pic of day

pic of day

วันจันทร์ที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2554

แหล่งข้อมูลสำหรับคนที่อยากดัดแปลงแบตเตอรี่แบบ SLA



ผมจำได้ว่า ผมเขียนเรื่องนี้ไปหลายต่อหลายหน วันนี้เลยลองเอาไอเดียต่างๆมารวบรวม ผนวกของเก่าที่เคยเขียนไว้เอามารวมไว้ในนี้ด้วย

เนื่องจากเราเป็นกลุ่มเล่นแสง การใช้แสงต้องมีแหล่งพลังงานจากที่ไหนสักที่ และปัจจุบันแหล่งจ่ายไฟที่หาง่าย ราคาถูก และมีประสิทธิภาพดีก็น่าจะเป็นแหล่งจ่ายไฟจากแบตเตอรรี่แบบ Ni-Mh ผมถึงกับเคยคิดถึงการดัดแปลงแบตที่ใช้กับ เฮลิคอปเตอร์ ของเล่นหรือกลุ่มที่ใช้ Li-Po (ลิเธียมโพลิเมอร์) แต่ เพื่อนฝรั่งบอกว่า อย่าเีชียวเอ็ง มันไม่เสถียรพอ และมีวิดีโอคลิปที่เห็นมันระเิบิดหรือลุกไหม้ได้ง่ายๆ ถ้าบังเอิญมันแตก หรือ รั่ว เสียก่อน

เวปหนึ่งที่น่าสนใจเข้าไปเยี่ยม แต่ของค่อนข้างแพงคือ http://www.aljacobs.com นายคนนี้ปากจัดดี แต่ข้อมูลดิบล้วนๆเรื่องแฟลช
แหล่งพลังงานใช้ได้ ไ่ม่โกหก

ทำไมผมแนะนำให้ใช้แบตแบบ SLA สำรหรับดัดแปลงแฟลชเก่าๆ (ย้ำนะครับเก่าๆ ที่รีไซเคิลช้าๆ อย่าง Vivitar 285, 285Hv และกลุ่ม Sunpak รุ่นเก่าทั้งหมด) ผมขอยก บทควมเก่าที่เคยเขียนไว้มาดังนี้นะครับ

แบตเตอรี่ SLA แบตเตอรี่ดี ที่คุณ(อาจ)ลืม

เอ๊ะ แบตอะไรนะ? คุณอาจถาม ...
ในโลกของแบตเตอรี่แบบ Li-Ion หรือ Ni-Mh ที่ครองตลาดอยู่ในปัจจุบัน (ผมขอไม่พูดถึง Ni-Cd นะ) หลายคนคงไม่คิดว่า จะมีแบตอะไรที่จะมาใช้งานกับ กล้องถ่ายภาพหรืออุปกรณ์ ได้มากไปกว่าแบตสองประเภทนี้ แน่นอน สำหรับ กล้องถ่ายภาพปัจจุบัน ที่เทคโนโลยีสูงขึ้น การกินแบตก็ลดลง สมัยก่อนที่ผมยังเล่นกล้องคอมแพคอยู่ มีถึงขนาดบางคนทำแบตภายนอกที่เรียกว่าแบตกระสือ เพื่อจ่ายกระแสให้กับกล้องดิจิตอลคอมแพคได้นานๆปัจจุบันกล้องทั้งคอมแพคหรือ DSLR เกือบทั้งหมด จะหันมาใช้แบตชนิด ลิเที่ยม (li-ion) กันเกือบหมดแล้วด้วยเหตุผลที่มันดูแลง่าย มีการเก็บประจุได้มากเทียบกับ น.น. ตัว และไม่มีเมมโมรี่เอฟเฟก
นับว่าเป็นแบตที่เลิศเลอ เฟอร์เฟคใช่ไหมครับ ช้าก่อน .. เดี๋ยวเราจะมาดูกันต่อ

BATT1

หันมาทางแบตชนิด Ni-Mh กันบ้าง คุณสมบัติแม้จะใกล้เคียงกับ Li-ion แต่ก็ยัง ด้อยกว่าในเรื่องการคายประจุตัวเอง
และการเก็บประจุต่อ นน ที่ยังด้อยกว่า Li-Ion เอาละผมจะเทียบสองตัวนี้และจุดอ่อนให้เห็นสักนิดก่อน ก่อนไปเรื่อง SLA ของเรานะครับ เพราะว่า ผมไม่ค่อยเห็นใครให้ข้อมูลตรงนี้กันเลย เอาเรื่องที่เป็นจุดอ่อนนะครับ

ประการแรก ทั้งสองแบบนี้ มันมีอายุการใช้งานครับ!! หมายถึง ถ้าเราไม่ใช้เลย แล้วเอามาเก็บไว้เล่นๆซะงั้นหลังจากผลิตสัก 2-3 ปี
ความสามารถในการเก็บประจุจะเริ่มเสือมแล้วครับ คุ้นๆไหมครับว่า เคยได้ยินคนบ่นว่า ซื้อแบตใหม่ๆพวกนี้มาแต่ชาร์ตแล้วไม่ค่อยเข้า
(ไม่เก็บประจุ) นั่นอาจเป็นเพราะคุณได้แบตเก่ามาครับผม

ประการที่สอง แบตแบบ Li-Ion จะมีความเปราะบางในการเก็บ ดังนั้นมันจึงต้องมีเปลือกและวงจรหุ้มมัน ซึ่งถ้าหากทำได้ไม่มาตรฐาน
จึงค่อนข้างอันตรายมากๆ ดังจะเห็นว่า คอมพิวเตอร์แลปทอปยี้ห้อหนึ่ง ถึงกับต้องเก็บเครื่องคืนเนื่องจากแบตไม่ปลอดภัย และ คุณคงเคยได้ยินเรื่องแบตไม่ได้มาตรฐานระเบิดกันแล้วนะครับ



เอาละเราหันมาดูเรื่องแบตแบบ SLA ของเรากันวันนี้ดีกว่า ที่ผมหันมาสนใจแบตชนิดนี้ก็เพราะเรื่องแฟลชนี่แหละครับ
แบตแบบ SLA ย่อมาจาก Seal Lead-Acid แบตเตอรี่ หรือพูดอีกนัยคือ แบตเตอรี่รถยนต์แบบผนึกปิด เออ ฟังดูเท่ไหม
ครับแบตพวกนี้มันคือ แบตตะกั่ว-กรด แบบที่ใช้ในรถยนต์จริงๆนั่นแหละ เพียงแต่มันถูกออกแบบมาให้อยู่ในระบบปิดเท่านั้นครับ

แอ่นแอ๊น ไอ้แบตแบบนี้มันดีอย่างไร? ยังไม่เคยมีใครบอกคุณใช่ม้า .......

มาดูคุณสมบัติน่าทึ่งของมันหน่อย โอเค ถ้าพูดถึงความจุต่อน้ำหนักแล้ว แบตแบบนี้ แพ้ ทั้ง Li-Ion และ Li-Mh หลุดลุ่ยเลยครับแต่ๆๆๆๆๆ อย่าลืมนะครับ นั่นคือ ความจุต่อน้ำหนัก แต่แบตพวกนี้ อาศัย รูปร่างที่ใหญ่โตกว่าเขา ก็เลยกลายเป็นว่า มันมีความจุมากกว่าเพื่อนมากมายเลยครับ

กลับมาดูเรื่องคุณสมบัติของมันกัน

1. แบตพวกนี้ มีพัฒนาการมานาน และเกิดก่อนคนอื่น ดังนั้นระบบของมันจึงอยู่ตัวเป็นอย่างมาก แม้ความจุต่อน้ำหนักจะต่ำกว่าคนอื่น แต่คุณสมบัติที่น่าสนใจของพวกมันคือ การจ่ายกระแส หนักๆได้ทีละมากๆ มันจึงถูกใช้ในรถยนต์ มอเตอร์ไซด์ ฟอร์กลิฟต์ และเครื่องมือที่ต้องดึงกระแสหนักๆ ต่างๆ
2. พวกมัน มีอัตราการคายประจุที่ต่ำมาก อาจเรียกได้ว่าต่ำที่สุดในบรรดาแบตเตอรี่ด้วยกันทีเดียว
3. พวกมันมีความอึดในการใช้งาน และดูแลรักษา ดีกว่าแบตชนิดใดๆ
4. มันสามารถชาร์ตเมื่อไหร่ก็ได้ ไม่มี memory effect
5. อันนี้สำคัญมากกกกก คือ มันมีราคาถูก อย่างเหลือเชื่อ เมื่อเทียบกับ แบตอื่นๆที่มีความจุเท่ากัน (ผมไปถามร้าน อมร ตรง IT mall เอาแบบ 6V มีราคาแค่ 220 บาท - ข้อมูลวันที่ 25 มกราคม 2011 )

เห็นไหมครับ แค่คร่าวๆ เราจะเห็นแล้วว่า มันจะเหมาะกับอะไรก็แล้วแต่ ที่ ต้องการกระแสมากๆ หนักๆ ครับผม

แล้วมาเกี่ยวอะไรกับแฟลชที่ผมพูดถึง? เราคงรู้กันว่า แฟลช ของระบบกล้องถ่ายรูป เป็นตัวกินแบตอย่างแท้จริง แบตขนาดความจุ 2000-2500mAh หากนำมาใช้กับแฟลชแรงๆที่มี GN สัก 40-58 (m) นี่ถ้ายิงเต็มแรง รับรองไม่กี่สิบหนก็หมด ดังนั้น หลายๆคนจึงมักต้องมีแบตสำรอง 4-5 ชุดด้วยกันเลยทีเดียว


ช่างภาพแนว wedding ของ ต่างประเทศจะใช้แฟลชที่มี GN แรงๆ อย่าง Quantum flash และจำเป็นต้องใช้นอกสถานที่บ่อยๆ ดังนั้นแบตของแฟลชพวกนี้มักเป็นแบตชนิด SLA กัน (หรือเป็นพวก ไฮโวลเตจแพค) ครับ และหลายคนถึงแม้จะใช้แฟลชที่แรงน้อยกว่าที่ว่ามา แต่ความต้องการในการใช้แบตความจุสูงๆ ก็ยังเป็นอะไรที่ต้องการอยู่ แฟลชโบราณอย่าง Sunpak ถึงกับมี อแดปเตอร์ที่มาจากแหล่งจ่ายไฟ AC โดยตรงเลยทีเดียว

แน่นอน แฟลชระดับสูงมากๆจะมีช่องที่รับไฟจากภายนอกแต่ปัญหาของแหล่งจ่ายไฟที่สามารถ จ่ายได้หนักๆนานๆ ก็ยังเป็นปัญหาที่สำคัญมาก เนื่องจากแบต sla พวกนี้ สามารถจ่ายกระแสหนักๆได้สบายๆ ดังนั้น การ รีไซเคิล ของแฟลช จะเร็วขึ้นมาก บางคนบอกว่าเร็วขึ้นกว่าเท่าตัวเลยทีเดียว!!! (ของผม Vivitar 285HV จากที่ใช้ Eneloop @ 6 วินาที เหลือ 3 วินาที ที่เต็มกำลัง)

DIY External Flash Power-160607-010.jpg

ดังนั้นถ้าใครใช้แฟลชมากๆ และต่อเนื่องยาวนาน โดย น้ำหนัก และขนาด ไม่ได้เป็นปัญหาของคุณแล้ว(เช่นแขวนไวักับขาตั้งไฟ หรือมีคนช่วยสะพายให้) ลองชายตามองแบตแบบ SLA สิครับ แล้วคุณจะติดใจ
DIY Flash Battery Pack - 6V SLA

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น