pic of day

pic of day

วันเสาร์ที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2563

ถ่าย Landscape ด้วยวิธี สแตก

 ระยะหลังๆ การถ่ายภาพด้วยวิธีการคิดแบบแยกเป็นส่วนๆ ทำได้ง่ายมาก และ ได้ผลดี

สมัยนี้ เราไม่จำเป็นต้องจบการถ่ายด้วยภาพเพียงใบเดียว ไม่ว่าจะเป็นการถ่ายอะไร

เพราะเครื่องมือต่างๆที่ให้สมัยนี้ ทันสมัยขึ้นมาก

ผมเป็นคนไม่ค่อยได้ถ่าย Landscape เพราะเด่วนี้ไม่ค่อยได้ท่องเที่ยวตะลอนๆเหมือนสมัยหนุ่มๆ เรียวแรงก็ไม่ค่อยมี ไม่ถึก เหมือนสมัยก่อน อีกอย่าง ความรู้สึกอยากได้ภาพเหมือนคนอื่นๆลดลงมาก ผมไม่ได้ต้องการไปได้ภาพสวยๆ เหมือนที่คนอื่นได้ 

ผมแค่อยากรู้ว่า ถ้าเราจะถ่ายแบบนั้น เราพอจะทำได้ไหม ด้วยวิธีอะไร 

ซึ่งการถ่ายภาพ Landscape สิ่งสำคัญที่สุดคือ อยู่ถูกที่ ถูกเวลา การถ่ายภาพจากตึกสูง ใครมีเส้นสาย หรือช่องทางการขึ้นไปถ่ายก็ได้เปรียบคนอื่นๆมาก แต่การถ่ายภาพแนวนี้ ถ้าถามถึงความยาก มันไม่ได้ยากอะไรสักเท่าไหร่

ตั้งแต่ผมหันมาใช้กล้องไร้กระจก ผมชอบวิธีการควบคุมกล้อง โดยการใช้โทรศัพท์มือถือ ควบคุมมัน และ มันสามารถควบคุมได้ทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็น ISO F หรือ S โดยไม่แตะตัวกล้องเลย ถ้าเป็นสมัยก่อน DSLR ไม่มากก็น้อย เราต้องไปปรับที่ตัวกล้อง ไม่ว่าจะปรับค่า S หรือ F หรือ ISO ทำให้กล้อง มีโอกาศ ขยับ 

ในการถ่ายแนวสแตก คือ เราต้องการถ่ายหลายๆภาพ เก็บหลายๆส่วนแสง เข้ามา ดังนั้น เราไม่อยากจะให้กล้องขยับเลย ดังนั้นการควบคุมกล้องด้วยระบบ ไวไฟ จึงสะดวกมาก


ผมขึ้นตึกใบหยกครั้งแรก อุตสาห์หาข้อมูล แต่ลืมไปอย่างว่า มุมที่อยากได้นั้น อยู่ตรงไหน ถามบ๋อยก็ไม่มีใครตอบได้ชัดเจน และเนื่องจากเริ่มมืดเรื่อยๆ ผมก็เริ่มลนล่ะ

ความหวังที่จะได้ภาพสมบูรณ์แบบเป็นเรื่องรอง แต่อยากเล่นสิ่งที่รู้มาสำคัญกว่า

มุมนี้คือมุมมหาชน ผมถ่ายจากชั้น83 ฝั่งขวาสุดของตึก ก้มลงจะเห็นมุมนี้ครับ

การถ่ายภาพผ่านกระจก เรื่องแสงสะท้องต้องขจัด มีคนแนะผ้าดำ เจาะรู แต่ผมใช้ กระดาษโปสเตอร์ดำเจาะรู(ตัดเป็นรู) แทน แต่ต้องระวังนะครับ ต้องซึลช่องให้ดี รูปนี้ก่อนซีลครับ ต้องเอาเทปกาว แปะให้หมดด้านล่าง ด้านข้าง ด้านบน




ท้ายสุด ผมถ่ายที่ ISO 200 S 15 วินาที F8 ครับ
เพราะลองแบบอื่นแล้ว นานไปหน่อย เลยเพิ่ม ISO เพื่อลดเวลาเอา

ผมใช้โปรแกรม Photometrix เพื่อ สแตกภาพ 8 ภาพ ครับ จากนั้นมาปรับต่อใน PS
หวังว่า แนวคิดการถ่ายแบบนี้ น่าจะมีประโยชน์นะครับ 





วันอังคารที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2563

รีวิว ไลท์มอด Godox SB-UBW 120cm umbrella softbox

หลังจากที่ไม่ได้ซื้อ ไลท์มอดมานาน (เพราะผมมีเกือบทุกชนิด ทุกขนาด ในตลาดแล้ว พอแล้ว) 
จู่ๆ ก็เห็นโฆษณา แว๊บๆ ใน เฟสบุ๊ค แบบว่า อืม จะเอามาเล่นดีไหมนะๆ คิดวนเวียนแบบนี้หลายรอบ
ท้ายสุด มองว่า มัน น่าจะ มีประโยชน์บ้าง กรณี ที่เราไม่อยากพก ออกตาบ๊อกซ์ เมาท์โบเว่น และ
อยากใช้ ออกตาบ๊อกซ์ กับ แฟลชเล็กบ้าง และ การใช้งานที่ง่าย เพราะมีลักษณะเป็นเหมือนร่มสะท้อน 
แค่มี รูปร่าง 8 เหลี่ยมและ มีผ้ากระจายแสง แค่นั้น แต่ก็คิดเรื่อง การสอดเข้ากับ ขาตั้ง ผ่านซิบอยู่เหมือนกัน


และแล้ว ความยวนใจ ก็อดไม่ได้ที่จะลองสั่งมา
และแล้ว การทดสอบ ก็เริ่มขึ้นในวันรุ่งขึ้น  ผมได้ลองเซตโดยใช้ ตัวอแดปเตอร์ที่ใส่ร่มพื้นฐาน ที่มีอยู่แล้วลองดู จากลักษณะการเมาท์ ดูจากสายตา ก็น่าจะยิงแสงไปตรงใกล้ๆ กึ่งกลางร่มได้นะ (คิดในใจ) และผมพยายาม ยันแกนร่มออกมาสุดปลายล่ะ เพื่อให้แสงกระจายในร่มได้มากที่สุด ผลคือ......

มันยังกระจายแสงไม่อยู่ตรงกลางพอ มันจะสะท้อนอีท่าไหนไม่ทราบได้ แต่ด้านล่าง จะสว่างกว่าด้่านบน พอควรเลยราวๆสองสต๊อป โอ้มายก๊อดด


ส่วนเรื่องการกินแสง ผมใช้แฟลชเล็กที่มี GN ราว 50 ยิงเต็มกำลัง ผ่านผ้ากระจายแสง ห่างไป 1 เมตร วัดแสงได้ที่ F5.6 หู  กินพอควรเลย อาจจะว่า มันมีขนาดใหญ่ด้วยส่วนหนึ่ง ผมคิดในใจว่า เด่วผมจะต้องดัดแปลงเพื่อให้หัวแฟลช ขนานกับแกนร่ม มากที่สุดดูว่าจะเป็นอย่างไร คิดไปคิดมา เคยเห็น ตัวจับแฟลชรุ่นใหม่ๆ ของ godox ขายกันหลายร้อย (ล่าสุด จีนก๊อปจีน เหลือไม่กี่ร้อยล่ะ น่าซื้อ) ผมเลยคิดว่า ถ้าจะจับหัวมันให้เป็นแบบนั้นได้ไหม คำตอบคือ ได้ ง่ายนิดเดียว ผมเลย ไปเอา แกฟเฟอร์เทป(เทปผ้า) อุปกรณ์ยอดฮิตของช่างภาพสายแสง เอาหัวแฟลช มาแปะเข้ากับขาตั้งที่แถมมาให้ (แทบทุกตัวจะมีแถมนะครับ ใครไม่มี หาซื้อเลย มันจำเป็นในบางโอกาศ) หน้าตาที่แปะก็จะเป็นแบบนี้ ทาดา...........



โดย อแดปเตอร์แบบนี้ แกนร่มมันก็จะมีด้านที่เฉียงขึ้น นิดๆ อยู่แล้ว ดังนั้น แสงที่ยิงไป น่าจะ กลาง ที่สุดแล้วล่ะผมว่า จากนั้น ก็แปะผ้าไว้แบบเดิม ลองยิงดูผลที่ได้คือ  .............  เย้....


เป๊ะ เว่อ มาก ถือว่า ดีเลยล่ะ  ทีนี้มาพูดข้อเสียบ้าง ข้อเสียคือ มันปรับมุมก้มแทบไม่ได้ ติดซิป 
กล่าวคือ คุณต้องใช้มัน ในแนวตั้งฉาก อาจเฉียงลงได้นิดๆ (น้อยมาก) เพราะมันจะติดขอบซิป ด้านล่าง
และ ข้อเสียอีกประการคือ ถ้าคุณจะปรับตั้งไฟ คุณต้อง แกะผ้าออกแล้ว เอามือไปตั้งค่าแฟลช ด้านใน (ใครมี แฟลช ที่ตั้งค่า ผ่าน ตัวทริกเกอร์ ก็สบายไป )

ต่อไป ผมจะลอง ใช้ ไฟสตู เมาท์ดู หยิบไปหยิบมา ไม่ทันดู ไปหยิบหัว 600W ที่จอแตก ไม่ค่อยได้ใช้มา(แต่่ใช้ได้ปรกตินะครับ โชคดี ที่มีอีกหัวเหมือนกัน ผมเลยจำสเตปการกดตั้งค่า แล้วตั้งทิ้งไว้ถาวรเลยว่า ให้หมุนเอาอย่างเดียว อยากได้มาก ได้น้อย หมุนปุ่มอย่างเดียว อย่างอื่นไม่ยุ่ง)

เนืองจาก ตัวเมาท์ ร่มของพวกไฟสตู มันก็จะขนานอยู่แล้วกับ แกนร่ม ดังนั้นถือว่า มันควรจะ ขนานได้ดีพอควรสำหรับ อุปกรณ์แบบนี้ 


ทีนี้ ถ้ายันให้สุดก้านร่ม ก็จะเจอท้ายแฟลช ยันผ้าออกมานิดๆ เอาล่ะไม่เป็นไรไม่มีผลอะไร จากนั้น ลองปรับค่าไฟต่ำสุด ยิงดู ผลก็คือ .........  



ถือว่า กลางพอใช้ได้ แม้จะลงล่างมาสักหน่อย แต่ไม่น่าเกลียดเกินไป 





ก็ถือว่า ค่าตัวไม่ถึง 1000 ได้ ออกตาบ๊อกซ์ ขนาด 120 cm ถือว่า ใหญ่พอประมาณ พกพาง่าย
มีจุดอ่อนบ้าง แต่พอรับได้ ก็ถือว่า คุ้มค่าอยู่ สำหรับ ใครที่อยากได้ไลท์มอด แบบพกง่าย 
ไม่อยากใช้ร่มสะท้อนหรือร่มทะลุ ใช้ได้ทั้งแฟลชเล็ก และ ไฟสตู ก็เรียกว่า พอกล้อมแกล้ม ใช้ได เหมาะกับการใช้งาน นอกสถานที่ ไม่ซีเรียสจัด พอได้งานระดับหนึ่งเลยครับ 

ถือว่า สอบผ่าน นะ 

ส่วนใครต้องการ ไลท์มอด ที่จริงจังหน่อย กระจายแสงสม่ำเสมอ ก็คงต้องใช้ ไลท์มอด มาตรฐาน เมาท์ต่างๆ ใส่ไฟสตู ผ้าสองชั้น จบ ไฟกระจายสม่ำเสมอแน่นอน 












  

วันจันทร์ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2563

เรากำลังเข้าสู่ยุค Computational Photography กันอย่างแท้จริง

สมัยก่อน การถ่ายภาพ ไม่ว่าจะใช้แสง หรือ ใช้แค่แสงธรรมชาติ ช่างภาพมือโปรทุกคน ย่อมพยายาม
สร้างภาพให้จบ ให้ได้มากที่สุด ในภาพๆเดียว อาจเป็นด้วย ข้อจำกัดทางในอดีต หรือ ต้นทุน ที่แพงในการประกอบภาพ หรือ ความไม่สะดวก อะไรก็ตามแต่  แต่เมื่อ ซอฟต์แวร์ ที่ช่วยแต่งภาพ อย่างเช่น Photoshop ทวีความเก่งกาจมากขึ้น สะดวกมากขึ้น และ ทำให้งานง่ายมากขึ้น

ช่างภาพอาชีพในปัจจุบัน จึงเปลี่ยน วิถี ในการถ่ายภาพกันมากขึ้น เพราะมันทำได้ง่ายขึ้น สะดวกขึ้น ต้นทุนต่ำกว่าการสร้างภาพให้จบใน ชอตเดียว แต่แน่นอน ถ้าเราสำมารถทำภาพให้จบ ในชอตเดียวได้ และ ไม่ยุ่งยาก ก็ควรทำอย่างนั้น

สาขาหนึ่ง ที่ผมติดตามงานมาก็คือ การถ่ายภาพ อินทีเรีย ครับ การถ่ายภาพอินทีเรียนี้ แต่เดิม จำเป็นต้องอาศัย ไฟแฟลช กำลังแรงมากๆๆ เพราะต้องการให้จบใน ภาพเดียว การถ่ายภาพที่มีพื้นที่มากๆ นั้น การให้แสง จึง ยุ่งยากและต้องการไฟแฟลชที่มีกำลังสูงมากๆ อาทิ 3000Ws ขึ้นไป

แต่ด้วยความที่ สมัยนี้ เราสามารถใช้โปรแกรม PS (Photoshop) แต่งภาพและจัดการภาพได้ ดังนั้น เราจึงสามารถ ถ่ายภาพที่ละส่วน จากนั้น จึงเอามาประกอบเข้าด้วยกันในโปรแกรม แน่นอน ช่างภาพก็ต้องมีทักษะในการแต่งภาพพอสมควรอยู่ระดับหนึ่ง การเข้าใจในเรื่องเลเยอร์ และ เครื่องมืออื่นๆ

ส่ิ่งที่ผมอยากบอกคือ ตอนนี้ เราเข้าสู่ยุคของภารถ่ายภาพเชิงคำนวน(ทางวิทยาศาสตร์) มากขึ้่น
ไม่ต้องดูอื่นไกล โทรศัพท์มือถือของเรามีระบบ AI ที่เข้ามาช่วยประมวลผล ภาพมากขึ้่น มันจะช่วยเราคิดว่า ภาพที่ถ่ายอยู่นี้คืออะไร ควรปรับแสง ปรับสี เช่นไร แม้จะยังห่างไกล จากภาพของมืออาชีพ แต่ก็ทำให้เห็นผลที่แตกต่าง

ไม่นับ โหมดถ่ายภาพดวงดาว โหมดถ่ายภาพอาหาร โหมดถ่ายภาพแปลกๆสารพัด ที่เมือก่อนต้องทำให้ คอมพิวเตอร์ แต่เดี๋ยวนี้ เราสามารถทำในโทรศัพท์ได้อย่างง่ายาย หลายๆครั้ง ก็ทำผลงานได้ดีทีเดียว

ดังนั้น สมัยนี้ ช่างภาพคนไหน ยังขาดทักษะทางนี้ สมควรเรียนรู้อย่างเป็นระบบ และ พัฒนาฝีมือขึ้นไปเรื่อยๆ เพราะจากนี้ไป งานคุณจะไม่เหมือนเดิม และ ความต้องการของลูกค้าจะ บีบบังคับ ให้คุณต้องมีทักษะทางด้านนี้
ไม่เช่นนั้น คุณจะไม่สามารถแข่งขันด้านต้นทุนกับคนอื่นได้ ไม่รวมถึง งานที่ส่งมอบต่อลูกค้าก็จะมีคุณภาพสูงขึ้นเป็นอย่างมาก

ปล ภาพตัวอย่างเป็นของ Mike Kelley ที่ผมลองเอามา ประกอบเองคร่าวๆ เพื่อให้เห็นภาพครับ