pic of day

pic of day

วันอังคารที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ผสมผสานแสงแฟลช กับ ไฟต่อเนื่อง เป็นงาน ศิลป์



จากเวปของ Aurum Light  .....   คุ้นไหม ถ้าไม่คุ้น ให้เลือ่นลองไปดู สัก 5 บทความเก่า ที่มีการ เทสี ลงบนตัวนางแบบ

จริงๆ อันนี้ไม่ได้มีอะไรใหม่ในเชิงเทคนิค  แต่ที่ใหม่คือ การสร้างสรร โดยเอา เจลสี มาร่วมด้วย
ผมว่า เจ๋งดี  ไอเดียคือ ทำอย่างไร จะผสมแสงทั้งสอง โดยต้องการ ผลลัพธ์ ว่า  ให้ หน้าตัวแบบ ได้แสงแฟลช ที่ย้อมสี เขียว-ฟ้า (บ้านเราเรียกสีเขียวขี้เป็ดหรือเปล่า จำไม่ได้)
แต่จะให้ เส้นผม ที่ถูกออกแบบมาพิเศษ กลายเป็นเหมือนแปลวไฟ จากการ เปิดหน้ากล้อง นาน 1 วินาที และย้อมแสงสีเหลือง

ลดงดูไดอะแกรมนี้


การทำแสงให้กับ ไฟต่อเนื่องที่เป็นสี จะยุ่งกว่านิดสำหรับ สีเขียว-ฟ้า เพราะต้อง เปลี่ยนสีเหลืองของไฟต่อเนื่องให้เป็นสีขาวก่อน จากนั้น ก็ย้อมด้วยสี เขียว-ฟ้า อีกที  ไฟหลัก คือ แฟลช สีขาว
ดูตามไดอะแกรมนี้



ภาพสุดท้ายก็จะได้ภาพตังตัวอย่าง ลองดูวิดีโอ ตามนี้ครับ

Mixed Lighting - Continuous & Flash - AurumLight from Aurum Light Studio on Vimeo.


วันพฤหัสบดีที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2555

Photographing Shadow and Light: Inside the Dramatic Lighting Techniques and Creative Vision of Portrait Photographer Joey L.



สาวก หรือ คนที่นับถือ โจอี้ ลอเรนส์ เป็น ไอดอล คงได้สมใจอยาก ที่เขามีหนังสือออกมาใหม่อี่กแล้วนะครับ มี เวอร์ชั่น Kingle ด้วย แต่ แปลกมาก เวอร์ชั่น อิเลคทรอนิค แพงกว่า เวอร์ชั่นกระดาษ เป็นครั้งแรกที่ผม งง ครับ

แต่ไง ผมก็คงซื้อ เพราะผมชอบ หนังสือแนวนี้ ไม่ใช่หนังสือแนว How-to ที่ผม เริ่มจะ อิ่มแล้ว มันไม่มีอะไรใหม่ สำหรับผมนะครับ แม่แต่ เมื่อวานก่อน ลูกศิษย์ คนหนึ่ง เอาวิดีโอ ของ สก๊อต เคลบี้ ให้ผมดู ผมก็ให้ความเห็นว่า มันก็ดีนะ แต่สำหรับผมมันไม่มีอะไรใหม่ ถ้าผมว่าง ผมคงจะ เอนจอย ในการดู วิดีโอ ชุดนั้น แต่ถ้าผมจะสนใจ ผมจะสนใจ วิดีโอ แนว การเล่าไอเดีย แนวคิด ของโปร ในแนวที่ผมสนใจ อาทิ ผมยังคงสนใจวิดีโอของ ซู ไบร์ส หรือ คริสต้า เมียวล่า และ โจ บูสิค เป็นต้น

โจอี้ ก็เป็นอีกันที่ผมสนใจ ผมเห็นบางคน เดินทางไป อินเดีย เหมือนเขา ไปถ่ายภาพ ด้วยกล้องและเลนส์สุดเทพ แต่สุดท้าย ได้ภาพสวยครับ แต่มันขาด อะไรไป ผมดูแล้วมัน แห้งๆ ไงชอบกล แต่ภาพของ โจอี้ จะดูมีมิติที่น่าสนใจกว่านั้น ภาพมันเป็น เอกลักษณ์ของเขา ดูวิดีโอ ตัวอย่างดูครับ ดูแล้ว เอนจอย ดี

Varanasi, India: "Beyond" from Cale Glendening on Vimeo.

วันจันทร์ที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

การถ่ายภาพความเร็วสูง โดยใช้ อุปกรณ์พิเศษช่วย เพื่อให้ได้ภาพระดับ ไฮเอนด์

หลายคน อาจเห็น ภาพถ่าย ความเร็วสูง ในแบบต่างๆ ซึ่งส่วนใหญ่ จะเป็นการใช้คนทำ ซ้ำๆ หลายๆที
แล้ว จับภาพที่ดีที่สุด มา หรือ ถ้าเป็นกรณีหยดน้ำก็จะมีเครื่องมือพิเศษที่ช่วยทริกแฟลช ให้วาบ แน่นอน คลาสถ่ายสินค้า Creative Lighting 103 ของผม ก็มีการถ่ายภาพแนวนี้ พอให้ สนุกๆ (แต่ต้องแฝงความเข้าในในทฤษฎีที่เรียนตอนเช้า) เข้ามาด้วย

แต่ ถ้าคุณจะเอา ภาพในระดับ ไฮเอน สุดๆ แบบว่า ขอเก็บเงิน เยอะๆจากลูกค้า สงสัย คุณต้องยอมให้กับ บริษัทนี้แล้วครับ เพราะเขา ได้ลงทุน ทำ หุนยนต์ แขนจับ และ ตัวจัดการกล้องแบบต่างๆ เพื่อให้ได้ภาพที่ คุณจะไม่เคยเห็นที่ไหนมาก่อน ด้วยความแม่นยำ และ เที่ยงตรงสูงมาก ไม่เชื่อ ลองดูวิดิโอนี้กัน






วันอังคารที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ความงามของการถ่ายภาพแนว ช้าาาาาาาาาาาาาาา

มีหนังสือเล่มหนึ่ง โปรโหมด วิธีการถ่ายภาพที่เปิดหน้ากล้องนานนนนน ซึ่งออกมาพักใหญ่ๆแล้ว ชื่อ หนังสือว่า SLOW จากค่ายหนังสือดี ราคาถูก คือ คราฟ แอนด์ วิชั่น ที่ผมเองก็ซื้อมาหลายเล่มแล้ว หนังสือนี้ หารายละเอียดได้ตามลิงค์  http://craftandvision.com/books/slow/  เพื่อฉลองกับหนังสือใหม่ ได้มีการสัมภาษณ์ช่างภาพ กรีก คนหนึ่งชื่อ Vassilis Tangoulis ซึ่งเป็นช่างภาพชื่อดัง และ มีภาพสวยงามมากมายที่ใช้เทคนิคการใช้ชัตเตอร์ช้า ผมว่า ควรหามาอ่าน และ ควรอ่านบทสัมภาษณ์ดู




บทสัมภาษณ์น่าสนใจมาก สำหรับคนที่ชอบเล่นอะไรแปลกๆ และ วิธีคิดในการสร้างภาพแนวนี้

ลองมาดูภาพสวยๆประกอบคำสัมภาษณ์กันครับ

เนื่องจาก บางท่านมีปัญหาในการชม ผมเลย ขอย้าย ตัวอย่างภาพ โดยดึงจาก ลิงค์ของ

VassilisPhotography's photostream แทนนะครับ

ผมแนะนำให้เพื่อนช่างภาพ ฝากภาพไว้ที่นี่เหมือนกัน ผมก็สมัครแบบจ่ายเงินด้วยครับ 































วันจันทร์ที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

Jerry Ghionis และผลงานเบื้องหลังของเขา

คนที่ติดตามบทความของผมมานาน คงจำชื่อ 
Jerry Ghionis ช่างภาพติด 1 ใน 10 ของ สุดยอดตากล้อง Wedding ในอดีตได้นะครับ 

แม้ปีที่ผ่านมาชื่อเขาจะหลุดโผ แต่คนพวกนี้ ผลงานเข้าระดับตำนานแล้วครับ รับรองไม่ผิดหวัง ผมอยากให้พวกเรา ดูงาน การคิด และ การวางตำแหน่ง ต่างๆของเขานะครับ 

ไอเดียในการเล่น ฟอร์กราวด์+แบกกราวด์ ของเขาทำได้เยี่ยมยอด รวมถึง การจัดฉาก สร้าง โมเม้นท์ ต่างๆ ใครรับถ่ายภาพงานแต่ง น่าจะได้ประโยชน์ไปเต็มๆครับ



วันอังคารที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2555

งานวิดีโอ ฮาๆ ของ เดวิท ฮอลล์ เจ้าของอุปกรณ์แฟลชเล็ก

เดวิท ฮอลล์ คนที่สร้างอุปกรณ์สำหรับแฟลชเล้ก ยี่ห้อ Honl ถ้าใครไม่เคยเข้าไปดูของๆเขาให้เข้าไปดูได้ที่นี่
http://www.honlphoto.com/
ตอนนี้เขามี วิดีโอ โปรโหมด งานจากเครื่องมือชิ้นใหม่ของเขา อันที่จริง งานน่ะ ไม่เท่าไหร่หรอก ผมหมายถึง ชาวไทยออฟ คงชินตา กับงานแบบนี้ แต่ที่ผมชอบก็คือ อารมณ์ขันในงานนี้ กลิ่นอายอารมณ์ขัน มันเหมือนกับเกม Borderland ที่ผมชื่นชอบพอดี ตลกร้าย ฮา ดี

ส่วนตัวเนื้องาน ดูไปเพลินๆนะครับ งานไม่เลว แต่ผมยังชอบของ ดรู การ์ดเนอร์ มากกว่า แต่อันนี้ ยอมรบว่า ผมนั่งดูจนจบเพราะ ตลก ดี ครับ

วันอังคารที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2555

EINSTEIN ไฟสตู ของดีราคาถูก เพื่อการหยุดการเคลื่อนไหว



สมาชิก ไทยออฟคาเมร่า เก่าๆ คงจำแอดชิ้นนี้ได้ ซึี่งผมเคยเอามาแชร์ นานมากแล้ว
แต่ตอนนั้น ประเด็นที่เราคุยกันคือ ความคิดสร้างสรร ไม่ได้คุยเรื่องเทคนิค หรือ ฮาร์ดแวร์อะไร
แต่วันนี้เราลองมาคุยกันนิด

คงจำได้ว่า ผมเคย แนะนำไฟสตูที่มีค่า t.1 เร็วๆ อย่าง Broncolor และ Profoto มาแล้ว
ทีนี้ เราอาจสงสัยว่า ถ้าเราต้องการไฟสตูที่มีการ วาบแสง เร็วๆ (หมายถึงระยะเวลาการวาบสั้น)
เราต้องซื้อ ของแพง หูฉี่ แบบนั้นหรือไม่ คำตอบ โดยทั่วไปคือ ไม่ต้อง



ใครพอจะคุ้นเคย กับ แฟลชสตูยี่ห้อ Alien Bees คงจำได้ว่า เขาออกรุ่น top ออกมา เปลี่ยนชื่อไปเป็น
Einstein ที่มีระยะเวลาการวาบ t.1 ที่ต่ำกว่า 1/1000 วินาที เรียกได้ว่าสูสี พอพัดพอเหวี่ยงกัน แต่ราคา ต่างกันม๊ากกกก  

ใครสนใจลองมาดูเบื้องหลังตัวอย่างกัน

วันอังคารที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2555

Sue Bryce คนเก่งฟ้าประทาน แนว Glamour



Sue Bryce ช่างภาพที่โดดเข้ามาในหัวใจผมเต็มๆ กับการถ่ายภาพแนวที่เรียกว่า Glamour หรือแนว วาบหวาม จุดเด่นที่หาได้ยากของ Sue Bryce ก็คือ เธอสามารถทำให้ ผู้หญิง ธรรมดาๆ หรือ ลูกเป็ดขี้เหร่ คนหนึ่ง กลายเป็น พญาหงษ์ ได้

Sue Bryce ไม่ได้เน้นในเรื่อง เทคนิค การถ่ายภาพ ไม่ได้เน้นเรื่อง Lighting หรือ เทคนิคพิเศษอื่นใด นอกจาก ความสามารถในการ ดึง ความเป็นผู้หญิง ออกมาจากแบบได้ อย่างน่าทึ่ง 

การจัดท่าโพส การแต่งหน้าทำผม การจัดเซตติ้ง ทุกอย่าง มีความหมาย ลงตัว และ สอดคล้องประสานกัน  ถ้าคุณได้ดู วิดีโอ สอน ของ Sue Bryce สัก 10 นาทีแรก คุณจะอึ้ง ทึ่ง เสียว (ขณะที่เขียนบล็อกนี้ ผมยังดูไม่จบ)



ภาพตัวอย่าง ก่อนถ่าย และ หลังถ่าย (คลิ๊กเพื่อดูขนาดใหญ่)





สนใจผลงานของเธอ และ ตามข่าวของเธอได้ที่ลิงค์นี้ครับ  http://www.inbedwithsue.com/




วันอาทิตย์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2555

มารู้จักกับ Glen Luchford กัน

Glen Luchford 
ชื่อไม่คุ้นหู แต่เขาเป็น ช่างภาพแฟชั่น และ คนทำภาพยนต์ อาศัยใน นิวยอร์ค
รายละเอียดของเขาอ่านได้ที่่ ลิงค์ของเขาที่นี่
http://www.glenluchford.com/index.php/photograph

งานของเขาจะเห็นว่า ไม่ได้เน้น ความสวยของตัวเนื้องาน แต่เน้น การ พรีเซ้นท์ ไอเดียที่แปลกใหม่
งานของลูกค้าเขา ก็มักเป็นสินค้ายี่ห้อดัง อาทิ Prada, Yves Saint Laurent, Levi's, Mercedes-Benz และ Calvin Klein เป็นต้น ก็นับว่า ลูกค้าเลือกแนวการนำเสนอของเขา










ใครสนใจหาซื้อหนังสือเขามาดูเล่นก็ได้นะครับ ลองดูจากวิดีโอนี้ก่อน





วันอังคารที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2555

Profoto Pro-B4 ขอเอาคืนบ้าง

คนเล่นไฟสตูแบบมืออาชีพต้องรุ้จักไฟสตู สองยี่ห้อ ที่กินกันไม่ลงสักทีระหว่าง Broncolor กับ Profoto และเมื่อไม่นานมานี้ ทาง บรอน ได้เกทับ ฝั่ง โปรโฟโตว่า แฟลชของตัวเองมีระยะเวลาการวาบไฟสั้นที่สุด แต่ในตอนนี้ ทาง โปรโฟโต ขอเอาคืน โดยการออก ระบบ pack and head ที่ใช้แบตเตอรี่ ที่มีระยะการวาบไฟเร็วที่สุดในโลก (ของไฟที่ใช้ระบบแบตเตอรี่แบบนี้) นั่นคือ มันสามารถวาบได้ที่  1/25,000 วินาที โอ้มายก๊อด

รีไซเคิลไทม์ เมื่อยิงเต็มกำลัง ต่ำกว่า 1 วินาที เยี่ยม!!!   ถ้าหรี่ลงไปสุด จะสามารถยิงต่อเนื่องได้ที่ 30 แฟลชต่อวินาที  ว้าวววว







ราคา ผมยังไม่ทราบ ใครทราบ บอกด้วย ครับผม


วันอาทิตย์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2555

หลักและวิธีการ ในการใช้ Octadome (หรือ บางคนเรียกว่า Octabank)


จริงๆมีคนถามผมนานแล้วว่า ไอ้ซอฟต์บ็อกซ์หน้าตาแปดเหลี่ยม นี่มันใช้งานอย่างไร
เอ่อ ผมก็ตอบว่าก็ใช้เหมือนกับ ซอฟต์บ็อกซ์ นั่นแหละ เพียงแต่มันมีรูปร่าง 8 เหลี่ยมเท่านั้น
ตอบแบบนี้ คนได้คำตอบอาจหงุดหงิดในใจบ้าง (ที่ว่าหงุดหงิดในใจเพราะผมไม่เคยได้ยินใครบ่นว่า ตอบสันจัง สักคน อิอิ) เอาล่ะ มี กระทาชาย นายหนึ่ง ชื่อ Jay P. Morgan ได้ทำวิดีโอของเขาไว้ใน ยูทูป ที่อธิบาย เรื่องพวกนี้ไว้ทั้งหมด รวมถึงเรื่องที่น่าสนใจบางอย่างด้วย

สิ่งที่น่าสนใจคือ ไม่ว่า ขนาด ของมันจะมีขนาดเท่าไหร่ไม่ว่าจะ เล็ก กลาง หรือ ใหญ่
corverage หรือพื้นที่ที่แสงครอบคลุมจะเท่ากันหมด แต่สิ่งที่ต่างกันก็คือ คุณภาพของแสง (คนลงเรียน 101 กับผมคงเข้าใจดี) ทีนี้ ถ้าใครอยากได้แสงที่มีทิศทางมากยิ่งขึ้นโดยไม่อยากเสียคุณภาพของแสง
สิ่งที่คุณทำได้ และ น่าทำมากๆก็คือ หาซื้อ กริด มาใส่ด้านหน้าของมัน ซะ ภาพของคุณจะแลดู ดรามาติก มากยิ่งขึ้นครับ

ลองดูวิดีโอนี้จะเข้าใจดียิ่งขึ้น  หวังว่า วิดีโอ นี้จะมีประโยชน์ นะครับ



วันพุธที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2555

Joel Grimes ช่างภาพตาบอดสี ที่สร้างผลงานอันลือลั่น




เมื่อไม่นานมามานี้ Grimes จำเป็นต้องเลือกเส้นทางการเป็นช่างภาพของตัวเอง จากการที่เคยใช้กล้องวิวขนาด 4x5 กับฟิลม์โพรารอยต์ Type 55 แต่จากการได้รับงานที่มอบหมายจากเอเจนซี่รายใหญ่ ให้ทำงานชิ้นหนึ่ง ด้วยงบประมาณแบบไร้ขีดจำกัด ทำให้เขาได้ค้นพบเส้นทางในการประกอบอาชีพใหม่

ภาพของ Grimes มีสไตล์ที่น่าประหลาดคือ มันดูแล้ว ให้อารมณ์ มีความมุ่งมั่น โดนใจ และ ดูเหนือจริง ซึ่งแนวภาพลักษณะนี้ทำให้เขาได้เข้าไปสู่การภาพถ่ายในโลกของกีฬา ซึ่งเขาได้มีโอกาศถ่ายภาพให้กับนักกีฬาดังระดับโลกอย่างเช่น Blake Griffin แห่ง NBA เป็นต้น



การสร้างภาพของเขาได้นำเอาเทคนิคของ HDR มาประยุกต์ใช้ร่วมกับการตัดต่อภาพของเขา แต่การตัดต่อนี้ แลดูกลมกลืนเป็นธรรมชาติ และนั่นทำให้เขาได้รับคำตำหนิจากเพื่อนร่วมวงการของเขา

"ผมจำได้ว่าตอนที่ผมแบ่งภาพพวกนี้ให้กับเพื่อนๆของผมดู พวกเขาต่างตกใจและบอกว่า ผมไม่ใช่ช่างภาพอีกต่อไป แต่ผมเป้นนักเขียนภาพ หลายคนบอกว่าผมโดดลงเรืออีกลำ และผมไม่ใช่่พวกสายบริสุทธิ์( purist)อีกต่อไป"

ผมจึงถามตัวเองว่า ผมกำลังทำอะไรอยู่ ผมมีกล้อง ผมมีเครืองมื่อ และผมเป้นจิตรกรที่ใช้ภาพมาสร้างสรรผลงาน เป้าหมายของผมคือสร้างภาพที่มีผลกระทบและมีพลังในการเล่าเรื่องราว ภายใต้สภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วในปัจจุบัน

ต่อมาเขาพบว่า แนวทางของเขานั้นกำลังสร้างประโยชน์ให้กับตัวเขาเอง ด้วยการที่ปัจจุบัน งบในการโฆษณาน้อยลง ทำให้การทำงานแบบมีทีมงานใหญ่โตและอุปกรณ์มากมายและเวลาที่เหลือเฟือนั้นกลายเป็นเรื่องในอดีตไป



Grimes ไม่สามารถเห็นสีได้ เขาตาบอดสี โดยเฉพาะอย่างยิ่งเขาไม่สามารถเห็นสีเขียวได้เลย ดังนั้นภาพของเขาจึงฃมีพื้นฐานของภาพขาว-ดำและสีผสมกัน เนื่องจากเขาไม่เห็นสี ดังนั้นเขาจึงให้สีด้วยแสงแทน (coloing with light) สมัยก่อนนั้น Grimes ก็เป็นช่างภาพที่ถ่ายภาพ outdoor ด้วยแสงธรรมชาติเหมือนคนอื่นๆ แต่ต่อมา เขาได้แบกเอาไฟสตูดิโอและแบตเตอรี่แพค ออกไปถ่ายภาพกลางแจ้ง เทคนิคของเขาคือการใช้แสงสามแสง โดยสร้างขอบของแสงสองด้าน อีกหนึ่งดวงจากทางด้านหน้า เขาพบว่าวิธีนี้สามารถตอบสนองภาพที่อยู่ในใจของเขาได้เป็นอย่างดี และด้วยความสามารถที่จะบังคับแสงให้เป็นไปอย่างที่เขาต้องการได้ตลอดเวลา ทำให้เขาสามาถสร้างงานเหมือนๆกันนี้ได้ในทุกๆสถานที่ๆเขาไป




อันที่จริอันที่จริงแล้ว Grimes มีดีกรีด้านวิจิตรศิลป์ (fine art) จากมหาวิทยาลัย Arizona สมัยเป็นนักศึกษาเขาได้มีโอกาศดูภาพวาดสมัย ศัตวรรษ ที่ 17 ในยุคของ บารอค (Baroque) และ เรเนอซองค์ (Renaissance) ไม่กี่ปีมานี้เขาได้มีโอกาศเห็นภาพวาดเหมือนของ แรมแบรนท์ (Rembrandt) ด้วยตัวของเขาเองที่พิพิธภัณฑ์ในกรุงเวียนนา เขายืนดูภาพนั้นนานกว่า 45 นาที ศึกษารายละเอียดทุกแง่มุม เขากล่าวว่า วิธีที่แสงสาดกระทบกับตัวแบบนั้น นับเป็นแรงบันดาลใจที่ยิ่งใหญ่ในงานของเขา



ปัจจุบัน Grimes ยังคงเดินหน้า พัฒนาแนวทางของตัวเองต่อไป แม้จะมีงานหลั่งไหลมาหาเขาไม่ขาดสาย บางครั้งเขายอมลงทุนทำงานแบบไม่ได้ค่าจ้างถ้าหากมันไม่ได้ทำให้เขาสิ้นเปลืองพลังงานอะไรมากนัก แต่เพื่อสร้างสรรไอเดียอะไรใหม่ๆ ในแต่ละปีเขาได้ให้การบ้านกับตัวเองแบบนี้ถึง 50-60 ชิ้น
และเขากล่าว่า "คุณจะต้องพัฒนาตัวเองตลอดเวลา ถ้าคุณไม่สามารถปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วในปัจจุบัน คุณจะต้องมีปัญหาอย่างแน่นอน"

สนใจดูผลงานต่างๆของ Grimes ให้ไปดูที่  http://www.joelgrimes.com


วันจันทร์ที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ร่างกายแบบนี้ ที่เราชอบ อิอิ จาก ESPN

วันนี้ มาดูรูปสวยๆ กันนะครับ น้อง นัฐพงษ์ ส่งมาให้ ผมเห็นว่า สวยงาม ทั้งคอนเซป และ แสง เงา

ใครลองเอาแนวคิดไปต่อยอด หรือ ดัดแปลง ทำงานสวยๆ ออกมา อวดโฉมกันก็ลองดูครับ ว่าแต่ทำแล้ว อย่าลืมไปโฟสใน thaioffcamera ในกลุ่ม FB ด้วยนะครับ

ต้นฉบับ ไปดู ที่นี่ ครับ

















เอ้า หาวิดีโอ เบื้องหลัง มาได้

วันจันทร์ที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ทำไมเราจึงยังควรใช้มิเตอร์วัดแสง (ถ้ามีให้ใช้)

หลังๆนี่ผมก็ไปออกทริปกะเขาบ้าง นอกรอบ ก็เหมือนย้อนวันเก่าๆที่ ไปเดินเที่ยวถ่ายรูป ไปขัดสนิมบางเรื่อง ไปลองวิชาบางอย่าง ไปลองอะไรที่เราอยากลอง เพราะการไปเที่ยวถ่ายรูปแบบนี้ คือ สนามฝึก สนามลอง ไม่เสียหาย ไม่เครียด
พอลองไปถ่ายแสงธรรมชาติล้วนๆ ก็เริ่มเห็นละครับ ว่า เออ ปัญหาอะไรต่างๆที่ไม่ค่อยเจอในสตูดิโอ หรือ ถ่ายงาน ไม่ค่อยเจอ ก็เกิดขึ้น เช่น การถือกล้องได้ไม่นิ่งพอ โฟกัสไม่เข้าเป้า เปีะ หรือ การแก้ไขสถานการณ์ข้างหน้า (ไปถ่ายรูปที่สาธารณะ อะไรก็เกิดได้ รวมถึง สภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไปตลอดเวลา)

อันหนึ่งที่ผมมาดูรูปหลังกลับบ้านก็คือ ระบบวัดแสงของกล้อง ที่ผมก็คิดว่า กล้องสมัยใหม่ มันฉลาดจะตายไป ใช้ตามที่กล้องวัดก็น่าจะโอ นะ จริงๆ ต้องบอกว่า ทั่วไปมันก็โอ แหละครับ แต่บางทีมันก็ไม่โอ สักเท่าไหร่ ผมพบว่า บางสถานการณ์ มันก็วัดแสง อันเดอร์ เอาเรื่องเหมือนกัน คือ อันเดอร์ราวๆ 1 สต๊อป

ทีนี้ บางซีน เราก็ตัดสินใจยากว่า จะชดเชย เท่าไหร่ เพราะมันมีสีมาเกี่ยวข้อง อย่างตัวอย่างภาพนี้ ถ่ายที่บ้าน ในร่ม

จะเห็นว่า 3 ภาพแรก เป็นการถ่ายด้วยโหมด A วัดแสงแบบ Evaluative จากกล้องเลย จะเห็นว่า มันอันเดอร์อยู่พอควร



ถ้าดูภาพเต็ม (ขอให้ดูฮีสโตรแกรมประกอบ) จะได้ภาพดังนี้




ผมมาดู ฮีสโตรแกรม ก็จะเห็นว่า มันยังอันเดอร์อยู่พอควร เลยลองเอา มิเตอร์วัดแสง มาวัด ผลที่ได้จะเป็นแบบนี้



ซึ่งเป็นการตั้งค่าให้ได้ตามมิเตอร์ดังนี้




ดังนั้นจะเห็นว่า บางครั้ง การวัดแสงจากกล้องโดยตรง ก็ยังคงไม่น่าไว้วางใจ ถ้าคุณมีมิเตอร์วัดแสง ก็ควรใช้มันให้เกิดประโยชน์ (มิเตอร์รุ่นสู่งๆ ให้ประโยชน์สูงมาก ถึงขั้น รู้ เรโช ที่จะถ่ายกันเลย ว่า ด้านไหน มากหรือน้อยกว่า ด้านไหน กี่สต๊อป)
แต่ถ้าไม่มี ทางหนึ่งที่ทำได้คือ ดู ฮีสโตรแกรม ว่า มันพอดีหรือยัง มีการ Over ของไฮไลท์หรือไม่ ถ้ามี (ในส่วนที่เราให้ความสำคัญ) ก็ปรับแก้ซะ อย่างน้อยไปทำต่อใน โฟโตชอป คุณก็จะได้ไม่ปวดหัวกับ น๊อยส์ ที่จะเกิด เวลาดึงภาพให้สว่างขึ้นครับ



วันจันทร์ที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2555

10 สุดยอดตากล้อง Wedding ปี 2012




เป็นประจำทุกปี ที่ข่าวแบบนี้จะสร้างความ ตื่นเต้นให้กับผมได้ แว่บแรกผมแอบอ่านสแกนชื่อคน ปรากฎว่า เจ้าเก่า หน้าเก่าเดิมๆ หลุดโผ เรียบ..............
ไม่เหลือเลย ใครก็ไม่รู้โผล่มาแบบ อึ้ง กิม กี่ ....... ผมเลยตามเข้าไปดูประวัติและเวปไซด์ โอ้โห คนแรก ก็แซบ แล้วครับท่าน

มานะ มาดูกันว่า มันเป็นไงบ้าง ปีนี้
ปีนี้ เป็นปีที่ แนวของตากล้องจะออก self กันเกือบหมด ภาพแต่ละภาพ ผมอึ้ง ไม่คิดว่า จะกล้ากด ผมเองเห็นมาก็เยอะ ยังคิดว่า ถ้าตัวเองถ่าย ก็คงไม่กล้ากดมุมนี้ 5555 มันเยี่ยมมากเรยจอร์จเอ๋ย ดูไป น้ำตาจะไหลด้วยความตื้นตัน
คงต้องมาปรับปรุงแนวของตัวเองยกใหญ่เลยครับ หลังจาก ติดแนว ฟิกทอเรีย มานาน หุๆๆ จะได้มีรสชาติ หวาน มัน เค็ม กะเขาบ้าง เอ๊า มาต่อกัน

เรียบเรียงมาจากหนังสือ American Photo May-June 2012 ครับ

1. Jeff Newsom : http://jeffnewsom.com/

โดยทั่วไป ตากล้องแนว wedding มักเริ่มจากการถ่ายฟรีให้เพื่อน แต่ไม่ใช่ กับ Jeff Newsom เจฟ ได้งานจาก ลูกค้าที่ไม่เคยรู้จักกันมาก่อน มาว่าจ้างงานแบบ ""ถูกเป็นขี้"" แต่หลังจากรับงานนี้ ชีวิตเขาก็เปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง
เขาบอกว่า เขาชอบ ที่จะแยกแยะและแก้ไขปัญหา การถ่ายภาพ wedding นั้น ล้วนเกี่ยวข้องกับ สถานการณ์ที่ไม่คาดฝัน สภาวะแสงที่ยุ่งยาก และความรีบเร่งของพิธีต่างๆหลังงาน
"เมื่อผมหลังชนฝาผมก็ต้องหาทางแก้มัน" เขาว่าอย่างนั้น เทคนิคอย่างหนึ่งที่เขาใช้คือ ทำความรุ้จักกับทุกคน เมื่อทุกคนรู้สึกดีต่อกันมันทำให้การถ่ายภาพง่ายขึ้น คนบางค

นดูแล้วไม่น่าเข้าใกล้แต่พอถ่ายภาพของพวกเขาแล้วผมพบว่าผมได้ภาพของคนที่สวยงามกลับมา






2. Max Wanger : http://maxwanger.com/

ถ้าจะบอกว่ามีใคร บ้าพอ และ ตั้งใจอย่างเด็ดเดี่ยวที่จะเป็นช่างภาพ Wedding ก็จะต้องนับ Max Wanger เข้าไปด้วย เพราะพี่แกเล่นลงทุน เอาน้องสาวของตัวเองเป็นเจ้าสาว และ เพื่อนเขาเป็นเจ้าบ่าว และ ไปซื้อแหวนแต่งงานเก๊ราคา 150 บาทมาใส่ และเขาก็บอกว่า ช่างเป็นคู่ที่น่ารักเหลือเกิน........... จากนั้น แฟนของเขาก็เอาไปโพสตามที่ต่างๆ ผลก็คือ มีงานหลั่งไหลเข้ามาจนทำแทบไม่ทัน (อยากเลียนแบบมั่งจัง) เขาบอกว่า เขาอยากทำอะไรที่มันแตกต่าง และ มองภาพของเขาเป็นศิลปเสียมากกว่า
จนทั้งสอง แต่งงานกัน เขาก็บอกว่า ผมก็พึ่งเข้าใจคนแต่งงานเนี่ยะ ว่ามันรู้สึกอย่างไร อารมณ์ตอนนั้น(ก่อนแต่ง) กับตอนนี้มันต่างกันอย่างสิ้นเชิง และตอนนี้ทั้งสองก็รับงานถ่าย Wedding ร่วมกัน






3. Angelica Glass : http://angelicaglass.com/

ในขณะที่กำลังทำปริญญาด้านเนติบัณฑิตอยู่นั้น Glass ก็หาลำไพ่ด้วยการทำอัลบัมแต่งงานที่ ลองไอส์แลนด์ นิวยอร์ค ให้กับสตูดิโอแห่งหนึ่ง ถ้าทางสตูดิโอมีงาน Glass จะเข้าไปในงานในฐานะแขก และคอยขนฟิลม์ไปด้วย และแล้ว วันแห่งโชคชะตาก็มาถึง หัวหน้าบอกเธอว่า "ไอ้ตากล้องหลักมันหายหัวไปแล้ว" เธอจึงต้องเรียนรุ้ที่จะหน้าที่แทนในวันนั้น ผลก็คือ งานของเธอกลายเป็นดาวจรัสแสงไปในบัดดล ต่อมา สตูดิโอ ก็จ้างเธอไว้ในฐานะช่างภาพประจำสตูดิโอ เธอบอกลูกค้าว่า สิ่งที่เธอทำนั้นคือการเก็บภาพบุคลิกตัวคนที่แท้จริงของคู่รัก และ ทำให้รู้ว่า คุณคือใคร
หลักจาก พิธีที่เคร่งขรึม จบลง เธอจะงัดเอาเลนส์ 16-35 ของเธอออกมา และออกไปเต้นกลางวงพร้อมที่จะเก็บภาพที่น่าตื่นเต้นในระยะเผาขน "หลายคนจ้างฉันในงานพิธีเลี้ยงต้อนรับ เพราะมันดูเหมือนงานเต้นรำที่ สนุกสุดเหวี่ยง แม้จริงๆจะมีคนเต้นอยุ่บนฟลอร์แค่ 10 คนก็ตาม
ซึ่งทุกคนก็ต้องการให้งานปาร์ตี้ของตัวเองดูสนุกสนานแบบนั้นแหละ







4. Ron Antonelli : http://ronantonelli.com/

บางที อาชีพของการเป็นช่างภาพก็เล่นตลก เพราะคนอย่าง Ron นั้นทำสองอย่างในคราวเดียวกัน อันแรกเขาเป็นช่างภาพข่าวเต็มเวลาให้กับ นสพ New york Daily News เป็นเวลา 15 ปี พอปี 2009 ช่างภาพ Wedding และเจ้าของสตูดิโอชื่อ Brian Dorsey ก็ทาบทามให้เขามาเป็นสต๊าฟของเขา Antonelli ก็เลยได้สองงานนับแต่บัดนั้นเป็นต้นมา ประโยชน์ของการเป็นช่างภาพหนังสือพิมพ์คือการทำให้เขาสามารถเก็บภาพแนวเล่าเรื่องได้ดี แต่นั่นไม่ได้ทำให้เขาฉายแววจนกระทั่งเขาเริ่มทำหนดทิศทาง บอกให้ลูกค้าทำโน่นทำนี่ เขากล่าวว่า "สำหรับการเป็นช่างภาพ นสพ ผมต้องทำตามกรอบประเพณี ผมไม่สามารถจัดฉากถ่ายภาพได้เพราะนั่นถือเป็นการกระทำที่ไม่เหมาะสม แต่สำหรับการถ่ายภาพแนว wedding ผมสามารถเล่าเรื่องตลกให้พวกเขาหัวเราะได้ เพราะผมรู้ว่า ภาพจะดีขึ้นมากถ้าพวกเขาหัวเราะ และถ้าผมเป็นช่างภาพ นสพ ผมไม่สามารถเล่าเรื่องตลกให้นายกเทศมนตรีได้"
แต่การแบกสองจ๊อบก็ทำให้เขาเหนื่อยไม่น้อย "ผมถ่ายงานแต่งงานที่ นิวยอร์ค หลังจากนั้น กลับมาบ้าน นอน 2 ชมแล้วบินไปที่ ซินซิเนติ ขับรถไป อินเดียนาโปลิส เพื่อไปถ่ายภาพงานแข่งซุปเปอร์โบว์ และเสร็จงานตอน ตี 2" เขากล่าวว่า "สำหรับภาพถ่ายงาน นสพ อาจมีคนเป็นล้านได้ชมภาพของผม แต่สำหรับงานแต่งงาน อาจมีเพียงคนเพียงหยิบมือแต่จะดูภาพของผมไปชั่วชีวิต"






5. Sergio Lopez : http://sergiophotographer.com/

วิศวกรไฟฟ้า ที่มักหลงไหลกับอุปกรณ์ไฮเทค เมื่อน้องชายของเขาแต่งงาน เขาได้เห็นช่างภาพใช้กล้องดิจิตอลในยุคเริ่มแรกขณะนั้น และเขาคิดว่า "ดูเหมือนหมอนั่นมีความสุขมากกับการได้ใช้อุปกรณ์ไฮเทค และผมก็อยากมีความสุขแบบนั้นบ้าง" วันต่อมาเขาก็ได้ซื้อกล้อง DSLR ตัวแรกจาก ebay และอ่านหนังสือเกี่ยวกับการถ่ายภาพทุกเล่มที่เขาสามารถหาอ่านได้ "เมื่อวิศวกรพบกับปัญหา เขามักค้นหาคำตอบ" เขากล่าว และเขาค้นพบว่าเขา ลุ่มหลง กับมันเอามากๆจนกระทั่งเขาคิดว่าเขาสามารถประกอบอาชีพได้ เขาเลยลาออกจากงาน เทคโนโลยีอาจนำพาเขาเข้ามาสู่วงการแต่ลูกค้าของเขาทำให้เขาอยู่กับมันตลอดมา "ผมตระหนักดีว่าส่วนสำคัญที่สุดของการถ่ายภาพนั่นผู้คน"

"วิศวกรรมนั่นอาจเป็นสิ่งสวยงาม แต่ท้ายที่สุดแล้วคงไม่มีใครกอดผมแม้พวกเขาจะเห็นว่างานของผมนั่นสวยงาม"

ทุกวันนี้เขาถ่ายภาพแนว Wedding ที่หลากหลายในแนวของการบันทึกเหตุการณ์ (documentary)"สิ่งสำคัญที่สุดสำหรับผมก็คือ คู่บ่าวสาวนั้น มักแสดงอารมณ์อย่างตรงไปตรงมา ไม่ว่าครอบครัวของเขาจะหัวเราะหรือร้องให้ พวกเขาไม่เคยแคร์ว่าจะต้องจ่ายเงินไปสักเท่าไหร่"

ประสบการ์ณสอนให้เขาอดทนรอจังหวะ และ เขาพยายามถ่ายภาพให้ดีที่สุดในประวัติศาสตร์ของการถ่ายภาพ wedding เท่าที่เขาจะทำได้






6. Dave Getzschnma : http://davegetzschman.photoshelter.com/
ทักษะในการเป็นช่างภาพ นพส ดูจะเป็นประโยชน์ต่อการถ่ายภาพแนว wedding แต่ก็เป็นเรื่องยากในการเปลี่ยนผ่าน(จากแนวหนึ่งไปสู่อีกแนวหนึ่ง) Dave Getzschnma กล่าว เขากล่าวต่อไปว่า "มันไม่จำเป็นต้องมีการ ลงทุนทางด้านอารมณ์ มากมายอะไรนักกับการที่จะรับรู้ว่าอะไรกำลังดำเนินการอยู่ เพราะว่าคุณเพียงแค่ทำตามคำสั่งไปยังอีกคำสั่งหนึ่ง" พอมาในปี 2007 เขาได้เป็นส่วนหนึ่งของทีมถ่ายภาพสตูดิโออันดับหนึ่งของเมืองซานฟรานซิสโก ที่ดำเนินการโดย Ben Chrisman หนึ่งในบรรดาสุดยอดตากล้อง wedding ปี 2008 เขาบอกว่า Chrisman สอนวิธีการที่จะ "สร้างความสัมพันธ์ เพื่อให้ได้ภาพที่ทรงพลังด้านอารมณ์" มิเช่นนั้นแล้ว คุณจะไม่สามารถ "ยืนห่างจากแบบ 2 ฟุตแล้วกระหน่ำยิงภาพ 20 ภาพ โดยไม่ทำให้แบบเขอะเขิน ผมมักแนะนำตัวเอง เล่าเรื่องตลก และ พยายามจำชื่อแขกในงานให้ได้ทั้งหมด เพื่อให้พวกเขารุ้สึกผ่อนคลายเมื่อมีผมอยู่ใกล้ๆ"
ปัจจุบัน Getzschnma ย้ายมาอยู่เมือง แอล เอ ตามการขยายสาขาของ Chrisman เขากล่าวชื่นชมการถ่ายภาพแนว wedding ว่า "มันทำให้ช่างภาพขี้อายอย่างผม กลายเป็นคนกระหายที่จะเข้าร่วมกับสิ่งที่กำลังเกิดขึ้น"

(ผมเข้าไปตามลิงค์ด้านบน พบว่า พอร์ตของ wedding จะไม่อยู่ที่นั่น จะต้องไปที่ http://www.chrismanstudios.com/ แทน)












7. Susan Stripling : http://susanstripling.com/

เมื่อนักเรียนสาขาการภาพยนต์เริ่มถ่ายภาพ wedding เธอรู้สึกกังวลและกล่าวว่า "ฉันรู้สึกเสียดายเวลาที่เรียนในมหาวิทยาลัย แต่ต่อมาฉันพบกว่าสิ่งที่เรียนมาในมหาวิทยาลัย มันก็มีประโยชน์ ไม่ใช่แค่เรื่องเทคนิคอย่างการจัดไฟแบบภาพยนต์ แต่ยังเป็นเรื่องการรับมือกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เพราะฉันเรียนมาในเรื่องของการสร้างเหตุการณ์ให้เกิดขึ้น ดังนั้นพอมันต้องเจอของจริงฉันเลยไม่รู้สึกตื่นเต้นสักเท่าไหร่"
แต่ก่อนที่ เธอจะมาเป็นช่างภาพ wedding เธอเริ่มจากการถ่ายภาพงานแต่งงานให้เพื่อน เพราะเพื่อนเธอไม่มีเงินจ่ายค่าตัวให้กับช่างภาพมืออาชีพ แต่พอคนอื่นได้เห็นภาพของเธอ เธอก็เริ่มได้ลูกค้าเข้ามาเรื่อยๆ ยิ่งเธอถ่ายมากเท่าไหร่ เธอยิ่งรู้สึกคุ้มค่ากับเวลาและรายได้ที่เข้ามา
"ฉันไม่อยากให้พวกเขารู้สึกว่า มันเป็นวันที่ต้องถ่ายรูปกันทั้งวัน ฉันอยากให้พวกเขารู้สึกว่า มันเป็นวันของพวกเขา และสิ่งที่ฉันชื่นชมยินดีที่สุดก็คือการที่ได้ยินพวกเขาพูดว่า โอ้พระเจ้า ฉันไม่ยักรู้เลยว่าเธออยู่ที่นั่นด้วยในตอนนั้น"











8. Todd Laffler : http://lafflerphotography.com/

ภาพถ่ายที่มีพื้นที่โล่งกว้างๆ ถือเป็นจุดเด่นประจำตัวของ Laffler เขาชอบที่จะเลือกถ่ายคู่บ่าวสาวในที่เปิดโล่งที่กว้างใหญ่ และถ่ายคู่บ่าวสาวในที่โล่งแบบนั้นด้วยทางยาวโฟกัส 200mm เขาชอบการบีบอัดของทางยาวโฟกัสที่มากๆและชอบเนกาทีฟสเปซ(nagative space)ของทุ่งหญ้าที่กว้างใหญ่หรือของท้องฟ้า "มันเหมือนกับปริศนาสำหรับผม ผมนำแต่ละชิ้นมาปะติดปะต่อกัน ไม่ว่าจะเป็น ทางยาวโฟกัสที่ถูกต้อง รูรับแสงที่ถูกต้อง และ ตำแหน่งที่ถูกต้องของคู่บ่าวสาว" เขากล่าว คุณเพียงแต่หาสถานที่ๆเหมาะสมและรอแสงที่เหมาะสม เป้าหมายคือได้ภาพที่เยี่ยมยอดโดยมีคู่บ่าวสาวอยู่ในภาพนั้นด้วย แต่ต้องได้อารมณ์ภาพที่เหมาะสมด้วย ถ้าขาดอารมณ์ในภาพ คุณก็ไม่ประสบความสำเร็จ

เมื่อต้องถ่ายภาพใกล้ๆหรือถ่ายแนวทีเผลอ เขาจะใช้เลนส์ 24mm และถ่ายในระยะใกล้ และถ้าเป็นพิธีรับรองเขาจะใช้เลนส์ที่กว้างขึ้นไปอีกคือ 16mm ในการเก็บภาพ ผมอาจชูกล้องขึ้นเหนือหัวแล้วถ่าย หรือ วางบนพื้นแล้วแหงนกล้องขึ้น แบบที่นักถ่ายภาพสเก็ตบอร์ดทำกัน ผมสบายใจที่จะถ่ายแบบไม่ต้องเล็งแบบนั้น












9. Kitty Clark Fritz และ Craig Fritz : http://twinlensimages.com/

รู้จักกันในแวดวงด้วยฉายา ไอ้เลนส์คู่(Twin Lens) ทั้งคู่เป็นลูกจ้างของ นสพ Albuquerque นิวแม็กซิโก ในตอนที่พวกเขาถ่ายภาพ wedding ให้กับเพื่อนๆ เมื่อหัวหนังสือพิมพ์ของ Craig ปิดตัวลงในปี 2008 เขาก็ต้องเผชิญหน้ากับทางเลือกว่าจะเป็น ช่างภาพ นสพ ต่อ หรือไปเป็นช่างภาพ Wedding แบบเต็มตัว "ผมไม่เคยคิดว่าเราจะมาเป็นช่างภาพ wedding แต่จากความเชื่อมั่นในฝีมือในแนวทางของเรา ทำให้เรารู้สึกเป็นอิสระและสนุกสนาน คุณสามารถทำตัวเป็นอาร์ตติส และนั่นทำให้คนจ้างคุณ แต่กับการที่จะเป็นช่างภาพ นสพ ถ้าคุณล้ำเส้นมากไปจะมีคนคอยดึงคุณกลับมา"

เมื่อทั้งคู่ไปถ่ายงานแต่งงาน ทั้งคู่จะพก กล้อง DSLR สองตัว กล้อง Holga สองอัน และที่ขาดไม่ได้เลยคือ กล้องฟิลม์แบบเลนส์คู่ Mamiya C330 TLR ซึ่งประการหลังนี้ เขาต้องการอนุรักษ์คุณค่าของภาพที่ดูแบบเก่าแก่เอาไว้ โดยเขาจะถ่ายภาพด้วยกล้องนี้ด้วยฟิลม์ขาวดำ "คุณให้คุณค่ากับรูปภาพด้วยแนวทางของมัน ไม่ใช่ด้วยการบอกว่า ว้าว ดูนี่สิ ภาพใสแจ่มแจ๋วไปเลย"

การหากลุ่มลูกค้าของเขาก็สำคัญด้วย "ลูกค้าของเราไม่ใช่ว่าต้องการภาพถ่ายแนวแมกาซีนอล่างฉ่างเต็มๆหน้า พวกเขาต้องการบันทึกความทรงจำและสิ่งที่มันเป็นในความรู้สึกจริงๆ" ทั้งคู่พยายามที่จะผลักดันให้ลูกค้าได้รับตัวตนที่แท้จริงของพวกเขา นอกเหนือจากธรรมเนียมเก่าแก่โบราณ "ถ้าการตัดเค๊กแลดูงี่เง่า ก็ตัดมันทิ้งไปเสีย" Craig กล่าว และบอกว่า "คุณควรทำสิ่งต่างๆในวันนั้น ก็ต่อเมื่อมันมีความหมายสำหรบคุณจริงๆ"












10. Ira Lippke : http://iralippkestudios.com/

คงไม่มีช่างภาพที่ทำสตูดิโอขนาดใหญ่ในนิวยอร์คคนไหน มีประวัติเหมือน Lippke เขาเป็นลูกคนโตหนึ่งในห้าคนของครอบครัว คริสเตียนฮิปปี้ เขาเรียนหนังสือที่บ้าน (homeschooled)พักอาศัยในเต๊นท์และรถบัสโรงเรียน เขาสนใจการถ่ายภาพเมื่ออายุ 14 และซื้อกล้องจากร้านขายของเก่า จากนั้นก็ส่งเสียตัวเองเรียนมหาลัย โดยการถ่ายภาพวงดนตรีและงานแต่งงาน
หลังจากเรียนจบเขาได้เข้าสุ่แวดวงงานแฟชั่น ที่ซึ่งทุกอย่างในการถ่ายภาพจะต้องเนี๊ยบ ทำให้เขารู้สึกว่าน่าจะหาอะไรอย่างอื่นทำ "ผมมีนางแบบที่ยอดเยี่ยม มีสไตลิสที่ยอดเยี่ยม และ หัวแม๊กาซีนที่ยอดเยี่ยม ที่จะทำงานด้วย แต่ผมก็ตระหนักดีว่าแม๊กาซีนฉบับนั้น จะต้องถูกทิ้งลงตะกร้าอีกไม่กี่เดือนต่อมา และผมก็ตั้งใจว่าผมต้องการให้ภาพถ่ายของผมนั้นเป็นสิ่งที่มีค่าเหมือนสมบัติ" ดังนั้นเขาจึงไปเปิดสตูดิโอที่มุ่งไปในทาง wedding

เราพยายามที่จะจับภาพความเชื่อมโยงของผู้คนแบบไร้ขีดจำกัดของกาลเวลา นับเป็นหัวใจหลักของสตูดิโอของเรา

"แม้พิธีแต่งงานจะทำใน คลับเต้นรำ และ

ทำพิธีโดยเพื่อนที่เป็นบาทหลวงทางอินเตอร์เนต แต่สิ่งที่เกิดขึ้นระหว่างคนทั้งสองก็คือสิ่งศักสิทธิ" เขากล่าว
"มันมีความลึกลับเกี่ยวกับเรื่องที่ว่า และหัวใจของความลึกลับที่ว่านั้นคือ คุณไม่มีวันเข้าถึงจุดจบของมัน การถ่ายภาพนั้นทำให้เข้าถึงสิ่งที่ไม่ใช่วัตถุ แม้การถ่ายภาพจะเป็นวัตถุ แต่มันก็เป็นเครื่องมือในการดึงเอาจิตวิญญาณนั้นออกมา"










------------------------------------------------------

ก็ครบ 10 คนของปีนี้นะครับ ใครมีความเห็นเรื่องนี้อย่างไร แนวภาพ ทิศทาง ของการถ่าย เมื่อเทียบบ้านเรา กับ ของเขา และอื่นๆ
ความเห็นของท่านอาจเป็นประโยชน์ต่อคนในวงการมากขึ้นครับ ส่วนใครสนใจว่าปีที่แล้ว มีใครบ้าง แนวภาพเป็นอย่างไร ดุได้จากนี่ครับ

http://thaioffcamera.blogspot.com/2011/06/10-wedding-2011.html