นำความรู้สากล มาสู่ตากล้องไทย สังคมของคนเล่นแสง ถ่ายภาพ พูดคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์ อยากให้เพื่อนๆได้แบ่งปันประสบการณ์ และ พูดคุยเกี่ยวกับการถ่ายภาพในทุำก รูปแบบครับ All about Off-camera , lighting, flash, strobe, light, camera, lens
pic of day
วันพฤหัสบดีที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2554
10 เทคนิคการถ่ายภาพ พอร์ตเทรด
Wayne Yuan เป็นคนเขียนบทความนี้ ให้กับ DPS ที่ผมเป็นสมาชิกเขาอยู่ ผมชอบภาพแนวคิดของเขา และเห็นว่าภาพของเขาดูดี มีพลัง และ วิธีอธิบายความน่าสนใจ แม้ว่า เทคนิคเหล่านี้ไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่อยากให้ดูในภาพรวม และ การที่เขาประยุกต์ใช้ในงานของเขาเอง
แม้ว่า หัวข้อ จะบอกว่าเป็นเทคนิค ถ่ายภาพพอร์ตเทรด แต่ภาพที่แสดงจะเป็นภาพแนว เวดดิ้ง ทั้งหมด เพราะเขาเป็นช่างภาพเวดดิ้ง ซึ่งจะต่างจากภาพแนวเวดดิ้งในบ้านเรามาก (อยากให้ไปดูของ 10 สุดยอดช่างภาพเวดดิ้งโลกด้วย คุณจะได้เห็นภาพงามๆ ในระดับยอดเยี่ยม)
ใครอยากอ่านเวอร์ชั่นเต็มไป ที่นี่
1. ใช้เลนส์ทางยาวโฟกัสสูง อันนี้ คงรู้กันอยู่แล้วนะครับ เลนส์ทางยาวโฟกัสสูงจะช่วยให้ DOF ตื้น ละลายฉากหลังง่าย และ หลบฉากหลังรกๆได้ง่ายด้วย แต่อย่าลืมว่า ต้องถือให้นิ่งนะครับ ถ้าเป็นไปได้ควรมีระบบ IS หรือใช้ขาตั้งช่วย คำว่าทางยาวโฟกัสสูง เรามักหมายถึงเลนส์ที่มีทางยาวโฟกัส 70 ขึ้นไป อาจเป็นเลนส์ฟิก หรือ ซูม ก็ได้ แต่เพื่อความคล่องตัว มักพบว่า ช่างภาพเวดดิ้งนิยมเลนส์ซูมเทเลมาตรฐาน 70-200 เป็นส่วนใหญ่ ถ้าเป็นฟิกก็ 85 มม ปัญหาที่อาจเกิดขึ้นคือ การใช้เลนส์ทางยาวโฟกัสสูงถ่าย อาจทำให้การพูดคุยสื่อสารกับแบบเป็นไปด้วยความยาก เทคนิคอย่างหนึ่งที่น่าสนใจคือ ให้ผู้ช่วย ช่วยพูดคุยสื่อสารให้ และ เรายืนถ่ายจากระยะไกล
2. ลองหามุมที่ไม่ใช่อยู่ในระดับสายตา อันนี้ ก็เป็นเทคนิคหนึ่งที่จะให้ได้ภาพแปลกตาขึ้น (มุมภาพแปลก ไม่ใช่มุมภาพประหลาดนะครับไม่เหมือนกัน ผมเห็นบ้านเราเล่นกันจนเฝือ โดยส่วนตัวผมเตือนว่า พวกแนวมุมภาพประหลาดนี่ ขอให้มีเป็นตัวประกอบส่วนหนึ่งก็พอ อย่าเล่นจนเฝือ เพราะไอ้ทีจะออกมาดีจริงๆนั้นมันก็มีน้อยตามนั่นแหละครับ) เทคนิคนี้จะทำให้คุณมีมุมมองที่แปลกขึ้น รู้จักหามุมที่ทำให้ได้ภาพน่าสนใจเพิ่มมากขึ้น คิดเกี่ยวกับมุมภาพมากขึ้น และที่สำคัญ การถ่ายด้วยมุมต่ำ หรือ สูง จะทำให้เปอร์สเปคทีฟในการมองเปลี่ยนไป ถ้าเป็นเลนส์ไวด์ ก็จะทำให้ได้ ดีสทอร์ชั่นแปลกๆ ถ้าเล่นเป็น ภาพก็น่าสนใจครับ
3. ใช้ Off-camera แฟลช แหมอันนี้ปลื้ม เราบ้าเล่นกันอยู่แล้ว ก็ขอให้เล่นกันพอเหมาะสม และ ทำให้ดูน่าสนใจนะครับ ไม่ใช่ซัดสาดแสงเข้าไปอย่างเดียว โจ แมคเนลี่ กล่าวไว้ว่า "การสร้างภาพที่น่าสนใจคือ การสร้าง แสง เงา ที่น่าสนใจ" และอีกคำก็คือ "อย่าให้แสงกับทุกสิ่งทุกอย่างที่คุณเห็น"
4. ข่มแสงอาทิตย์ด้วยแฟลช อันนี้ เราชาว Thaioffcamera เล่นกันเป็นปรกติ แม้แสงจากแฟลชจะไม่แรงเท่าไฟสตู แต่ด้วยเทคนิค
การใช้ระยะประชิดทำให้เราสามารถเอาชนะแสงจากดวงอาทิตย์ได้ แต่อย่างไรก็ดี มีไฟสตูแบบพกพา วัตต์ เยอะๆ ก็จะสะดวกกว่ามากครับ ถ้าถามผม ผมจะไม่พยายามเอาชนะดวงอาทิตย์ถ้าไม่จำเป็น แต่จะใช้เทคนิคการดัดแปลงแสงอย่างอื่นแทน เทคนิคการข่มแสงอาทิตย์นี้จะเหมาะสม เมื่อเราต้องการถ่ายภาพในที่มีแสงจัดและต้องการให้เห็นฉากหลังกว้างๆ แต่ต้องการให้แบบเด่นขึ้น ดังนั้น เทคนิคนี้จะทำให้ภาพบรรยากาศมืดลงสัก 1-2 สต๊อป แต่ให้แบบยังคงสว่างอย่างเหมาะสม
5. ให้หาแสงแบ๊คไลท์ หรือ แสงหลัง เทคนิคนี้เป็นที่นิยมแพร่หลายทั่วไป เพราะมันจะทำให้เกิด ริมไลท์ ขึ้นรอบๆตัวแบบ แต่คุณต้องหาฉากหลังที่มืดกว่าตัวแบบนะครับ เทคนิคนี้ เราก็หาทิศทางแสงที่จะส่องมาด้านหลังแบบ และ มุมที่เราถ่ายไปนั้นก็ต้องเป็นส่วนของเงามืด หรือ ฉากที่ทึบกว่า ตัวแบบที่ได้รับแสงจากแสงสะท้อนตามธรรมชาิติ หรือ รีเฟล็กซ์ หรือ แฟลช ก็แล้วแต่ แต่ประเด็นก็คือ ริมไลท์ที่เกิดขึ้นเห็นเด่นชัด ทำให้ภาพได้มิติที่ดีขึ้น
6. ให้ลองถ่ายภาพ ซิลลูเอท หรือ ภาพเงาสะท้อน จริงๆ แล้ว ภาพแนวซิลลูเอท หรือ บ้านเราเรียกภาพเงามืดนี้ ถ่ายได้ไม่ยาก
แค่หาฉากหลังทีสว่างกว่าฉากหน้ามากหน่อย แล้ววัดแสงที่ฉากหลัง ก็จะได้ภาพซิลลูเอทแล้ว ประเด็นก็คือ คุณควรสร้างภาพที่มีพลังและใช้รูปร่างที่เกิดขึ้นสร้างความน่าสนใจให้กับภาพ ทำนองเดียวกัน ภาพเงาสะท้อน ก็สามารถสร้างความน่าสนใจให้กับภาพได้ ถ้าคุณรู้จักหามุมสะท้อนที่น่าสนใจให้กับภาพได้
7. ถ่ายภาพผ่านฉากหน้าที่น่าสนใจ การถ่ายภาพผ่านฉากหน้าแบบนี้ จริงๆ ดูเหมือนจะง่าย แต่เอาเข้าจริง ก็ไม่ง่ายเท่าไหร่ เพราะประเด็นของมันก็คือ คุณต้องถ่ายภาพผ่านฉากหน้า ที่มีสี หรือ กลุ่มของส่วนที่เบลอ ที่ส่งเสริมภาพให้เด่น ไม่ใช่แค่ เจาะจงสร้างมิติให้กับภาพเท่านั้น ตัวอย่างในภาพนี้ เป็นตัวอย่างที่ดีมากเลยครับ
8. ใช้ดวงอาทิตย์เป็นแหล่งกำเนิดแสง อันนี้ ไม่ได้ขัดแย้งกับที่กล่าวมาก่อนหน้า ที่ให้หลบแสงแดง หรือ ถ่ายภาพซิลลูเอท แต่เป็นการรู้จักหาทิศทางของแสง โดยเฉพาะช่วงยามที่แสงเริ่มมีิทิศต่ำลง การวางแบบให้ได้รับแสงโดยตรงในทางซ้ายหรือขวามือจะทำให้ได้ฉากหลังที่มืดได้ (วัดแสงไปที่ตัวแบบ) ซึ่งจะทำให้ได้ภาพที่ดู ดราม่า ขึ้นมาก
9. ใช้ไฟวิดีโอช่วยในการถ่ายภาพกลางคืน อันนี้ ผมพบบ่อย สำหรับช่างภาพเวดดิ้งดังๆหลายคน ไฟที่ใช้กับวิดีโอ หลายๆอัน ก็เป็นไฟขนาดเล็ก มีด้ามจับ สะดวกต่อการให้แสงกับแบบในที่มืด แถม ไฟวิดีโอมักมีสีเหลือง หากเราบาล้านซ์แสงได้ดี แสงจากแอมเบี้ยนก็จะมีสีฟ้าสวย แต่แบบจะมีสีขาวตามปรกติ และเมื่อคุณมีแหล่งกำเนิดแสงเอง คุณก็สามารถสร้างสรรผลงานแปลกๆได้ตามจินตนาการ
10. ใช้เจลสีกับแฟลช อันนี้ บางคนอาจไม่เคยเล่น อย่างที่บอกในข้อ 9 ถ้าคุณลองใช้เจลสีเหลืองแล้วตั้งค่าไวท์บาล้านซ็ให้ชดเชยกัน ภาพแบบก็จะออกมาปรติแต่คุณจะได้สภาพแสงแอมเบี้ยนเป็นสีฟ้า ง่ายๆ หรือ คุณอาจอยากลองใช้เจลสีแปลกๆ เพื่อสร้างภาพที่ดูแปลกตาขึ้นก็ได้ครับลองดู
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ผมขอแบ่งปันไปที่ Facebook นะครับ อาจารย์ ^^
ตอบลบ