pic of day

pic of day

วันศุกร์ที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

รีวิว เรื่องแฟลชทริกเกอร์ ในปัจจุบันกันหน่อย


หลังจากผมสั่งแฟลชทริกเกอร์รุ่นใหม่ เพื่อใช้งานส่วนตัว ผมก็คืดว่า รีวิว มันสักทีก็ดี เพราะค้นคำในกูเกิล พบว่า ยังมีคนไม่รู้และยังไม่อัพเดทข้อมูลกันอยู่พอสมควร และเสียดายที่บางคนไปซื้อของแพงมาใช้แต่ไม่ได้ประโยชน์ตามที่ตั้งใจ วันนี้เลยมาชวนคุยให้ปวดหัวเล่น (ผมยังล่อ พารา ไปสองเม็ดเลย)

ในอดีตกาล เมื่อไม่นานมานี้ การแยกแฟลชออกจากกล้อง มีทางเลือกแบบถูกๆอยู่ทางเดียวคือ ใช้สายแยก แค่สายเองยังล่อกันเป็นพัน จะบ้าตาย แถมเกะกะ จะสะดุดหกล้มเมื่อไหร่ก็ไม่รู้ ทางเลือกสองคือ ซื้อตัวส่งสัญญาณวิทยุมาใช้ สมัยนั้นคุณไม่มีทางเลือกมาก มีตัวรับ-ส่ง ยี่ห้อหนึ่งชื่อ Pocket Wizard ราคาคู่ละ เหยียบหมื่น (US $338.00) หาซื้อได้ ที่นี่



โชคดี สวรรค์มีตา จึงส่งให้มีประเทศจีน ผลิตเครื่องส่งสัญญาณวิทยุราคาถูกเหลือเชื่อ คุณภาพพอทน พอใช้ ราคาแค่ $37.95 ต่อคู่ (รับ-ส่ง) ทำให้การเล่นแฟลชแยกเริ่มแพร่หลายและทดลองเล่นได้ง่ายขึ้น

ต่อมา เหมือนสวรรค์แกล้งอีก มีผู้ผลิตอื่นมากหน้าหลายตา ต่างเห็นการเติบโตของตลาดนี้ จึงแข่งกันทำตัวส่งสัญญาณราคาถูกออกมาให้ใช้กันแพร่หลาย จริงอยู่ ในช่วงแรกๆ ทริกเกอร์คนยาก เหล่านี้ มีความน่าเชื่อถือของสัญญาณไม่ดีเท่ากับ Pocket Wizard เลย ยังถูกยอกย้อนว่าเป็น Poverty Wizard ของคนยาก ก็ต้องทำใจยอมรับ ยิงติดมั่ง ไม่ติดมั่ง แต่ไม่ได้เลวร้ายถึงขนาดกด 10 ครั้งติด 5 อะไรแบบนั้น เพียงแต่ มันส่งได้ใกล้ (30 เมตรทางตรง โล่งๆ) และมีความไม่แม่นยำอยู่ แต่พอใช้ได้

ต่อมา ได้มีการพัฒนาไปเป็นยี่้ห้อต่างๆ อาทิ PT-04 (ซึ่งมีหลาย ซับเวอร์ชั่นมาก) และ CTR-301 ซึ่งทั้งหมดนี้ ล้วนอิงสัญญาณวิทยุที่ความถี่ 433Mhz ซึ่งเป็นความถี่เดียวกันกับ รถบังคับวิทยุ และ ของเล่นบังคับวิทยุอื่นๆ



ต่อมา ผู้ผลิตในจีน ได้เริ่มขยับ และ ปรับปรุงคุณภาพ ทั้งในเรื่อง ระยะทางในการส่ง และความน่าเชื่อถือในการทริกแฟลช ทำให้ขยับขึ้นมาเทียบเท่าของแพงอย่าง Pockat Wizard ได้อย่างเต็มภาคภูมิ เว้นไว้ในเรื่องระยะทางในการทริก ที่ยังเป็นรอง โดย PW สามารถทำได้ที่ระยะ 487 เมตร ขณะที่ตัวทริกเกอร์รุ่นใหม่ของจีนทำได้ที่ระยะ 100 เมตร

ทริกเกอร์รุ่นใหม่จากจีนที่น่าสนใจ มีสองรุ่นคือ RF-602 และ RF-603 ซึ่งเป็นตัวล่าสุด จุดต่างกันระหว่าง RF-602 กับ RF-603 คือ รุ่น 602 ยังแยกเป็นตัวส่ง ตัวรับ ส่วน รุ่น 603 ทุกตัวจะเป็นได้ทั้งตัวส่งและตัวรับในตัว และทั้งรุ่น 602/603 สามารถทำตัวเป็นสายลั่นชัตเตอร์และประยุกต์ใช้เป็นสายลั่นจากระยะไกลได้อีกด้วย (602/603 ใช้สัญญาณความถี่ 2.4 Ghz เป็นย่านเดียวกับ พวก บลูทูธ และสัญญาณสื่อสารไร้สายรุ่นใหม่)


จุดเด่นของ 603 ที่เหนือกว่า 602 ก็คือ มันใช้ถ่านแบบ AAA สองก้อน ทำให้ขจัดปัญหาในอดีตที่ ตัวส่งสัญญาณมักใช้แบตพิเศษ หาซื้อยาก ทิ้งไป แถม RF-603 สามารถใช้ถ่านแบบชาร์ตไฟได้อีกด้วย

ทริกเกอร์อีกตัวที่น่าจะพูดถึงคือ Cactus V5 ซึ่งเวอร์ชั่นนี้ ออกมาหลังจากพัฒนามานานพอควร ผมเองเคยใช้รุ่น V2s มาก่อน แต่การพัฒนานั้นนานเกินไป และหาซื้อจากอีเบย์ยาก ต้องซื้อจากร้านออนไลน์เท่านั้น เลยตัดทิ้งไห แต่เท่าที่ดูรายงานจากต่างประเทศ พบว่า Cactus V5 ก็ให้ผลการทริกดีพอๆกับ RF-602/603 เลยทีเดียว







อัพเดทราคา ณ วันที่ 20 พฤษภาคม 2011 ผมซื้อ RF-603 จาก E-bay ห้าตัว ( 5 ) ราคาเพียง 2400 บาทเท่านั้น !!! ส่งมาถึงบ้านไม่เสียภาษีเลย


หมายเหตุ ถ้าจะซื้อของในไทย ยี่ห้อแปลกๆ ให้คุณลองเอากล้องต่อกับแฟลช และ ทริกกันดูว่า มันสามารถ ซิงค์กันที่ความเร็วสูงสุดของกล้องได้หรือไม่ มีคนใช้ยี่ห้อแพงอันหนึ่ง ของไทย พบว่า มันซิงค์ได้ที่ความเร็ว 1/60 วินาทีเท่านั้น แต่ของถูกอย่าง PT-04 ซิงค์ได้สบายๆเลย ไม่อยากให้เสียค่าโง่ ครับ

2 ความคิดเห็น:

  1. ใช้เเล้วเป็นยังไงบ้างครับ คิดอยากจะเปลี่ยนจาก PT04 มาเป็นชุดนี้เหมือนกัน มีปัญหากับการไม่มีตัวล็อคฮ็อตชูไหมครับ?

    ตอบลบ
  2. โคตรดี ไม่มีปัญหา

    ตอบลบ