป็นเส้นตรง แต่เป็นเส้นที่โดดเด่นเห็นได้ชัด เส้นในแนวตั้งและแนวนอน เมื่อใช้ให้เหมาะสม ก็จะสามารถสร้างความน่าสนใจให้กับภาพได้มาก ดังนั้นขอให้เราสังเกตหาเส้นที่จะนำมาสร้างเป็นองค์ประกอบภาพที่โดดเด่นและใช้ประโยชน์จากเส้นเหล่านั้น


6. เก็บเอารายละเอียดเล็กๆน้อยๆของความรู้สึกเข้าไว้ด้วย : แม้ว่าภาพแนวเรียบง่ายหลายภาพ อาจใช้องค์ประกอบภาพแค่ สี หรือ พื้นผิว แต่เราก็อย่าลืมรายละเอียดเล็กๆน้อยๆ ที่จะทำให้ภาพมีความสมบูรณ์ อาทิ ทิศทางแสงที่จะช่วยขับพื้นผิวให้โดดเด่น หรือ คอนทราสที่เหมาะสมกับภาพ ทำให้ผู้มองสามารถรู้สึกได้ถึงภาพที่เขาเห็นตรงหน้าได้อย่างสมบูรณ์ที่สุด


7. เปิดตาให้กว้าง : มองหาสิ่งต่างๆรอบตัวที่น่าสนใจ ในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็น ช่องว่าง สีต่างๆที่เรียงราย ซับเจคที่น่าสนใจซึ่งอยู่โดดๆ และ เส้นสายที่น่าสนใจ รูปทรงเรขาคณิตก็นับเป็นจุดเริ่มต้นที่น่าสนใจเช่นเดียวกัน ซึ่งจะหาได้ไม่ยากกับสถาปัตยกรรมของอาคารทั้งหลาย ลองมองไปรอบๆและเลือกหาส่วนใดส่วนหนึ่งที่โดดเด่นขึ้นมา


8. การปรับแต่งภาพ : การปรับแต่งภาพในแนวทางของความเรียบง่าย จะเน้นไปที่การปรับแต่ง เพื่อดึงเอาลักษณะเด่นของภาพนั้นออกมา มากกว่าที่จะปรับแต่งให้ หลุดโลก หรือ ไปในทิศทางอื่นๆ ที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับวัตถุประสงค์ที่จะสื่อความหมายของภาพ


9. เล่าเรื่องราว : แม้ว่าแนวทางของการถ่ายภาพแบบเรียบง่าย จะเน้นไปที่การใช้ เส้น สี รูปทรง รูปร่าง พื้นผิว แบบเรียบง่ายก็ตาม แต่มันไม่ได้หมายความว่า เมื่อคุณพบสิ่งที่น่าสนใจแล้วจะไม่นำมันมาใช้ประโยชน์ ตรงนี้จะเป็นการท้าทายตัวคุณเองว่า คุณสามารถสร้างเรื่องราวจากความเรียบง่ายได้หรือไม่? หากคุณได้รับมอบหมายให้ถ่ายงานพิธีต่างๆ ท้ายสุด คุณสามารถเล่าเรื่องราวจากภาพเพียงภาพเดียวได้หรือไม่?


10 จงมีความคิดสร้างสรรค์เสมอ : เมื่อเราเข้าใจพื้นฐานและหลักการของการถ่ายภาพแบบเรียบง่ายแล้ว อย่าลืมที่จะสร้างสรรค์ผลงาน หาความคิดริเริ่มใหม่ๆให้กับภาพอยู่เสมอ แม้ว่าบางคร้งอาจไม่ประสบความสำเร็จ แต่จงพยายามค้นหาสิ่งแปลกใหม่ท้าทาย ในแนวทางของความเรียบง่ายอยู่เสมอ

วันพฤหัสบดีที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2554

มหัศจรรย์ของเลนส์ฟิกซ์




หวัดดีปีใหม่ครับ ไม่ได้มาอัพเดทกันนานนะครับ แต่อย่างน้อยทุกเดือนต้องมีแหละครับ บางทียุ่งๆ หรือ บางทีกำลังตัดสินใจเลือกเรื่องที่จะเอามาแชร์กัน อันนี้เป็นบทความเรื่อง The Magic of Wide Apertures: Technique, Lenses & Settings จริงๆ เรื่องนี้จะไปเกี่ยวกับอุปกรณ์ แต่คิดว่ามีประโยชน์ดี เลยขอหยิบของเขามา เล่านะครับ

คงเป็นที่ทราบว่า เลนส์ที่เราใช้นั้นแบ่งได้เป็นสองพวก คือ เลนส์ซูม กับ เลนส์ฟิกซ์ ซึ่งเราคงรู้ประโยชน์ของมันไปแล้ว
แต่ที่หยิบมาคุยคือ ความงามและมหัศจรรย์ของเลนส์ฟิกซ์ ที่เราอาจไม่ทันพิจารณากันนั่นก็คือ การที่มันสามารถสร้างภาพที่ให้อารมณ์สุนทรีย์กับเราได้ แม้สิ่งที่ถ่ายจะเป็นอะไรที่เรียบง่าย นั่นก็เป็นเพราะความสามารถในการสร้างภาพที่ ชัดตื้น เป็นอย่างมากนั่นเอง
ตาของคนเราจะมองไปในส่วนที่ คมชัด ที่สุดก่อน ดังนั้น ภาพที่มีความชัดตื้น ตาของเราจึงเพ่งไปในส่วนที่คมชัด และปล่อยให้ สิ่งที่อยู่นอกระยะโฟกัส เบลอ กลายเป็นฉากหลังประกอบไป

ประโยชน์ที่ได้นี่ เราจะใช้ในการถ่ายสถานการณ์ไหน

1. ภาพสัตว์


2. ภาพบุคคล


3. ภาพดอกไม้


4. ภาพแนวท่องเที่ยว


5. ภาพแนวแอปสแตรก


6. ภาพแนววิถีชีวิต


จากที่ว่ามานี้ จะเห็นว่าการใช้ เลนส์ฟิกซ์ จะสร้างข้อได้เปรียบมากกว่า อันเนื่องจาก เลนส์พวกนี้ มีน้ำหนักเบา และ มีรูรับแสงที่สว่างมากกว่าเลนส์แบบซูม โดยทั่วไป เลนส์พวกนี้จะมีค่า F ต่ำกว่า 2.8 และถ้าเราไม่ได้เล่นเลนส์เกรดโปรมากๆ แค่เลนส์ฟิกซ์ ระดับทั่วไปก็นับว่า ดีเพียงพอ ต่อการใช้งานแล้ว อาทิ เรามีเลนส์ยอดนิยมราคาไม่แพงอย่าง 50 F 1.8 หรือ 85 F1.8 เป็นต้น
แต่ถ้าใครจะใช้เกรดดีกว่านี้ ซึ่งราคาจะกระโดดขึ้นไปเป็นหลายเท่าตัว ก็ไม่ว่ากันครับ

ทีนี้ บางคนอาจยังไม่มีเลนส์ฟิกซ์ หรือ อาจมีเลนส์ฟิกซ์อยู่แล้ว แต่ยีังรู้สึกว่า การละลายฉากหลัง ยังไม่สะใจ ทำไงดี?

แน่นอนทางหนึ่งที่ทำได้คือ ซื้อเลนส์ที่สว่างขึ้นไปอีก เป็น F1.4 / 1.2 / 1.0 ไปเลย ซึ่งราคาไม่ต้องถาม

แต่ทางเลือกหนึ่งที่จะประหยัดได้คือ ใช้ เลนส์โคลสอัพ เลนส์พวกนี้ จริงๆ บ้านเราเรียก โคลสอัพฟิลเตอร์ ซึ่งการใช้งาน ก็แค่เอามาใส่ไว้หน้าเลนส์ของเรา เหมือนพวกฟิลเตอร์ต่างๆ

แม้จะทำให้เสียแสงไปบ้าง แต่เรายังคงได้ค่า F เดิม แต่จะทำให้เรา สามารถเข้าใกล้ สิ่งที่จะถ่ายได้มากขึ้น ได้ระยะชัดตื้นที่สูงขึ้น
ดังนั้น คงไม่แปลกใจ ที่ช่างภาพหลายคน ชื่นชอบที่จะใช้เลนส์ฟิกซ์มากกว่าเลนส์ซูม โดยยอมละทิ้งความไม่สะดวกในการขยับตัวไปบ้าง แต่อย่างไรก็ตาม เลนส์ซูม ก็มีประโยชน์ของมัน ในแง่ ของความเหมาะสมของสถานที่ ซึ่งบางแห่ง เราไม่สามารถขยับได้อิสระตามใจได้ ดังนั้น การใช้เลนส์ซูมแบบสว่าง หรือ ค่า F คงที่ตลอดช่วง ก็น่าจะเป็นทางเลือกที่ดีกว่า

สำหรับคนที่สนใจ แกลอรี่ ภาพจากเลนส์สว่างตัวโปรด ลองค้นหาใน flickr ดูนะครับ
บางตัวอย่างก็มีลิงค์ให้ตามนี้