pic of day

pic of day

วันพุธที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

และแล้ว ก็มาถึงยุคไฟสตู ราคาถูก



แรกเริ่มที่ผมจัดอบรมเรื่องแสงด้วยแฟลชขนาดเล็ก ผมจะให้เหตุผลหลักๆ กับผู้เข้าอบรม สองประเด็นใหญ่ๆ ก็คือ แฟลชนั้น ทุกคนล้วนมีอยู่แล้วหรืออย่างน้อยทุกคนก็อยากหามาไว้ใช้งานสักตัว และผมยังบอกต่อไปว่า การใช้แสงด้วยแฟลชเล็กนั้น สามารถเริ่มต้นด้วยเงินต่ำต้อยน้อยค่า (ผมได้แฟลช Sunpak 444d ตัวหนึ่งจาก e-bay ด้วยค่าตัวแค่ 1 เหรียญเท่านั้น - ค่าส่ง 7 เหรียญ) ด้วยแฟลชแบบ แมนน่วล สมัยนั้นยังไม่มีใครผลิตแฟลชแมนน่วลที่ถูกมากๆอย่าง Yongnue ในปัจจุบัน ทางเลือกของเราก็จะเป็นแฟลชที่ใช้กับกล้องฟิลม์ เช่น SB-xx หรือแฟลชระหัส EZ ของแคนนอน และ แฟลชโบราณอย่าง Vivitar 285 / 285 HV , Metz เป็นต้น
ทั้งหมดนี้ คุณสามารถหาซื้อได้ในช่วงราคา 2500-3500 บาท เท่านั้น คุ้มกว่าไปซื้อแฟลชไฮเทคเป็นไหนๆ



จนกระทั่งไม่นาน เริ่มมีแฟลชจีนราคาถูกเหลือเชื่อ (ราคา 2500-3500 บาท ใหม่เอี่ยม) ในระหัส YN มาให้เล่นกัน จากนั้น แฟลชแมนน่วล ก็เริ่มเบ่งบาน ไม่ว่าจะเป็นค่ายอเมริกาที่ทำ Lumopro ออกมา แต่ก็ยังถือว่าราคาสูงกว่า YN เยอะ และที่สำคัญ อุปกรณ์ดัดแปลงแสง เช่น ซอฟต์บ็อกซ์ สนู๊ด กริด และ อะไรต่อมิอะไร เริ่มทะยอยทำออกมาขายกันเกร่อ ไม่นับ พวกทำเล่นเองง่ายๆ แบบ DIY ซึ่งสร้างได้ง่ายมากสำหรับแฟลชเล็ก ผมเองก็ทำสนู๊ทและกริดไว้เล่นกับเขาเหมือนกัน ใช้งานได้ดีมาก

ข้อดีของแฟลชเล็ก อย่างที่บอกคือ ราคาถูก สามารถหาซื้อมาเพื่อลองเล่น เรียนรู้เรื่องแสง ได้ง่าย พกพาง่าย ไปนอกสถานที่ สามารถทำงานจริงได้กว้างขวาง กลายเป็นว่า แฟลชเล็ก เริ่มเข้ามามีบทบาทแทนที่แฟลชใหญ่ในหลายๆด้าน ประกอบกับ ความก้าวหน้าทางซอฟต์แวร์ ทำให้เราสามารถได้ผลงานน่าทึ่งของแฟลชเล็กจากการ ซ้อนเลเยอร์ กัน

ต่อมา เมื่อเราเล่นแฟลชเล็กไปมากๆเข้า ปัญหาที่เรามักเจอ ก็คือ ในยามที่เราต้องการ พลัง มากๆ แฟลชเล็กก็จะมีข้อจำกัดอยู่เยอะ
เช่น การข่มแสงอาทิตย์ หรือ การให้แสงกับกลุ่มขนาดใหญ่ แม้ในเทคนิคจะพอทำได้ในระดับหนึ่ง แต่นั่นก็หมายถึงการใช้แฟลชพ่วงกันมากกว่า 1 ตัว และมีความยุ่งยากในการปฎิบัติงาน ไม่นับรวมเรื่องความร้อนที่จะเกิดขึ้น และรีไซเคิลไทม์ที่จะต้องรอ ราว 3-4 วินาที ก่อนจะถ่ายได้ต่อไป ผมเองทำแฟลชพังไปกับมือ 5 - 6 ตัว เพราะใช้แบตเตอรี่แห้ง อัดกำลังไฟให้มันและใช้ความแรงสูงสุด
แบบสะใจซาดิสต์นั่นแหละ (ผมเคยทำ สคริม ขนาด 1.5x2 เมตร โดยใช้แฟลช SB-24 ยิงด้วยกำลัง 1/2 ในการจัดอบรมที่เอสพลานาดมาหนหนึ่ง เล่นเอาเจ้าของแฟลชหนาวๆร้อนๆไปเลย) รวมไปถึงเรื่องตัวดัดแปลงแสงต่างๆที่ยังมีไม่มากและกว้างขวางเท่ากับไฟสตูดิโอ (อย่าลืมว่าการเกิดมาของทั้งสองนั้น มีจุดประสงค์ที่ต่างกันมาลิบลับตั้งแต่ต้น)

จริงๆแล้ว จุดที่เป็นปัญหาของ ไฟสตูดิโอ สำหรับคนทั่วไปก็คือ มันมีราคาแพง ยิ่งสมัยก่อน เป็นระบบ pack and head กำลังไฟสูงๆ ราคาก็สุดเื้อื้อมตามไปด้วย ขนาดของที่มีขายในบ้านเรา ตัวที่พอใช้งานได้ ก็ต้องมี หมื่นบาท ขึ้นไป หากมาดูของ ตปท แฟลช ราคา
ย่อมเยาว์แต่คุณภาพดีก็เห็นจะได้แก่ยี่ห้อ Alien Bees แต่เสียดายว่าไม่ขายในไทย และ ปัจจุบันไม่ยอมรับออร์เดอร์นอก US แล้ว

แฟลชชั้นเลิศ ของค่ายยุโรป หรือ อเมริกา ก็ยังถือว่ามีราคาแพงเอาเรื่อง จนกระทั่ง ประเทศ จีน ได้เริ่ม ทำแฟลชราคาถูกมาขาย นั่นคือ จุดเริ่มของการเปลี่ยนของยุคแฟลชสตูดิโอ ราคาถูก จนหลายๆค่ายทางยุโรปเริ่มต้องทำแฟลชราคาถูกออกมาบ้าง แต่ถึงจะถูกอย่างไรก็ไม่ถูกไปกว่าแฟลชสตูของจีนอยู่ดี แต่แลกกับคุณภาพและความยืดหยุ่นที่ดีกว่ากันอยู่พอสมควร



แฟลชสตูดิโอจากจีน แม้ในภาพรวมใหญ่ ยังมีคุณภาพสู้ของยุโรปและอเมริกาไมไ่ด้ แต่ยี่ห้อดีๆ และของคุณภาพดี ก็ยังคงมีให้ซื้อได้ในราคาถูกจนเหลือเชื่อ ผมได้ ทดลอง ซื้อแฟลช ยี่ห้อ Godox ซึ่งมีขายกันเกร่อใน E-bay แต่มีราคาถูกจนไม่น่าเชื่อง ผมสามารถซื้อแฟลชขนาด 250 WS ได้ในราคาแค่ 2700 บาท และ ขนาด 300WS ในราคา 3200 บาท อันนี้ รวมค่าส่งแล้วนะครับ !!!!!! (ผมไม่โดนภาษีตัวแรกเพราะส่งไปรษณีย์ลงทะเบียนธรรมดา และอีกตัวผมโดนไป 300 กว่าบาท เพราะส่งทาง UPS)


ทีแรกผมก็เสียวว่า ผมจะได้ ขยะ มาใช้งานหรือเปล่า เพราะ เดวิท ฮอบบี้ แห่ง Strobist ได้เขียนถึงแฟลชจีน รุ่นที่ใช้มือถือ (ผมแอบเห็นขายในบ้านเราโดยการ พะยี่ห้อ อื่นๆหลากหลายมาก) ผลก็คือ ไอ้ยี่ห้อนั้น มีค่า T.1 ที่ 1/60 วินาที ถือว่า นาน เกิน เหตุ ถ้าอยาก อ่านรายงานเต็ม คุณสามารถอ่านได้ ที่นี่



ผมเลยทดสอบ ดูค่า T.1 ของผม ด้วยวิธีคลาสสิคคือ ถ่ายด้วยความเร็ว 1/200, 1/125, 1/60 แล้วดูว่า ฮีสโตรแกรมมันเปลี่ยนไปมากไหม (โดยเลือกใช้ค่า F และ ISO ที่ฆ่าแอมเบี้ยนแบบ สิ้นซาก) ผลก็คือ มันต่างกันไม่มากนัก และผมได้ทดลองถ่าย พัดลม ที่กำลังหมุนที่บ้าน ก็พบว่า มันหยุดพัดลมได้ค่อนข้างดีทีเดียว แ้ม้จะไม่นิ่งสนิท ก็ตาม

สรุปว่า ผมได้แฟลชสตูดิโอ ราคา 3200 บาท แบบ สุดคุ้ม คำถามต่อมาก็คือ แล้วเราจะยังคงซื้อแฟลชแมนน่วลมาใช้อยู่อีกหรือไม่
คำตอบก็น่าจะเป็นว่า ยังซื้อ อยู่ ด้วยเหตุผลที่ว่า ขนาดที่เล็ก และ ความคล่องตัวในการนำไปใช้นอกสถานที่ ยังถือว่าเหนือชั่นกว่า โมโนไลท์อยู่มาก ตามความเห็นของผม เจ้าสองสิ่งนี้ น่าจะ ส่งเสริมซึ่งกันและกัน โดยผมจะมองว่า ทั่วไป เราก็ใช้ ไฟสตูแบบโมโนไลท์ นี้เป็นไฟหลัก และ ใช้แฟลชเล็กเป็นไฟรอง ไฟเสริม หรือ อื่นๆ และ ในบางสถานการณ์ แฟลชเล็กจะยังมีประโยชน์ ในกรณีที่คุณต้องการถ่ายภาพที่ใช้ F กว้างๆ ในที่ร่มเช่น ต้องการถ่ายแบบที่ F2.8 หรือ ต่ำกว่า ในที่ร่ม เพราะแฟลชเล็กมีกำลังน้อยอยู่แล้ว ถ้าเราหรีลงมากๆและใช้งานผ่านตัวกรองเช่น ร่ม หรือ ซอฟต์บ็อกซ์ เราก็สามารถใช้แสงแบบ แตะแต้ม ตามจุดที่เราต้องการได้ง่ายกว่ามาก (ผมพบว่า ไฟสตู 250-300 WS ของผม เมื่อใช้กับ ซอฟต์บ็อกซ์ที่มีผ้ากรอง สองชั้น ขนาด 70*140 cm และ หรี่ไฟต่ำสุด ในระยะ 1 เมตร มันยังคงให้กำลังไฟมากถึง F5.6 ที่ ISO 100 นั่นหมายความว่า ผมจะไม่สามารถใช้ F2.8 หรือต่ำกว่าได้เลย นอกจากจะถอยไฟออกไปอีก ซึ่งนั่นจะทำให้ คุณภาพแสงของผมเปลี่ยนไปอีกด้วย โอ้มายก๊อด)

ถ้าคุณอยากได้แฟลชราคาถูก ของค่ายยุโรป หรือ อเมริกา ที่คุณภาพ และการผลิตทีี่ดีขึ้น คุณอาจหาได้จาก Amazon ดังตัวอย่างเหล่านี้

Elinchrom D-Lite4 it 400Ws Monolight with Skyport Wireless Receiver - Bundle - with Elinchrom Reflector 16 cm 90°.,Adorama 40" White Interior Umbrella with Removable Black Cover



Interfit EX 150



อีกตัวที่น่าสนใจมาก และร้อนแรงในขณะนี้ก็คือ ไฟสตูยี่ห้อ Merlin ขนาด 600WS คุณภาพเทียบเท่าของชั้นเลิศ ราคาแค่ 250 ปอนด์เท่านั้น (ดูสเปกก่อนแล้วจะร้อง ว้าว)

1 ความคิดเห็น:

  1. เอามาสร้างความอยาก ซ่ะ งั้นนะครับ อาจารย์...
    มีตังก์ก็อยากได้เหมือนกัน อิๆๆๆๆ

    ตอบลบ