นำความรู้สากล มาสู่ตากล้องไทย สังคมของคนเล่นแสง ถ่ายภาพ พูดคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์ อยากให้เพื่อนๆได้แบ่งปันประสบการณ์ และ พูดคุยเกี่ยวกับการถ่ายภาพในทุำก รูปแบบครับ All about Off-camera , lighting, flash, strobe, light, camera, lens
pic of day
วันอังคารที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559
Wedding Vogue Shooting
ผมชอบดู แนว เบื้องหลังการถ่ายทำนะครับ มันทำให้เห็นไอเดีย และ วิธีทำงาน ของแต่ละคน
แต่อันหนึ่งที่จะเห็นได้คือ การใช้แสง ยังคงเป็นหัวใจสำคัญ ในการทำงาน ให้ได้งาน แบบว่า เอาไปใช้งานจริงๆจังๆ งานพวกนี้ งบเยอะ แต่ต้องได้งาน ตามที่ตกลงกันไว้ ตามสไตล์ และ ลุ๊ค ที่ตกลงกันไว้
ดังนั้น งานแบบนี้ ต้องมีทีมงาน การวางแผนงาน อุปกรณ์ เพื่อให้ บรรลุถึง ข้อตกลงนั้นๆ
การวางแผน จะรวมไปถึง การวางแผนเทคนิคถ่าย การวางแผนทำงาน การวางแผนเรื่อง เวลา สถานที่ เครื่องแต่งกาย และ เอฟเฟค ที่จะใช้ต่างๆ
จริงๆ ก็อดขัดใจไม่ได้นะ ที่ต้องแบก พารา ไปไหนต่อไหน ที่ลำบากอย่างนั้น แต่ก็ยังดีว่าไม่ใช้พวก ซอฟต์บ๊อกซ์ พวกนั้น ประกอบยากกว่าเยอะ พารา ก็คล้ายๆร่ม กางง่าย ประกอบง่ายกว่า
ขอให้สนุกกับการชม ครับ
วันอังคารที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2559
Profoto Pro-10 โมโนไลท์ ที่วาป เร็วที่สุดในโลก
ตอนนี้ มาประกาศตัว Pro-10 studio generator ที่อ้างว่าเป็น “World’s Fastest Flash.” ที่เป็นโมโนไลท์กันล่ะ
ความเร็วในการวาปคือ 1/80,000 วินาที ด้วยกำลัง 2400W/s และรีไซเคิลได้ 50 ครั้งต่อวินาที แต่อันนี้ ผมเดาว่า ไม่ใช่ เต็มกำลัง นะครับ ไม่น่าจะใช่ อย่างเด็ดขาด
แอพลิเคชั่นที่ใช้ ก็พวก หยุดการเคลื่อนไหวต่างๆนั่นแหละครับ เรียกว่า เกินพอกันเลยทีเดียว
ดูจากวิดีโอก็ตื่นเต้นดีนะ
ราคาห้ามคุย เด็ดขาด 555 ตอนนี้ ยังไม่รุ้ราคาแต่เอาเป็นว่า รู้กันนะครับ
ใครอยากรู้รายละเอียดเพิ่มเข้าไปที่นี่ http://profoto.com/speed-redefined/int/pro-10/
วันพุธที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2559
BUFF ออกผลิตภัณฑ์ใหม่ ชื่อ DIGI BEE
ผมจริงๆเป็นแฟน พอล ซี บัฟ มานาน แต่จนใจ นำเข้าไม่ได้ ไม่มีคนหิ้ว และ ปัญหาเรื่องไฟ 110v ซึ่ง แม้แต่จะสั่งให้ทำแบบ 220v ให้ได้ แต่ก็ไม่สามารถสั่งเข้ามาได้ ปล เพื่อนผมเคยสั่งมาได้ หลายปี ผ่านมาแล้ว โดยให้แก้ระบบไฟเป็น 220 ให้เพิ่มเงินแค่ 10 เหรียญ เท่านั้น
แฟลชตัวใหม่ มีชื่อ ที่ขึ้นต้นด้วย Digi มีสองรุ่นคือ DB800 และ DB400
เท่าที่่ดู เป็นการย่อขนาดลง ให้มีขนาด กระทัดรัดขึ้น แต่สามารถสั่งการด้วย ระบบไร้สายได้ เหมือนกับ ไอนสไตน์
ผมอยากเรียกมันว่า ไอนสไตน์ ย่อส่วน
ส่วนไฟนำ หรือ โมเดลลิ่งไลท์ ใช้เป็นแบบ LED ที่ทันสมัยขึ้น
ส่วนขนาด เทียบกับ ของเดิมลองดูว่า เล็กลงแค่ไหน
ส่วนการหรี่ไฟ นั้น ตัวใหม่ สามารถแบ่งกำลังไฟได้ 7 สต๊อป มากกว่าเดิม ที่มี 5 สต๊อป (ส่วนตัวผมว่า 5 ก็พอใช้งานแล้วล่ะ)
ค่าตัวอยู่แถวๆ 300 เหรียญ กว่าๆ นับว่า คุ้มทีเดียว
สเปกตามเวปเป็นดังนี้
- wide 7 f-stop power variability (2.5 Ws to 160 Ws)
- adjustable in 1/10 f-stop increments from full to 1/64 power
- all-digital controls with LCD display
- ultra bright LED modeling lamp (400W equivalent, daylight-balanced)
- internally fan cooled for heavy duty use
- visual and audible recycle indicators
- standard 120 VAC, 50-60 Hz power requirements
- 2.5 pounds total weight
- 60-Day Absolute Satisfaction Guarantee
- 2-Year Factory Warranty
ใครสนใจเชิญเข้าชมเวปไซด์ได้ตามนี้
วันพฤหัสบดีที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2559
Dramatic Retouch (Indonesia style)
เคยมีหลายคนที่เรียน PS กับผม มักถามผมว่า ไอ้ภาพที่ช่างภาพแถวอินโดนิเซีย แต่ง ดูแล้วออกไปทาง ดรามาติกน่ะ แต่งอย่างไร ผมก็มักไล่ให้ไปดูใน ยูทูป จริงๆเขาก็มีแสดงให้ดูนะ แถม มีบางคนก็สอนทำภาพแนวนี้ด้วย ซึ่งแว่บแรกที่ผมเห็นภาพแนวนี้ ผมก็รู้สึกว่า ทำไปทำไม วุ้ย เสียเวลา 555 ทำก็ไม่ยาก
จากใจเลยนะฮะ ภาพแบบนี้ ไม่ใช่แนวที่ผมชอบ อาจดูได้ แว๊บๆ แล้วเลี่ยน แม้จะสวยดีในช่วงแรกๆก็ตาม ภาพแบบนี้ รากมาจากภาพแนวที่เขาเรียกว่า ภาพแนว พิคทอเรียล ที่ผมก็มีรากมาจากสายนี้เหมือนกัน
ภาพแบบนี้ พวกสมาคมถ่ายภาพเขาถนัดกันครับ
การทำภาพแบบนี้ หลักๆเลย ก็คือ คุณต้องมีต้นฉบับที่เตียมมาสำหรับการนี้ก่อนส่วนใหญ่จะเป็นแบบนี้
1 ถ่ายภาพย้อนแสงเพื่อเก็บเอาริมไลท์ ของแถมที่ได้คือ แบคกราวด์มืด ทำไรง่ายเลย
2 สร้าง สตอรี่ในภาพ แม้จะดูแปลกไปบ้าง แต่เพื่อความสวยเรา โอเค (สมัยก่อนมีการแตกคอกันใน สมาคมว่าด้วยเรื่องจัดถ่าย ดราม่า ไม่เอา) ส่วนใหญ่ไม่พ้น แนว วิถีชีวิต เช่น พระบิณบารต์ ปักกลด เณรอ่านหนังสือมีพระสอน พระ/เณร เล่นกับสัตว์ ถ้าเป็นชาวบ้าน ก็ ตกปลา ขี่ควาย/ช้าง อาบน้ำช้าง/ควาย
เป่าน้ำให้ไก่ จูงวัวควายตามถนน หุงข้าว อาบน้ำ เด็กเล่นกัน เด็กเล่นกันกับ ช้างหรือควาย
ถ้าแนวหวือหวา จะเอา แฟชั่นมารวม เช่น ใส่ชุดเดรสถ่ายกะช้าง (ยังไม่เคยเห็นถ่ายกะควายอาจไม่เหมาะ 555) ถ่ายชุดไทย กับ สัตว์ ใช้ พรอพเป็นร่มถ่ายกะสัตว์หรือเดินเล่น โอ๊ย จิปาถะ ไปนึกเอาเองต่อ
3 ทีนี้มาเรื่องแต่งล่ะ ถ้าสายสมาคม เขาไม่แต่งเวิ่นครับ เขาทำนิดเดียวพอ เน้น สตอรี่ ไลท์ คอมโพ แต่มายุคนี้ ส่วนใหญ่ สุกเอาเผากินกันซะเยอะ แล้วมาแต่ง ท้ายสุดจำคำคมไว้นะครับ Junk in - Junk out ครับ ขยะเข้า ขยะก็ออกไป ยากที่จะดีได้ ดูได้ง่ายนิดเดียว
4 ทีนี้มาตอนสำคัญล่ะ เขาจะแยก แบบออกจากฉาก ด้วยการใช้เครื่องมือต่างๆ อาทิ pen tool หรือ ง่ายๆก็ใช้ refine edge หมูเลย ทำไม ต้องแยก โดยปรกติ ภาพแบบนี้ เขาจะใส่ หมอก หรือ ควัน เข้าไปที่ฉากหลัง สังเกตุว่า สมาคมถ่ายภาพ มักจุดไฟเผาใบไม้แห้งหรือมะพร้าว กันบ่อยๆ สร้างบรรยากาศ ส่วนฝรั่งมีเงินหน่อยก็ใช้ เครื่องฉีดควัน เอา แบบนี้ ได้งานดีกว่า แต่เอาเหอะ ตอนถ่ายมันไม่มี ก็ต้องสร้างขึ้นมา แต่ก่อนอื่น แยกมันออกมาก่อน
5 พอแยกได้แล้ว หลักพื้นฐานเลยคือ ใส่หมอก ควัน หรือ แสงแฟลร์ หรือ แสงลอดเมฆ ขึ้นมา บนฉากหลัง อย่าลืมเรื่อง สีที่จะใช้ มันต้องเหมาะสมกับภาพด้วย ตอนเย็นหรือตอนเช้า หรือ ตอนไหน
6 เมื่อทำฉากหลังให้มี หมอก ควัน (ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้ บรัช ควัน ทำเอา หาโหลดง่ายมีเยอะ)
7 ปรับ น้ำหนักแสง ฉากหลังทีมีหมอกควัน ส่วนใหญ่จะทำให้มืดกว่าแบบ เพราะหลักพื้นฐานคือ แบบสว่างกว่า ตาจะมองไปที่แบบ
8 ทีนี้มาทำ ฉากหน้า ส่วนใหญ่ มักเล่น แฟลร์ ฮะ ถ้าเอาแบบพื้นๆ บ้านๆเลย เอาบรัชขนาดใหญ่ๆ จิ้มไป จิ๊ก หนึ่ง ถ้าใหญ่ไม่พอ ให้ใช้เครื่องมือ Transform ขยายเอา แล้วปรับ ว่าจะเอามากหรือน้อยจาก opacity
9 พอได้แล้ว ทีนี้มาเนียนกะสีต่อ ส่วนใหญ่ถ้าไม่เอา solid color ลง ก็เล่น gradient นี่แหละง่ายดี ปาดไป ปาดมา ให้เหมือนกับว่า อารมณ์โทนของภาพไปในทางเดียวกัน
10 ปรับระเอียดในแต่ละส่วน เช่น ตัวแบบ หน้า ฉากหลัง บลาๆๆๆ ปรับทีละส่วน ใครขยันทำเยอะ ใครขี้เกียจทำน้อย
11 ปรับบาลานส์สีอีกที ดูว่า อารมณ์ภาพได้หรือยัง ก็จบ ใครจะมีขั้นตอนมากกว่านี้ ก็ไปแต่งตามสบาย
ปล ภาพที่ได้มาจากที่ผมไปเห็นฟีดของน้อง #hammypotter ซึ่งน้องก็แชร์ภาพของคุณ #PondKittiwat Fotograf มาอีกที เห็นเป็นการแจกไฟล์ให้ไปทำเล่น ผมก็ต้องขอขอบคุณมา ณ ที่นี้ด้วยครับ
วันพุธที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2559
แนวทางที่กำลังมาใหม่ ใช้ โดรน ในการให้แสง
ผมเริ่มเห็น คนใช้ โดรนในการให้แสงกับ ซับเจค ไม่ว่าจะเป็นการ เพ้นท์แสง บนวัตถุในเวลากลางคืน แต่ยังไม่เคยเห็นการให้แสงแบบการใช้ แฟลช เพื่อหยุดความเคลื่อนไหว และ ได้แนวภาพแบบแปลกตาแบบนี้
หลักการง่ายๆ ก็คือ เราจะใช้แฟลชมัดไว้บนโดรน แล้วให้มันยกขึ้นสูงเพื่อยิงแสงบนวัตถุที่ต้องการ
มีข้อควรจำบางประการคือ แฟลขมันหนัก ดังนั้น มันจะกินแรงโดรนมาก มีเวลาในการยิงแฟลชไม่มาก
ดังนั้น ต้องเตรียมความพร้อมและอาจต้องมีโดรนหลายลำเพื่อสลับเปลี่ยน
หากสนใจแนวภาพตามตัวอย่าง ให้ไปที่ http://www.jeffreymoustache.com/transienteclipse/
หลักการง่ายๆ ก็คือ เราจะใช้แฟลชมัดไว้บนโดรน แล้วให้มันยกขึ้นสูงเพื่อยิงแสงบนวัตถุที่ต้องการ
มีข้อควรจำบางประการคือ แฟลขมันหนัก ดังนั้น มันจะกินแรงโดรนมาก มีเวลาในการยิงแฟลชไม่มาก
ดังนั้น ต้องเตรียมความพร้อมและอาจต้องมีโดรนหลายลำเพื่อสลับเปลี่ยน
วันศุกร์ที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2559
มาสร้างสรร ภาพถ่าย แนวแปลก ไม่ซ้ำซากจำเจ
ดูภาพต่างๆที่ถ่ายกัน ดาษดื่น ใน เฟสบุ๊ค หรือที่อื่นๆ เดี๋ยวนี้ รู้สึกไหมครับว่ามันซ้ำซาก (โดยเฉพาะเฟสบุ๊ค) จำเจ หลายครั้ง เรื่องพวกนี้ ก็อาจทำให้เรารู้สึกว่า แนวถ่ายภาพอื่นๆ มันหายไปไหนหมด
และ ลดทอน ความคิดสร้างสรร ของเราไป ทำให้เราไม่ค้นหาเทคนิคใหม่ มุมมองใหม่
จริงๆเรื่อง ใช้เอฟเฟค ถ่ายภาพไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่ผลงานที่ออกมากลับมีไม่มาก นั่นอาจเป็นเพราะ
บางที เราอาจขี้เกียจ เตรียมอุปกรณ์ ขี้เกียจสร้างสรรสิ่งแปลกใหม่ หรือเปล่า
ผลงานสร้างสรร ในวิดีโอนี้ อาจทำให้คุณ ลองหา สิ่งแปลกใหม่ ที่อาจ ต่อยอด ทำงาน แปลกใหม่ที่สร้าง งานระดับ ว้าววว ได้ไม่ยาก
และ ลดทอน ความคิดสร้างสรร ของเราไป ทำให้เราไม่ค้นหาเทคนิคใหม่ มุมมองใหม่
จริงๆเรื่อง ใช้เอฟเฟค ถ่ายภาพไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่ผลงานที่ออกมากลับมีไม่มาก นั่นอาจเป็นเพราะ
บางที เราอาจขี้เกียจ เตรียมอุปกรณ์ ขี้เกียจสร้างสรรสิ่งแปลกใหม่ หรือเปล่า
ผลงานสร้างสรร ในวิดีโอนี้ อาจทำให้คุณ ลองหา สิ่งแปลกใหม่ ที่อาจ ต่อยอด ทำงาน แปลกใหม่ที่สร้าง งานระดับ ว้าววว ได้ไม่ยาก
วันจันทร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559
ทำแสงดรามาติก ด้วย PS
มีอยู่เรื่องหนึ่ง ที่จริงๆ ผมก็อยากพูด คือเรื่องของการใช้ PS ในการสร้างภาพแบบ ดิจิตอลอาร์ท
กล่าวคือ การใช้ PS เพื่อสร้างสรรผลงานศิลปะ ที่ผมเห็นบางกลุ่มของช่างภาพ อยากทำภาพแบบ แฟนตาซีบ้าง ไรบ้าง แต่ที่เห็นส่วนมากเลยคือ แนวไทยประยุกต์ มีกลิ่นอายของไทย ต้องมีนางแบบชุดไทย ต้องมีช้าง ต้องมีร่ม ต้องมี อะไรๆที่เป็นไทย
เราเลยไม่ค่อยเห็นงานที่ฉีกจากแนวเดิมเท่าไหร่ และ การคอมโพสิต ก็ยังทำไม่ละเอียดนัก เน้นไปที่การทำโทนสี การทำแสงแฟลร์ ดูแล้วเหมือนกับกับพวก ติวเตอร์เรียลของฝั่ง อินโดนิเซีย ฟิลลิปปินส์ (ในยูทูปเยอะมากๆ) มากกว่าฝั่ง อเมริกา ยุโรป ที่ผมเห็นเลยคือ สองฝั่งนี้มีแนวทางการทำที่แตกกต่างกันมากพอควร ในแง่เนื้อหาและคอนเท็กซ์ที่ทำ ชอบแบบไหน ไปทางนั้นครับ ไม่มีผิดถูก
ผมเองเคยทำติวเตอเรียล นี้มาระดับหนึ่ง จุดประสงค์เพื่อลองใช้เครื่องมือบางอย่าง และ ทดสอบสกิลในการบรัช คอมโพสิต และ โทนนิ่ง ยอมรับว่า ถ้าไม่มีแรงบันดาลใจมากๆนี่ ยอมแพ้เลย เพราะภาพดีๆ มักใช้เวลาทำหลายชั่วโมง รายละเอียดเล็กๆน้อยๆ ต้องใส่ใจ ดังนั้น บางที ผมจะทำหยาบนิด เพื่อให้เรียนรู้เฉยๆ ส่วนการทำคอมโพสิต อีกแบบ ที่ไม่เน้น แฟนตาซี หรือ ดิจิตอลอาร์ท จะทำได้ง่ายกว่า
กลับมาเรื่องการทำแสงดรามาติกนี้ คงเป็นแนวคิดและแรงบันดาลใจให้เราลองเทคนิคอะไรใหม่ๆบ้างนะครับ งานนี้เป็นงานของ Robert Cornelius Photography ติดตามงานเขาที่เพจเขาได้เลยครับ
กล่าวคือ การใช้ PS เพื่อสร้างสรรผลงานศิลปะ ที่ผมเห็นบางกลุ่มของช่างภาพ อยากทำภาพแบบ แฟนตาซีบ้าง ไรบ้าง แต่ที่เห็นส่วนมากเลยคือ แนวไทยประยุกต์ มีกลิ่นอายของไทย ต้องมีนางแบบชุดไทย ต้องมีช้าง ต้องมีร่ม ต้องมี อะไรๆที่เป็นไทย
เราเลยไม่ค่อยเห็นงานที่ฉีกจากแนวเดิมเท่าไหร่ และ การคอมโพสิต ก็ยังทำไม่ละเอียดนัก เน้นไปที่การทำโทนสี การทำแสงแฟลร์ ดูแล้วเหมือนกับกับพวก ติวเตอร์เรียลของฝั่ง อินโดนิเซีย ฟิลลิปปินส์ (ในยูทูปเยอะมากๆ) มากกว่าฝั่ง อเมริกา ยุโรป ที่ผมเห็นเลยคือ สองฝั่งนี้มีแนวทางการทำที่แตกกต่างกันมากพอควร ในแง่เนื้อหาและคอนเท็กซ์ที่ทำ ชอบแบบไหน ไปทางนั้นครับ ไม่มีผิดถูก
ผมเองเคยทำติวเตอเรียล นี้มาระดับหนึ่ง จุดประสงค์เพื่อลองใช้เครื่องมือบางอย่าง และ ทดสอบสกิลในการบรัช คอมโพสิต และ โทนนิ่ง ยอมรับว่า ถ้าไม่มีแรงบันดาลใจมากๆนี่ ยอมแพ้เลย เพราะภาพดีๆ มักใช้เวลาทำหลายชั่วโมง รายละเอียดเล็กๆน้อยๆ ต้องใส่ใจ ดังนั้น บางที ผมจะทำหยาบนิด เพื่อให้เรียนรู้เฉยๆ ส่วนการทำคอมโพสิต อีกแบบ ที่ไม่เน้น แฟนตาซี หรือ ดิจิตอลอาร์ท จะทำได้ง่ายกว่า
กลับมาเรื่องการทำแสงดรามาติกนี้ คงเป็นแนวคิดและแรงบันดาลใจให้เราลองเทคนิคอะไรใหม่ๆบ้างนะครับ งานนี้เป็นงานของ Robert Cornelius Photography ติดตามงานเขาที่เพจเขาได้เลยครับ
ปาแป้งใส่นางแบบ โดยไม่เปื้อนสตูดิโอ
นานๆมาทีนะครับ ผมแทบลืมมาอัพเดทบล็อก นาน แต่คงไม่นานเกินไปนะครับ
มาวันนี้ ผมได้ไอเดียจากเวป DIY photography ว่าด้วยเรื่องเทคนิคการผสมภาพนี่เอง
จริงๆแล้ว นี่ก็ไม่ใช่อะไรใหม่ แต่เวิร์คมากสำหรับคนอยากทำภาพแบบไม่ให้สตูเลอะ หรือ ไม่อยากยุ่งยาก ผมไม่มั่นใจว่า วิธีนี้จะใช้ได้กับของเหลว เพราะเวลาสาดของเหลว มันจะมีการบิดตัวและเคลื่อนที่ไปไม่เหมือนกับแป้ง ที่เป็นอนุภาคเล็กๆ
หลักการคือ ให้เราถ่ายภาพแบบของเราในสตู โดยให้มีฉากหลังดำ จากนั้น ก็ถ่ายภาพการสาดแป้ง หลายๆภาพ จากนั้น เอาภาพมาเปลี่ยน เบลนโหมดใน PS เท่านี้ คุณก็จะได้ภาพการสาดแป้งโดยไม่ต้องเลอะสตูแล้ว เสียอย่างเดียว มันไม่สะใจ และ อาจไม่ได้เอฟเฟคการสาดเหมือนของจริง แต่ก็น่าจะพอ
กล้อมแกล้มได้บ้าง
มาวันนี้ ผมได้ไอเดียจากเวป DIY photography ว่าด้วยเรื่องเทคนิคการผสมภาพนี่เอง
จริงๆแล้ว นี่ก็ไม่ใช่อะไรใหม่ แต่เวิร์คมากสำหรับคนอยากทำภาพแบบไม่ให้สตูเลอะ หรือ ไม่อยากยุ่งยาก ผมไม่มั่นใจว่า วิธีนี้จะใช้ได้กับของเหลว เพราะเวลาสาดของเหลว มันจะมีการบิดตัวและเคลื่อนที่ไปไม่เหมือนกับแป้ง ที่เป็นอนุภาคเล็กๆ
หลักการคือ ให้เราถ่ายภาพแบบของเราในสตู โดยให้มีฉากหลังดำ จากนั้น ก็ถ่ายภาพการสาดแป้ง หลายๆภาพ จากนั้น เอาภาพมาเปลี่ยน เบลนโหมดใน PS เท่านี้ คุณก็จะได้ภาพการสาดแป้งโดยไม่ต้องเลอะสตูแล้ว เสียอย่างเดียว มันไม่สะใจ และ อาจไม่ได้เอฟเฟคการสาดเหมือนของจริง แต่ก็น่าจะพอ
กล้อมแกล้มได้บ้าง
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)