หลังๆนี่ผมก็ไปออกทริปกะเขาบ้าง นอกรอบ ก็เหมือนย้อนวันเก่าๆที่ ไปเดินเที่ยวถ่ายรูป ไปขัดสนิมบางเรื่อง ไปลองวิชาบางอย่าง ไปลองอะไรที่เราอยากลอง เพราะการไปเที่ยวถ่ายรูปแบบนี้ คือ สนามฝึก สนามลอง ไม่เสียหาย ไม่เครียด
พอลองไปถ่ายแสงธรรมชาติล้วนๆ ก็เริ่มเห็นละครับ ว่า เออ ปัญหาอะไรต่างๆที่ไม่ค่อยเจอในสตูดิโอ หรือ ถ่ายงาน ไม่ค่อยเจอ ก็เกิดขึ้น เช่น การถือกล้องได้ไม่นิ่งพอ โฟกัสไม่เข้าเป้า เปีะ หรือ การแก้ไขสถานการณ์ข้างหน้า (ไปถ่ายรูปที่สาธารณะ อะไรก็เกิดได้ รวมถึง สภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไปตลอดเวลา)
อันหนึ่งที่ผมมาดูรูปหลังกลับบ้านก็คือ ระบบวัดแสงของกล้อง ที่ผมก็คิดว่า กล้องสมัยใหม่ มันฉลาดจะตายไป ใช้ตามที่กล้องวัดก็น่าจะโอ นะ จริงๆ ต้องบอกว่า ทั่วไปมันก็โอ แหละครับ แต่บางทีมันก็ไม่โอ สักเท่าไหร่ ผมพบว่า บางสถานการณ์ มันก็วัดแสง อันเดอร์ เอาเรื่องเหมือนกัน คือ อันเดอร์ราวๆ 1 สต๊อป
ทีนี้ บางซีน เราก็ตัดสินใจยากว่า จะชดเชย เท่าไหร่ เพราะมันมีสีมาเกี่ยวข้อง อย่างตัวอย่างภาพนี้ ถ่ายที่บ้าน ในร่ม
จะเห็นว่า 3 ภาพแรก เป็นการถ่ายด้วยโหมด A วัดแสงแบบ Evaluative จากกล้องเลย จะเห็นว่า มันอันเดอร์อยู่พอควร
ถ้าดูภาพเต็ม (ขอให้ดูฮีสโตรแกรมประกอบ) จะได้ภาพดังนี้
ผมมาดู ฮีสโตรแกรม ก็จะเห็นว่า มันยังอันเดอร์อยู่พอควร เลยลองเอา มิเตอร์วัดแสง มาวัด ผลที่ได้จะเป็นแบบนี้
ซึ่งเป็นการตั้งค่าให้ได้ตามมิเตอร์ดังนี้
ดังนั้นจะเห็นว่า บางครั้ง การวัดแสงจากกล้องโดยตรง ก็ยังคงไม่น่าไว้วางใจ ถ้าคุณมีมิเตอร์วัดแสง ก็ควรใช้มันให้เกิดประโยชน์ (มิเตอร์รุ่นสู่งๆ ให้ประโยชน์สูงมาก ถึงขั้น รู้ เรโช ที่จะถ่ายกันเลย ว่า ด้านไหน มากหรือน้อยกว่า ด้านไหน กี่สต๊อป)
แต่ถ้าไม่มี ทางหนึ่งที่ทำได้คือ ดู ฮีสโตรแกรม ว่า มันพอดีหรือยัง มีการ Over ของไฮไลท์หรือไม่ ถ้ามี (ในส่วนที่เราให้ความสำคัญ) ก็ปรับแก้ซะ อย่างน้อยไปทำต่อใน โฟโตชอป คุณก็จะได้ไม่ปวดหัวกับ น๊อยส์ ที่จะเกิด เวลาดึงภาพให้สว่างขึ้นครับ
นำความรู้สากล มาสู่ตากล้องไทย สังคมของคนเล่นแสง ถ่ายภาพ พูดคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์ อยากให้เพื่อนๆได้แบ่งปันประสบการณ์ และ พูดคุยเกี่ยวกับการถ่ายภาพในทุำก รูปแบบครับ All about Off-camera , lighting, flash, strobe, light, camera, lens
pic of day
วันจันทร์ที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2555
วันจันทร์ที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2555
10 สุดยอดตากล้อง Wedding ปี 2012
เป็นประจำทุกปี ที่ข่าวแบบนี้จะสร้างความ ตื่นเต้นให้กับผมได้ แว่บแรกผมแอบอ่านสแกนชื่อคน ปรากฎว่า เจ้าเก่า หน้าเก่าเดิมๆ หลุดโผ เรียบ..............
ไม่เหลือเลย ใครก็ไม่รู้โผล่มาแบบ อึ้ง กิม กี่ ....... ผมเลยตามเข้าไปดูประวัติและเวปไซด์ โอ้โห คนแรก ก็แซบ แล้วครับท่าน
มานะ มาดูกันว่า มันเป็นไงบ้าง ปีนี้
ปีนี้ เป็นปีที่ แนวของตากล้องจะออก self กันเกือบหมด ภาพแต่ละภาพ ผมอึ้ง ไม่คิดว่า จะกล้ากด ผมเองเห็นมาก็เยอะ ยังคิดว่า ถ้าตัวเองถ่าย ก็คงไม่กล้ากดมุมนี้ 5555 มันเยี่ยมมากเรยจอร์จเอ๋ย ดูไป น้ำตาจะไหลด้วยความตื้นตัน
คงต้องมาปรับปรุงแนวของตัวเองยกใหญ่เลยครับ หลังจาก ติดแนว ฟิกทอเรีย มานาน หุๆๆ จะได้มีรสชาติ หวาน มัน เค็ม กะเขาบ้าง เอ๊า มาต่อกัน
เรียบเรียงมาจากหนังสือ American Photo May-June 2012 ครับ
1. Jeff Newsom : http://jeffnewsom.com/
โดยทั่วไป ตากล้องแนว wedding มักเริ่มจากการถ่ายฟรีให้เพื่อน แต่ไม่ใช่ กับ Jeff Newsom เจฟ ได้งานจาก ลูกค้าที่ไม่เคยรู้จักกันมาก่อน มาว่าจ้างงานแบบ ""ถูกเป็นขี้"" แต่หลังจากรับงานนี้ ชีวิตเขาก็เปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง
เขาบอกว่า เขาชอบ ที่จะแยกแยะและแก้ไขปัญหา การถ่ายภาพ wedding นั้น ล้วนเกี่ยวข้องกับ สถานการณ์ที่ไม่คาดฝัน สภาวะแสงที่ยุ่งยาก และความรีบเร่งของพิธีต่างๆหลังงาน
"เมื่อผมหลังชนฝาผมก็ต้องหาทางแก้มัน" เขาว่าอย่างนั้น เทคนิคอย่างหนึ่งที่เขาใช้คือ ทำความรุ้จักกับทุกคน เมื่อทุกคนรู้สึกดีต่อกันมันทำให้การถ่ายภาพง่ายขึ้น คนบางค
นดูแล้วไม่น่าเข้าใกล้แต่พอถ่ายภาพของพวกเขาแล้วผมพบว่าผมได้ภาพของคนที่สวยงามกลับมา
2. Max Wanger : http://maxwanger.com/
ถ้าจะบอกว่ามีใคร บ้าพอ และ ตั้งใจอย่างเด็ดเดี่ยวที่จะเป็นช่างภาพ Wedding ก็จะต้องนับ Max Wanger เข้าไปด้วย เพราะพี่แกเล่นลงทุน เอาน้องสาวของตัวเองเป็นเจ้าสาว และ เพื่อนเขาเป็นเจ้าบ่าว และ ไปซื้อแหวนแต่งงานเก๊ราคา 150 บาทมาใส่ และเขาก็บอกว่า ช่างเป็นคู่ที่น่ารักเหลือเกิน........... จากนั้น แฟนของเขาก็เอาไปโพสตามที่ต่างๆ ผลก็คือ มีงานหลั่งไหลเข้ามาจนทำแทบไม่ทัน (อยากเลียนแบบมั่งจัง) เขาบอกว่า เขาอยากทำอะไรที่มันแตกต่าง และ มองภาพของเขาเป็นศิลปเสียมากกว่า
จนทั้งสอง แต่งงานกัน เขาก็บอกว่า ผมก็พึ่งเข้าใจคนแต่งงานเนี่ยะ ว่ามันรู้สึกอย่างไร อารมณ์ตอนนั้น(ก่อนแต่ง) กับตอนนี้มันต่างกันอย่างสิ้นเชิง และตอนนี้ทั้งสองก็รับงานถ่าย Wedding ร่วมกัน
3. Angelica Glass : http://angelicaglass.com/
ในขณะที่กำลังทำปริญญาด้านเนติบัณฑิตอยู่นั้น Glass ก็หาลำไพ่ด้วยการทำอัลบัมแต่งงานที่ ลองไอส์แลนด์ นิวยอร์ค ให้กับสตูดิโอแห่งหนึ่ง ถ้าทางสตูดิโอมีงาน Glass จะเข้าไปในงานในฐานะแขก และคอยขนฟิลม์ไปด้วย และแล้ว วันแห่งโชคชะตาก็มาถึง หัวหน้าบอกเธอว่า "ไอ้ตากล้องหลักมันหายหัวไปแล้ว" เธอจึงต้องเรียนรุ้ที่จะหน้าที่แทนในวันนั้น ผลก็คือ งานของเธอกลายเป็นดาวจรัสแสงไปในบัดดล ต่อมา สตูดิโอ ก็จ้างเธอไว้ในฐานะช่างภาพประจำสตูดิโอ เธอบอกลูกค้าว่า สิ่งที่เธอทำนั้นคือการเก็บภาพบุคลิกตัวคนที่แท้จริงของคู่รัก และ ทำให้รู้ว่า คุณคือใคร
หลักจาก พิธีที่เคร่งขรึม จบลง เธอจะงัดเอาเลนส์ 16-35 ของเธอออกมา และออกไปเต้นกลางวงพร้อมที่จะเก็บภาพที่น่าตื่นเต้นในระยะเผาขน "หลายคนจ้างฉันในงานพิธีเลี้ยงต้อนรับ เพราะมันดูเหมือนงานเต้นรำที่ สนุกสุดเหวี่ยง แม้จริงๆจะมีคนเต้นอยุ่บนฟลอร์แค่ 10 คนก็ตาม
ซึ่งทุกคนก็ต้องการให้งานปาร์ตี้ของตัวเองดูสนุกสนานแบบนั้นแหละ
4. Ron Antonelli : http://ronantonelli.com/
บางที อาชีพของการเป็นช่างภาพก็เล่นตลก เพราะคนอย่าง Ron นั้นทำสองอย่างในคราวเดียวกัน อันแรกเขาเป็นช่างภาพข่าวเต็มเวลาให้กับ นสพ New york Daily News เป็นเวลา 15 ปี พอปี 2009 ช่างภาพ Wedding และเจ้าของสตูดิโอชื่อ Brian Dorsey ก็ทาบทามให้เขามาเป็นสต๊าฟของเขา Antonelli ก็เลยได้สองงานนับแต่บัดนั้นเป็นต้นมา ประโยชน์ของการเป็นช่างภาพหนังสือพิมพ์คือการทำให้เขาสามารถเก็บภาพแนวเล่าเรื่องได้ดี แต่นั่นไม่ได้ทำให้เขาฉายแววจนกระทั่งเขาเริ่มทำหนดทิศทาง บอกให้ลูกค้าทำโน่นทำนี่ เขากล่าวว่า "สำหรับการเป็นช่างภาพ นสพ ผมต้องทำตามกรอบประเพณี ผมไม่สามารถจัดฉากถ่ายภาพได้เพราะนั่นถือเป็นการกระทำที่ไม่เหมาะสม แต่สำหรับการถ่ายภาพแนว wedding ผมสามารถเล่าเรื่องตลกให้พวกเขาหัวเราะได้ เพราะผมรู้ว่า ภาพจะดีขึ้นมากถ้าพวกเขาหัวเราะ และถ้าผมเป็นช่างภาพ นสพ ผมไม่สามารถเล่าเรื่องตลกให้นายกเทศมนตรีได้"
แต่การแบกสองจ๊อบก็ทำให้เขาเหนื่อยไม่น้อย "ผมถ่ายงานแต่งงานที่ นิวยอร์ค หลังจากนั้น กลับมาบ้าน นอน 2 ชมแล้วบินไปที่ ซินซิเนติ ขับรถไป อินเดียนาโปลิส เพื่อไปถ่ายภาพงานแข่งซุปเปอร์โบว์ และเสร็จงานตอน ตี 2" เขากล่าวว่า "สำหรับภาพถ่ายงาน นสพ อาจมีคนเป็นล้านได้ชมภาพของผม แต่สำหรับงานแต่งงาน อาจมีเพียงคนเพียงหยิบมือแต่จะดูภาพของผมไปชั่วชีวิต"
5. Sergio Lopez : http://sergiophotographer.com/
วิศวกรไฟฟ้า ที่มักหลงไหลกับอุปกรณ์ไฮเทค เมื่อน้องชายของเขาแต่งงาน เขาได้เห็นช่างภาพใช้กล้องดิจิตอลในยุคเริ่มแรกขณะนั้น และเขาคิดว่า "ดูเหมือนหมอนั่นมีความสุขมากกับการได้ใช้อุปกรณ์ไฮเทค และผมก็อยากมีความสุขแบบนั้นบ้าง" วันต่อมาเขาก็ได้ซื้อกล้อง DSLR ตัวแรกจาก ebay และอ่านหนังสือเกี่ยวกับการถ่ายภาพทุกเล่มที่เขาสามารถหาอ่านได้ "เมื่อวิศวกรพบกับปัญหา เขามักค้นหาคำตอบ" เขากล่าว และเขาค้นพบว่าเขา ลุ่มหลง กับมันเอามากๆจนกระทั่งเขาคิดว่าเขาสามารถประกอบอาชีพได้ เขาเลยลาออกจากงาน เทคโนโลยีอาจนำพาเขาเข้ามาสู่วงการแต่ลูกค้าของเขาทำให้เขาอยู่กับมันตลอดมา "ผมตระหนักดีว่าส่วนสำคัญที่สุดของการถ่ายภาพนั่นผู้คน"
"วิศวกรรมนั่นอาจเป็นสิ่งสวยงาม แต่ท้ายที่สุดแล้วคงไม่มีใครกอดผมแม้พวกเขาจะเห็นว่างานของผมนั่นสวยงาม"
ทุกวันนี้เขาถ่ายภาพแนว Wedding ที่หลากหลายในแนวของการบันทึกเหตุการณ์ (documentary)"สิ่งสำคัญที่สุดสำหรับผมก็คือ คู่บ่าวสาวนั้น มักแสดงอารมณ์อย่างตรงไปตรงมา ไม่ว่าครอบครัวของเขาจะหัวเราะหรือร้องให้ พวกเขาไม่เคยแคร์ว่าจะต้องจ่ายเงินไปสักเท่าไหร่"
ประสบการ์ณสอนให้เขาอดทนรอจังหวะ และ เขาพยายามถ่ายภาพให้ดีที่สุดในประวัติศาสตร์ของการถ่ายภาพ wedding เท่าที่เขาจะทำได้
6. Dave Getzschnma : http://davegetzschman.photoshelter.com/
ทักษะในการเป็นช่างภาพ นพส ดูจะเป็นประโยชน์ต่อการถ่ายภาพแนว wedding แต่ก็เป็นเรื่องยากในการเปลี่ยนผ่าน(จากแนวหนึ่งไปสู่อีกแนวหนึ่ง) Dave Getzschnma กล่าว เขากล่าวต่อไปว่า "มันไม่จำเป็นต้องมีการ ลงทุนทางด้านอารมณ์ มากมายอะไรนักกับการที่จะรับรู้ว่าอะไรกำลังดำเนินการอยู่ เพราะว่าคุณเพียงแค่ทำตามคำสั่งไปยังอีกคำสั่งหนึ่ง" พอมาในปี 2007 เขาได้เป็นส่วนหนึ่งของทีมถ่ายภาพสตูดิโออันดับหนึ่งของเมืองซานฟรานซิสโก ที่ดำเนินการโดย Ben Chrisman หนึ่งในบรรดาสุดยอดตากล้อง wedding ปี 2008 เขาบอกว่า Chrisman สอนวิธีการที่จะ "สร้างความสัมพันธ์ เพื่อให้ได้ภาพที่ทรงพลังด้านอารมณ์" มิเช่นนั้นแล้ว คุณจะไม่สามารถ "ยืนห่างจากแบบ 2 ฟุตแล้วกระหน่ำยิงภาพ 20 ภาพ โดยไม่ทำให้แบบเขอะเขิน ผมมักแนะนำตัวเอง เล่าเรื่องตลก และ พยายามจำชื่อแขกในงานให้ได้ทั้งหมด เพื่อให้พวกเขารุ้สึกผ่อนคลายเมื่อมีผมอยู่ใกล้ๆ"
ปัจจุบัน Getzschnma ย้ายมาอยู่เมือง แอล เอ ตามการขยายสาขาของ Chrisman เขากล่าวชื่นชมการถ่ายภาพแนว wedding ว่า "มันทำให้ช่างภาพขี้อายอย่างผม กลายเป็นคนกระหายที่จะเข้าร่วมกับสิ่งที่กำลังเกิดขึ้น"
(ผมเข้าไปตามลิงค์ด้านบน พบว่า พอร์ตของ wedding จะไม่อยู่ที่นั่น จะต้องไปที่ http://www.chrismanstudios.com/ แทน)
7. Susan Stripling : http://susanstripling.com/
เมื่อนักเรียนสาขาการภาพยนต์เริ่มถ่ายภาพ wedding เธอรู้สึกกังวลและกล่าวว่า "ฉันรู้สึกเสียดายเวลาที่เรียนในมหาวิทยาลัย แต่ต่อมาฉันพบกว่าสิ่งที่เรียนมาในมหาวิทยาลัย มันก็มีประโยชน์ ไม่ใช่แค่เรื่องเทคนิคอย่างการจัดไฟแบบภาพยนต์ แต่ยังเป็นเรื่องการรับมือกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เพราะฉันเรียนมาในเรื่องของการสร้างเหตุการณ์ให้เกิดขึ้น ดังนั้นพอมันต้องเจอของจริงฉันเลยไม่รู้สึกตื่นเต้นสักเท่าไหร่"
แต่ก่อนที่ เธอจะมาเป็นช่างภาพ wedding เธอเริ่มจากการถ่ายภาพงานแต่งงานให้เพื่อน เพราะเพื่อนเธอไม่มีเงินจ่ายค่าตัวให้กับช่างภาพมืออาชีพ แต่พอคนอื่นได้เห็นภาพของเธอ เธอก็เริ่มได้ลูกค้าเข้ามาเรื่อยๆ ยิ่งเธอถ่ายมากเท่าไหร่ เธอยิ่งรู้สึกคุ้มค่ากับเวลาและรายได้ที่เข้ามา
"ฉันไม่อยากให้พวกเขารู้สึกว่า มันเป็นวันที่ต้องถ่ายรูปกันทั้งวัน ฉันอยากให้พวกเขารู้สึกว่า มันเป็นวันของพวกเขา และสิ่งที่ฉันชื่นชมยินดีที่สุดก็คือการที่ได้ยินพวกเขาพูดว่า โอ้พระเจ้า ฉันไม่ยักรู้เลยว่าเธออยู่ที่นั่นด้วยในตอนนั้น"
8. Todd Laffler : http://lafflerphotography.com/
ภาพถ่ายที่มีพื้นที่โล่งกว้างๆ ถือเป็นจุดเด่นประจำตัวของ Laffler เขาชอบที่จะเลือกถ่ายคู่บ่าวสาวในที่เปิดโล่งที่กว้างใหญ่ และถ่ายคู่บ่าวสาวในที่โล่งแบบนั้นด้วยทางยาวโฟกัส 200mm เขาชอบการบีบอัดของทางยาวโฟกัสที่มากๆและชอบเนกาทีฟสเปซ(nagative space)ของทุ่งหญ้าที่กว้างใหญ่หรือของท้องฟ้า "มันเหมือนกับปริศนาสำหรับผม ผมนำแต่ละชิ้นมาปะติดปะต่อกัน ไม่ว่าจะเป็น ทางยาวโฟกัสที่ถูกต้อง รูรับแสงที่ถูกต้อง และ ตำแหน่งที่ถูกต้องของคู่บ่าวสาว" เขากล่าว คุณเพียงแต่หาสถานที่ๆเหมาะสมและรอแสงที่เหมาะสม เป้าหมายคือได้ภาพที่เยี่ยมยอดโดยมีคู่บ่าวสาวอยู่ในภาพนั้นด้วย แต่ต้องได้อารมณ์ภาพที่เหมาะสมด้วย ถ้าขาดอารมณ์ในภาพ คุณก็ไม่ประสบความสำเร็จ
เมื่อต้องถ่ายภาพใกล้ๆหรือถ่ายแนวทีเผลอ เขาจะใช้เลนส์ 24mm และถ่ายในระยะใกล้ และถ้าเป็นพิธีรับรองเขาจะใช้เลนส์ที่กว้างขึ้นไปอีกคือ 16mm ในการเก็บภาพ ผมอาจชูกล้องขึ้นเหนือหัวแล้วถ่าย หรือ วางบนพื้นแล้วแหงนกล้องขึ้น แบบที่นักถ่ายภาพสเก็ตบอร์ดทำกัน ผมสบายใจที่จะถ่ายแบบไม่ต้องเล็งแบบนั้น
9. Kitty Clark Fritz และ Craig Fritz : http://twinlensimages.com/
รู้จักกันในแวดวงด้วยฉายา ไอ้เลนส์คู่(Twin Lens) ทั้งคู่เป็นลูกจ้างของ นสพ Albuquerque นิวแม็กซิโก ในตอนที่พวกเขาถ่ายภาพ wedding ให้กับเพื่อนๆ เมื่อหัวหนังสือพิมพ์ของ Craig ปิดตัวลงในปี 2008 เขาก็ต้องเผชิญหน้ากับทางเลือกว่าจะเป็น ช่างภาพ นสพ ต่อ หรือไปเป็นช่างภาพ Wedding แบบเต็มตัว "ผมไม่เคยคิดว่าเราจะมาเป็นช่างภาพ wedding แต่จากความเชื่อมั่นในฝีมือในแนวทางของเรา ทำให้เรารู้สึกเป็นอิสระและสนุกสนาน คุณสามารถทำตัวเป็นอาร์ตติส และนั่นทำให้คนจ้างคุณ แต่กับการที่จะเป็นช่างภาพ นสพ ถ้าคุณล้ำเส้นมากไปจะมีคนคอยดึงคุณกลับมา"
เมื่อทั้งคู่ไปถ่ายงานแต่งงาน ทั้งคู่จะพก กล้อง DSLR สองตัว กล้อง Holga สองอัน และที่ขาดไม่ได้เลยคือ กล้องฟิลม์แบบเลนส์คู่ Mamiya C330 TLR ซึ่งประการหลังนี้ เขาต้องการอนุรักษ์คุณค่าของภาพที่ดูแบบเก่าแก่เอาไว้ โดยเขาจะถ่ายภาพด้วยกล้องนี้ด้วยฟิลม์ขาวดำ "คุณให้คุณค่ากับรูปภาพด้วยแนวทางของมัน ไม่ใช่ด้วยการบอกว่า ว้าว ดูนี่สิ ภาพใสแจ่มแจ๋วไปเลย"
การหากลุ่มลูกค้าของเขาก็สำคัญด้วย "ลูกค้าของเราไม่ใช่ว่าต้องการภาพถ่ายแนวแมกาซีนอล่างฉ่างเต็มๆหน้า พวกเขาต้องการบันทึกความทรงจำและสิ่งที่มันเป็นในความรู้สึกจริงๆ" ทั้งคู่พยายามที่จะผลักดันให้ลูกค้าได้รับตัวตนที่แท้จริงของพวกเขา นอกเหนือจากธรรมเนียมเก่าแก่โบราณ "ถ้าการตัดเค๊กแลดูงี่เง่า ก็ตัดมันทิ้งไปเสีย" Craig กล่าว และบอกว่า "คุณควรทำสิ่งต่างๆในวันนั้น ก็ต่อเมื่อมันมีความหมายสำหรบคุณจริงๆ"
10. Ira Lippke : http://iralippkestudios.com/
คงไม่มีช่างภาพที่ทำสตูดิโอขนาดใหญ่ในนิวยอร์คคนไหน มีประวัติเหมือน Lippke เขาเป็นลูกคนโตหนึ่งในห้าคนของครอบครัว คริสเตียนฮิปปี้ เขาเรียนหนังสือที่บ้าน (homeschooled)พักอาศัยในเต๊นท์และรถบัสโรงเรียน เขาสนใจการถ่ายภาพเมื่ออายุ 14 และซื้อกล้องจากร้านขายของเก่า จากนั้นก็ส่งเสียตัวเองเรียนมหาลัย โดยการถ่ายภาพวงดนตรีและงานแต่งงาน
หลังจากเรียนจบเขาได้เข้าสุ่แวดวงงานแฟชั่น ที่ซึ่งทุกอย่างในการถ่ายภาพจะต้องเนี๊ยบ ทำให้เขารู้สึกว่าน่าจะหาอะไรอย่างอื่นทำ "ผมมีนางแบบที่ยอดเยี่ยม มีสไตลิสที่ยอดเยี่ยม และ หัวแม๊กาซีนที่ยอดเยี่ยม ที่จะทำงานด้วย แต่ผมก็ตระหนักดีว่าแม๊กาซีนฉบับนั้น จะต้องถูกทิ้งลงตะกร้าอีกไม่กี่เดือนต่อมา และผมก็ตั้งใจว่าผมต้องการให้ภาพถ่ายของผมนั้นเป็นสิ่งที่มีค่าเหมือนสมบัติ" ดังนั้นเขาจึงไปเปิดสตูดิโอที่มุ่งไปในทาง wedding
เราพยายามที่จะจับภาพความเชื่อมโยงของผู้คนแบบไร้ขีดจำกัดของกาลเวลา นับเป็นหัวใจหลักของสตูดิโอของเรา
"แม้พิธีแต่งงานจะทำใน คลับเต้นรำ และ
ทำพิธีโดยเพื่อนที่เป็นบาทหลวงทางอินเตอร์เนต แต่สิ่งที่เกิดขึ้นระหว่างคนทั้งสองก็คือสิ่งศักสิทธิ" เขากล่าว
"มันมีความลึกลับเกี่ยวกับเรื่องที่ว่า และหัวใจของความลึกลับที่ว่านั้นคือ คุณไม่มีวันเข้าถึงจุดจบของมัน การถ่ายภาพนั้นทำให้เข้าถึงสิ่งที่ไม่ใช่วัตถุ แม้การถ่ายภาพจะเป็นวัตถุ แต่มันก็เป็นเครื่องมือในการดึงเอาจิตวิญญาณนั้นออกมา"
------------------------------------------------------
ก็ครบ 10 คนของปีนี้นะครับ ใครมีความเห็นเรื่องนี้อย่างไร แนวภาพ ทิศทาง ของการถ่าย เมื่อเทียบบ้านเรา กับ ของเขา และอื่นๆ
ความเห็นของท่านอาจเป็นประโยชน์ต่อคนในวงการมากขึ้นครับ ส่วนใครสนใจว่าปีที่แล้ว มีใครบ้าง แนวภาพเป็นอย่างไร ดุได้จากนี่ครับ
http://thaioffcamera.blogspot.com/2011/06/10-wedding-2011.html
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)