pic of day

pic of day

วันพฤหัสบดีที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2553

รีวิว อุปกรณ์ติดตั้งร่มให้กับแฟลช ยี่ห้อ ishoot และการดัดแปลง

หลังจากที่ผมได้ลองซื้อ Umbrella adapter หรือ ตัวติดตั้งร่มกับระบบแฟลช ยี่ห้อ Manfrotto ผมรู้สึกเลยว่า ระบบเก่าที่ผมใช้เดิมนั้น ดูก๊องแก๊งไปถนัดตา แต่ไม่ใช่ไม่ดีนะครับ เด่วผมมีคอมเม้นท์ท้ายสุดแล้วจะสะดุ้ง ระบบเดิมที่ผมใช้คือ ตัวแรกๆที่มีขายกันใน E-bay เลย
เป็นระบบที่ออกมาตอนกระแสการใช้แแฟลชแบบแยกกำลังบูม ระบบทริกเกอร์จากจีนราคาถูกกำลังเข้ามาตีตลาดทริกเกอร์ราคาแพง อย่าง Pocket Wizard เลยทีเดียว (ของราคาหมื่น กับ ของราคาพันต้นๆ)

Umbrella adapter ระบบแรกที่ผมใช้คือแบบนี้



ซึ่งเขาจะมีรูปภาพที่ติดตั้งแฟลชแบบนี้ให้ดู


ซึ่งดูเผินๆเหมือนไม่มีอะไร แต่ความจริงคือ แฟลชจะยิงส่วนบนของร่มเป็นส่วนใหญ่ ยิ่งถ้ามีทริกเกอร์เป็นฐานในแฟลชรุ่นที่ไม่มีซิงค์พอร์ตแล้วละก็ ยิ่งสูงขึ้นไปอีก

ส่วนของ Manfrotto เป็นแบบนี้



ต่อมาผมก็ซื้อตัวนี้มาเล่น



คำถามคือ ทำไมเล่นหลายแบบ จุดมุ่งหมายแรกเลยก็คือ อยากลองเล่นอะไรบางอย่างครับ

ต้องยอมรับว่า ปัญหาปวดหัวของคนเล่นระบบแฟลช ที่มีมาต่อเนื่องยาวนานก็คือ การที่ แฟลช ไม่สามารถขนานไปกับแกนร่มได้
ผมก็หงุดหงิด แม้ คนที่เล่นระบบนี้แรกๆ อย่าง เดวิท ฮอบบี้ หรือ แซค อารีอาส จะใช้วิธี เมาท์แฟลช ไปตรงๆบนแกนของ
ตัวอแดปเดอร์แบบ Manfrotto ซึ่ง ตัวอแดปเตอร์แบบนี้ จะทำให้ร่มเอียงทำมุม กับแฟลช และ แฟลชจะค่อนข้างใกล้เคียงกับตรงกลาง
แต่มีข้อแม้ว่า ต้องเป็นแฟลช ที่มีสายซิงค์หรือระบบซิงค์พอร์ตในตัว ถ้าแฟลชเก่า ไม่มี ก็ต้องใส่ทริกเกอร์ เข้าไป ทำให้ ระยะจากฐานถึงตัวแฟลช "สูง" ขึ้นไปอีก ปัญหาจะยิ่งใหญ่ตามมาคือ แฟลช จะส่องสว่างส่วนบนของร่มเสียเป็นส่วนใหญ่

ทีนี้ถ้าเป็นระบบแรกที่ผมใช้ ผมจะใช้ ยางรัดแบบที่ฝรั่งเรียกว่า บอลบันจี้ หาซื้อได้ที่ ไดโซะ ราคา 60 บาท มีสามเส้นครับ
ระบบนี้ผมจะสามารถ รัดแฟลช ให้ขนานกับร่มได้หรือใกล้เคียงมาก
ลองดูภาพนี้ครับ



ถ้าไม่คิดอะไร มองว่า อแดปเตอร์รุ่นนี้มีราคาถูกม๊ากก ก็ไม่มีปัญหา เพียงแต่ตอนรัดยาง ต้องออกแรงนิด ผมอยากสบาย
เลยพยายามคิดว่าจะทำไงให้ทำได้ง่ายขึ้น ประกอบกับวันนั้นไปเดินเล่นร้าน คาปา เจออแดปเตอร์ของ Manfrotto เลยอยากลองเล่น
เผื่อมันยิงแฟลชกลางร่มก็จบปัญหา แต่เอาเข้าจริงมันไม่จบ เพราะแฟลชที่ผมมี ล้วนไม่มีพอร์ตในการซิงค์เลย ต้องใส่ทริกเกอร์ตรงฐานเข้าไป ทำให้ระยะมันยิ่งสูงขึ้นไปอีก

ผมจึงได้หาวิธีทำให้มันนอนแบบเดิม โดยไปซื้อ ปลอกของพุกเหล็ก มีขายที่ โฮมโปร อันละ 10 บาท และ ซื้อ แผ่นเหล็กเรียบอันเล็กๆซึ่งผมไม่รู้ว่าเขาเอาไว้ทำอะไรอีก 15 บาท แล้วไปให้ร้านทำท่อไอเสียเชื่อมเหล็กเข้าด้วยกัน ดังรูป จึงสามารถทำให้แฟลช นอนราบไปกับร่มได้ โดยออกแรงน้อยกว่า เยอะ ยุ่งน้อยกว่า


ทีนี้มาเกี่ยวอะไรกับ iShoot ผมก็คิดว่า มันน่าจะดี ราคาถูก และถ้าผมซื้อ ตัวซิงค์แบบฐานเตี้ย มาต่อน่าจะแก้ปัญหาเรื่องการยิงแฟลชไปตรงกลางได้ ซึ่งจะใช้งานกับ อแดปเตอร์แบบ Manfrotto ได้ ตัวซิงค์แบบฐานเตี้ยหน้าตาเป็นแบบนี้ ซึ่งคุณหาซื้อได้จากเวป Flashzebra.com


แต่เอาเข้าจริงแล้ว ตัวอแดปเตอร์นี้ กลับมีที่เสียบร่ม "ไม่เอียงทำมุม" กับที่ติดตั้งแฟลช ดังนั้นแฟลชจะยิงส่วนบนของร่มอย่างเดียว
ไม่ว่าจะเป็นอะไรก็ตาม ดังนั้น ผมจึงต้องดัดแปลงอีกครั้ง ให้เหมือนกับ กรณีของ Manfrotto ดังนี้ (ตอนนี้ ทากาว ทิ้งไว้)



อย่างไรก็ตาม ผมพบว่า มันอาจมีประโยชน์มากกว่า หากใช้กับ ที่ติดตั้งแฟลชแบบสองตัวดังนี้





สรุปว่า ถ้าคุณไม่ต้องการความยุ่งยากมากนัก ใช้ต้นทุนต่ำ อแดปเตอร์รุ่นแรกๆ น่าจะเป็นคำตอบกับคุณ เพราะแค่ใช้ยางรัดแบบผม
หรือ คุณสามารถซื้อ ยางรัดผมผู้หญิงสีดำ หลายๆเส้น มารัดด้านหน้า และ หลัง ก็อยู่ได้แข็งแรงพอๆกันครับ
ถ้ากาวที่ผมทาไว้แห้ง จะมารีวิว เพิ่มเติมให้ครับ



อัพเดทข้อมูล ผมได้แปะฐานพลาสติกกับเหล็กเรียบร้อยด้วยกาวอีพ็อกซี่ ก็ดูมั่นคงแข็งแรงดี แต่ผมไม่กล้าออกแรงมากๆเพื่อทดสอบ :-) ผมได้ลองเมาท์แฟลชกับฐานนี้ดู ตามภาพ


จะเห็นว่า ฐานมันจะมี วงแหวนปรับระดับ ทำให้เราสามารถปรับทิศทางของฐานให้หันไปทางรูใส่แกนร่มได้ตรงเสมอ
เมื่อเมาท์ทั้งหมดแล้วจะได้ภาพตามนี้


หมายเหตุ ผมพบว่า หัวบอลของ ishoot นี้ ไม่ค่อยแข็งแรงเท่าที่ควร แม้จะบิดค่อนข้างแรงแล้วก็ตาม ต้องบิดแน่นมากๆ
และองศาที่เอียงตามขอบด้านบน ก็ไม่ค่อยเอียงมาก ต้องใช้ร่องที่มีให้ จัดองศา ซึงถ้าผู้ผลิตแก้ปัญหาเฉพาะเรื่อง หัวบอลไม่แข็งแรงนี้
สักอย่างก็คงแก้ปัญหาได้เยอะ สุดท้ายก็คือ สำหรับคนที่คิดจะซื้อ เมื่อเทียบกับ ราคา คุณภาพ แล้ว ผมว่า ผมรับได้
ข้อดีของมันคือ แม้คุณจะไม่ใส่ ร่ม คุณก็จะได้ระบบที่รองรับการเมาท์แฟลชเดี่ยวๆของคุณได้เป็นอย่างดี แต่หากคิดจะใส่ร่มเข้าไป
คงต้องดัดแปลงตามที่ผมลองทำนี้ ซึ่งก็ไม่ยากเกินไป และนับว่าแค่ทากาวอย่างเดียว ไม่ยุ่งยากมาก
เรื่องความแข็งแรง ต้องนับว่า ด้อยไปสักหน่อย เมื่อเทียบกับ Manfrotto หรือแม้แต่ อแดปเตอร์รุ่นแรก ที่มั่นคงแข็งแรงกว่า

วันจันทร์ที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2553

สตูดิโอแฟลชพกพาจากจีน เลียนแบบ Elinchrom Ranger Quadra คุณภาพสุดยอด!!!


หมายเหตุ ภาพประกอบจากเวปไซด์ Strobist
เวปไซด์ strobist ได้รีวิวแฟลชสตูดิโอแบบพกพา ซึ่งขอสงวนนาม แต่มาจากจีน ซึ่งมีผู้ผลิตใหญ่ผลิตให้บริษัทรายย่อยเอาไปแปะยี่้ห้อของตน
มีคนเดาไปต่างๆนาๆว่าน่าจะมาจาก เวปนี้ ที่มีชื่อว่า GODOX
แต่จากเวป GODOX ไม่ได้ให้ สายเพาเวอร์สำหรับ SB-xxx มาให้เหมือนที่ เดวิท ฮอบบี้ ได้รับ ตามภาพด้านล่างนี้



จากที่เขาสรุปมา ผมว่าน่าประทับใจมาก กล่าวคือ กำลัง ขนาด 400Ws นั้น เชื่อได้ว่า เต็มสูบ เพราะเขาทดสอบโดยปรับไปที่ เต็มกำลัง และยิงผ่านร่ม (คิดว่าเป็นทะลุ) ในระยะ 6 ฟุต ที่ ISO 200 ได้ F16 ดังนั้นเราจะได้ F11 ที่ ISO 100 ก็นับว่า พอจะฆ่าแอมเบี้ยนแรงๆได้ (อย่าลืมว่า ยิงผ่านร่มที่ระยะ 6 ฟุตด้วย) ไม่ยากเกินไป

กำลังของแบต เขาทดสอบได้ว่ายิงที่ Full ไป 300 หน จนเบื่อเล่น แบตยังเหลือๆ!!

เสียดายที่เวปไซด์ GODOX ไำม่แจ้งราคา แต่ถ้าเราหาใน e-bay น่าจะได้อะไรแบบนี้ที่ใกล้เคียงกัน



ผมลองค้นใน e-bay เจอที่ใกล้เคียงอันนี้ ราคา $480 เหรียญ


แต่ผมว่า เซตที่ เดวิท ฮอบบี้ มี สวยกว่า นะครับ คงอีกไม่นานน่าจะแพร่หลายใน e-bay ครับ

วันเสาร์ที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2553

ภาพสไตล์ Dave Hill และเบื้องหลังการถ่ายทำ


คงได้อ่านบทความเรื่อง การทำภาพสไตล์ Dave Hill ไปแล้วนะครับ
การทำภาพแบบนี้ จะเป็นการถ่ายภาพ ผสมผสานกับการใช้ PS แต่งภาพ เพื่อให้ได้ภาพออกมาตามที่ต้องการ
เทคนิคการแต่งภาพ ยังเป็นเรื่องที่ยังไม่เปิดเผยว่าเขามีกระบวนการทาง PS แต่งภาพอย่างไร เพราะมันดูเหมือนเป็นเอกลักษณ์ของเขาเลย ใครที่ดูภาพของเขาบ่อยๆ เมื่อเห็นภาพแบบนี้ จะบอกได้ทันทีว่า ภาพสไตล์เดฟฮิล
วันนี้ เราลองมาดูเบื้องหลัง วิดีโอการถ่ายภาพนี้กันครับ สนุกดี






100204 MGM Wet Republic - photo shoot from Dave Hill on Vimeo.

วันพุธที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2553

วิธีถ่ายภาพ ชีวิตสัตว์ แบบใหม่ แหวกแนว น่าสนุก











ผมเห็นไอเดียนี้ ก็รู้สึกทึ่งว่า มันคิดได้ไงฟะ เก่งมากกก
การถ่ายภาพชีวิตสัตว์อย่างใกล้ชิด ได้มุมมองแปลก และ ปลอดภัยต่อตัวเอง
กระทาชายสองคนนี้ ได้ไอเดียเจ๋ง จากการใช้ รถบังคับวิทยุ ติดกล้อง และ แฟลช สองตัว วิ่งตะลอนๆ ไปถ่ายภาพสัตว์

ผมว่า น่าลองเอาไปใช้กับ ซาฟารีเวิร์ด หรือ สวนสัตว์เปิดเขาเขียวนะครับ น่าเล่น

BeetleCam Project Teaser from Will & Matt Burrard-Lucas on Vimeo.

Behind the Scene - Popular Photography



ผมสมัครหนังสือ Popular Photography และได้อ่านบทความเรื่องแสง ซึ่งทำเป็นคอลัมน์ประจำ ไปแล้ว รูปแนวนี้ จริงๆ ตากล้องบ้านเราก็เ่ล่นกันบ้าง แต่มีประปรายและใช้แสงธรรมชาติล้วนๆ แนวคิดคือ ตั้งกล้องไว้ แล้วจัดแสงถ่าย หลายๆภาพ และนำมาประกอบกันใน โฟโตชอป ความยากจะอยู่ตรงที่ทำได้เนียนแค่ไหน แสงจัดได้ดูกลมกลืนหรือไม่

ลองดูเวอร์ชั่น วิดีโอ ตอนทำสนุกดีครับ เพลง ผมว่า ตลกดี

วันอังคารที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2553

แฟลชจากจีน ราคาถูก คุณภาพ?? แต่ แรงดีใช้ได้ YN 460-ii

เดิมผมรู้จัก YN 460 มาก่อน แต่มาซื้อ Yn-462 ทีหลัง ด้วยเหตุผลว่า ถูก ล้วนๆๆ ครับ 555
ราคาแฟลชนี้จะอยู่ราวๆ 50 เหรียญ หรือราว 1500 บาท ปัญหาที่ผมพบในรุ่น YN-462 คือ หน้าปัทม์แบบหมุน ทำให้จะเพิ่มกำลัง ลดกำลัง ทีละสต๊อปทำได้ยาก เพราะไม่รู้จะขยับไปเท่าไหร่ ไม่เหมือน Sunpak หรือ Vivitar ที่หมุน หรือ ขยับที่ละ ขีด ยิ่ง Sunpak เอามือคลำๆก็ทำงานได้แล้ว ปัญหาต่อมาคือ มันตายง่ายมาก ผมยิงแฟลชเล่นๆ 20-30 ที ที่กำลังเต็มเหนี่ยว มันเดี้ยงสนิท ดีว่าส่งเคลมได้
ตัวต่อมา ทำงานได้ แป๊บเดียว ตายเลย ส่งเคลมซ้ำ ตัวล่าสุดยังหายใจดีอยู่

ผมอ่านรายงานเกี่ยวกับแฟลชรุ่น 460 462 พอจะได้ความคล้ายๆกันคือ มันตายง่ายไปหน่อย ลองอ่านได้ที่ กระทู้นี้

แต่หลังจากนั้น YN ออกแฟลชตัวใหม่ แรงกว่าเดิม เร็วกว่าเดิม จากรายงานนี้

การทดสอบความเร็วในการ รีไซเคิล ดูได้จากที่นี่



YN 460-II หรือเรียกเล่นๆว่า มาร์คทู นี้ แรงกว่าเดิม แรงกว่า Vivitar 285HV และ แรงกว่า Lumopro ทำให้มันน่าสนใจมากครับ

รายงานทดสอบ ความแรงดูได้จากนี่
http://www.kurbsterphotography.com/blog/retest.jpg

มารู้จักกำลังของแฟลชและพลังงานไฟฟ้ากัน

บทความนี้ ไง ก็ คลาสสิก ต้องลอกเอามาแปะซ้ำก่อนหายไปกับกาลเวลาครับ
ผมขอลอกก่อน แล้วจะมา อีดิต เกี่ยวกับ แฟลช Alienbees รุ่นล่าสุด คือ อันสไตน์ นะครับ
-------------------------------------------------------

วัตต์ วัตต์วินาที ลูเมน ลักซ์ ...........

ไหนๆ เวปนี้ก็เน้นเรื่องแสง อุปกรณ์กำเนิดแสง มาเรียนรู้คำศัพท์เกี่ยวกับ อุปกรณ์แสงกันหน่อยดีไหม วิชาการกันหน่อย แต่สนุกไม่น่าเบื่อหรอก


เราก็รู้ๆกันอยู่ ว่า เรามักเรียกกำลังของแฟลชสตูกันว่า วัตต์ ซึ่งไม่ถูกต้องนัก แต่อาศัยเอาง่ายเข้าว่า ไม่ต้องพูดยาว เราเลยเรียกกันว่า วัตต์ กันร่ำไป ฝรั่งเขาจะเรียกกันว่า วัตต์เซ็กคั่น (Wattseconds) หรือ จูลล์ (Joules) ซึ่งมันหมายถึง ปริมาณของกำลังไฟฟ้าที่ถูกปลดปล่อยในตัวแฟลช ( amount of electrical power discharged with each flash) จะสังเกตนะครับว่ามันคือค่า ปริมาณของกำลังไฟฟ้า ไม่ใช่ตัวความสว่างจริงๆ

ทีนี้มันสำคัญอย่างไร มันจะไปสัมพันธ์เชื่อมโยงกับความสว่างจริงๆไงครับ
เพราะวิธีการออกแบบตัวแฟลชของแต่ละโรงงานนั้นเก่งไม่เท่ากันครับ นี่เล่นกันแบบนี้เลย
ลองมาดูวิธีคิดพื้นฐาน สมมติเราใช้หลอดไฟแบบใส้ทังสเตน 60W เทียบกับหลอดไฟฟลูออเรสเซนส์ 60W จะให้ความสว่างไม่เท่ากัน จริงไหมครับ (เหตุที่หลอดไฟฟ้าใช้คำว่า วัตต์ เฉยๆ เพราะเป็นการบอกเรื่องการใช้กำลังไฟเท่านั้น ไม่ได้บอกถึงปริมาณไฟฟ้าที่ปลดปล่อยในเวลาอันหนึ่ง อาทิ เขาไม่มีทางรู้ว่า คุณจะเปิดหลอดนีออนนี้ทิ้งไว้กี่ชม)




ทีนี้ความสว่างเขาจะใช้มาตรอะไรวัดกันล่ะ
คำว่า ลูเมน หมายถึง หน่วยวัดความเข้มของแสงที่ตกลงบนพื้นผิว โดยที่ Lumensecond (Ls) refers to a light of 1 Lumen intensity for a duration of one second หรือปริมาณแสงขนาด 1 ลูเมนที่ปลดปล่อยใน 1 วินาที เอาละใกล้เข้ามาอีกนิด
ถ้าแฟลชทุกตัว อ้างอิงค่านี้ เราจะไม่มีปัญหาในการเลือกซื้อแฟลชนัก เพราะมันเป็นการวัดค่าปริมาณแสงจริงๆ ไม่ใช่วัดพลังงานไฟฟ้า สาเหตุคือ แฟลชตัวหนึ่ง อาจเปลี่ยนกำลังไฟฟ้า 1 หน่วย ไปเป็นค่าความสว่างได้ไม่เท่ากัน

ถ้ามีแฟลชตัวหนึ่ง สามารถแปลงพลังงานไฟฟ้า 400 Wattseconds ไปเป็น 16,000 Lumenseconds ในขณะที่แฟลชตัวที่สองใช้พลังงานไฟฟ้า 800 Wattseconds ไปเป็น 16,000 Lumenseconds คำถามคือ เราจะใช้ค่าอะไรเป็นมาตรฐานในการบอกว่า แฟลชตัวไหนให้ความสว่างมากกว่ากัน? จากตัวอย่าง แฟลชสองตัวนี้ ให้ความสว่าง เท่ากัน!!


[หน่วย Lumensecond (Ls) ต่างกับ lux ก็ตรงที่ Lux จะมีเรื่องพื้นที่เข้ามาเกี่ยวข้อง
เช่น ปริมาณความเข้มแสง 1000 ลูเมน ที่ตกลงบนพื้นที่ 1 ตารางเมตร จะเท่ากับ 1000 ลักซ์
ในขณะที่ปริมาณความเข้มเดียวกัน ตกลงบนพื้นที่ 10 ตารางเมตร ก็จะเท่ากับ 100 ลักซ์]

ดังนั้น แฟลชสตูดิโอ ที่ออกแบบมา ถ้าจะให้แฟร์ จะต้องบอกค่าเป็น Lumenseconds แต่อนิจา เราจะได้ข้อมูลตรงนั้นน้อยมากจากผู้ผลิต มีไม่กี่เจ้าที่กล้าบอกและท้าทายผู้ผลิตรายอื่นๆว่า เขาสามารถออกแบบแฟลชของเขาให้มีประสิทธิภาพดีกว่าแฟลชของเจ้าอื่น




คนที่เอาหัวข้อนี้ชูเป็นประเด็นในคนตื่นตัวกันก็คือ นาย พอล ซี บัฟ ผู้เป็นเจ้าของแฟลชสโตรปยี่ห้อ White Lightning และ AlienBees นั่นเอง

ทีนี้ แฟลช ตัวน้อยที่อยู่บนกล้องเราที่มักวัดหน่วยกันเป็น GN นั่นล่ะ แรงแค่ไหน
ต้องยอมรับว่าหน่วย GN เทียบอะไรได้ยากกับ Ls หรือ Ws ด้วยเหตุที่ว่าค่า GN มีเรื่องระยะทางมาเกี่ยวข้อง และไม่นับเรื่องการติดตั้งตัวดัดแปลงแสง ไม่เหมือนระบบไฟสตูดิโอที่มีตัวดัดแปลงแสงมากมาย ซึ่งแต่ละตัวจะส่งผลต่อ F-stop และ ระยะทาง
แต่ถ้าคุณอยากรู้จริงๆ ผมมีคำตอบ แต่ต้องใจกล้าหน่อยนะ นั่นคือ คุณต้องแกะแฟลชของคุณออกมา ให้เห็นตัว Capacitor ข้างใน และดูว่า มันใช้ขนาดกี่ ไมโครฟารัด และกี่โวลต์
อาทิ ของ Nissin ที่พังคามือผม มีขนาด 350V 950 ไมโครฟารัด
สูตรในการหาค่า Ws ก็คือ 0.5 x C x Vยกกำลังสอง อย่างในกรณีนี้ก็คือ 0.5*950*.0000001*350(2) = 58.18 วัตต์เซ็คคั่น

ลองแกะ 580EX, SB-800 ของคุณออกมาดูสิครับ ฮี่ๆๆๆ กล้าอ่ะเป่า

Parabolic Light Modification System (PLM) ไลท์ มอด ที่น่าเล่น




ระยะหลัง ผมได้่ข่าวความเคลื่อนไหวที่น่าสนใจอย่างหนึ่ง นั่นคือ กำลังจะมี Light Mod ตัวหนึ่ง ที่อาจมาแรงแซง softbox ก็เป็นได้

จริงๆ คุณก็คงเคยเห็น light mod แบบนี้ในงาน photo ใหญ่ๆของไทย อย่างผมเจอที่งาน Photoworld สยามพารากอน ที่ผ่านๆมา

ราคาของ light mod นี้ ว่ากันว่า แพงหูฉี่ เล่นกันเกือบ สองแสน !!!!!

เจ้า Light Mod นี้ มีชื่อเรียกคล้ายๆกันว่า พารา โบลิก รีเฟล็กซ์เตอร์ หรือ พูดให้เต็มยศ ก็คือ Parabolic Light Modification System (PLM) เรียก PLM ดูจะเท่กว่า

แต่ไม่กี่วันมานี้ ตา พอลล์ ซี บัฟ คนสร้างสโตรป ชื่อดัง อย่าง Alien bees ก็ได้เขย่าตลาด โดยการ สร้าง PLM มาขายในราคา ราว $75 !!!!!!!!

ป่วนสิครับงานนี้ ของเขาเล่นกัน เป็นแสน อันนี้ราคาไม่ถึงสามพัน +++

ผมยังอยากได้มาเล่นสักอัน แต่ปัญหากลายเป็นว่า มันใหญ่เกินกว่ากำลังของแฟลชแบบฮอตชู จะเอาอยู่ ต้องเล่นไฟสโตรปราวๆ 800 วัตต์เซ็กกัน ขึ้นไป

มีฝรั่งคนหนึ่งรีวิวไว้น่าสนใจดีลองดูตัวเลขและรูปนะครับ






ภาพสไตล์ Dave Hill

จริงๆแล้ว ที่กลุ่ม Flickr พูดถึงเรื่องนี้นานพอดู ผมเองก็ไม่ได้สนใจมาก แต่แนวมันแปลกดี

ถ้าดูดีๆ สไตล์การโปรเซสภาพจะเป็นแนวการสร้างคอนทราสจัด แต่ดูดี ใครสนใจดูงานของ Dave Hill มาตามลิงค์นี้ครับ

http://www.davehillphoto.com/







ร่มสะท้อน ร่มทะลุ และ ซอฟต์บ็อกซ์ เลือกใช้อันไหนดี?

เป็นบทความเก่า ที่ผมทำไว้ใน thebetterpix และค้นจากกูเกิล ทราบว่า มีเวปดังของไทย ทำลิงค์ไปอ้างกันพอควร
ด้วยความเสียดายเลยคิดว่าแปะไว้เป็นจุดอ้างอิงที่นี่ด้วยจะดีกว่า just in case

สำหรับหลายคนที่เริ่มจะหัด เล่นกับไฟสตู หรือ สโตรป มักมีคำถามว่า ผมจะใช้ ร่มสะท้อน หรือ ร่มทะลุ ดี
แล้วร่มมันดีกว่าหรือแย่กว่า ซอฟต์บ็อกซ์ อย่างไร? คำถามนี้น่าสนใจครับ

ใครที่ติดตามบทความตั้งแต่แรกของผม คงจำได้ว่า เหตุผลที่เราใช้ตัว ดิฟฟิวเซอร์ (diffuser) เหล่านี้ ก็คือ
การพยายามทำให้แหล่งกำเนิดแสงกระจายตัวและมีขนาดใหญ่ขึ้นนั่นเอง
แนวคิดหลักเดิมของการสร้างแหล่งกำเนิดแสงให้มีขนาดใหญ่ขึ้นก็เพราะเรา ต้องการ คุณภาพของแสงที่ดีขึ้น
แต่กระนั้น ก็ยังไม่พอ นอกจากเราต้องการแหล่งกำเนิดแสงที่ใหญ่แล้ว เรายังต้องการให้แสงมีคุณภาพที่ดีขึ้นไปอีก
โดยการทำให้แสงกระจัดกระจายหรือทำให้แสงนุ่มขึ้นนั่นเอง

ซอฟต์บ็อกซ์ และ ร่มทะลุ ดูเหมือนจะมีการทำงานที่คล้ายกัน มากกว่า ร่มสะท้อน

ร่มสะท้อนนั้นทำหน้าทีอย่างเดียวคือ สะท้อนแสงจากแหล่งกำเนิด ไปยังวัตถุ ซึ่งยังมีอีกว่า วัสดุที่ใช้สะท้อนภายในนั้น จะเอาแบบ สะท้อนมาก(มันวาวมาก) หรือ สะท้อนน้อย(มันวาวน้อย) หรือแม้แต่ใช้ตัวเนื้อของผ้าไนล่อนสีขาวเอง
เป็นตัวสะท้อน (เราสามารถใช้ร่มทะลุ ในโหมดของร่มสะท้อนได้ เพราะมันมีสีขาว สะท้อนแสงได้) ข้อดีของร่มสะท้อนคือ การสูญเสียประสิทธิภาพจะต่ำ ร่มสะท้อนบางชนิดก็นำไอเดียของซอฟต์บ็อกซ์เข้ามาเสริม กล่าวคือ มันจะมี
ผ้าไวนิลกรองแสงอีกชั้นหนึ่งหลังจากสะท้อนออกมา





ร่มทะลุ และ ซอฟต์บ็อกซ์ นั้น เหมือนกันตรงที่ต้องการให้แหล่งกำเนิดแสงกระจัดกระจาย(หรือกระเจิง) ส่วนสิ่งที่ต่างกันสำหรับสองสิ่งนี้ เป็นเพียงแค่รูปแบบที่ได้ (ดูรูปด้านล่างประกอบ) แล้วแต่ว่าคุณพึงพอใจแบบไหนมากกว่า แต่ดูเหมือน ซอฟต์บ็อกซ์จะได้เปรียบตรงที่ว่า มันสามารถควบคุมทิศทางได้ดีกว่า อันเนื่องมาจากมันมีตัวสะท้อนภายใน ที่จะอัดแสงผ่านม่านไวนิลด้านหน้า แต่ร่มทะลุ จะมีการกระจัดกระจายของแสงที่มีทิศทางน้อยกว่า ซอฟต์บ็อกซ์ อันเนื่องจากเราไปหันด้านโค้งเข้าหาแบบ ทำให้แสงกระเจิงออกไปตามแนวความโค้งของร่ม ซึ่งในกรณีของทิศทางแสง ร่มสะท้อนจะคุมทิศทางแสงได้ดีกว่า จุดอ่อนอีกประการของร่มทะลุคือ การที่แสงส่วนหนึ่งสะท้อนกลับที่ด้านหลัง
ซึ่งอาจไปรบกวนสิ่งที่ถูกถ่าย หรือ รบกวนคนทำงานที่อยู่ด้านหลังได้ อย่างไรก็ดี ปัจจุบันเราจะได้เห็นลูกผสม
ระหว่าง ร่มทะลุกับซอฟต์บ็อกซ์กันบ้างแล้ว อย่างระดับธรรมดาก็มีเพียงผ้าดำคลุมแสงที่จะสะท้อนกลับ
แต่อย่างระดับ advance นั้น น่าจะเรียกว่า ซอฟต์บ็อกซ์ที่ทำเป็นรูปร่มมากกว่า ซึ่งมันมีชื่อเรียกว่า Octabox
ซึ่งผมเชื่อว่าจะได้รับความนิยมในบ้านเรามากขึ้นเรื่อยๆ




ทีนี้ก็อยู่ที่คุณแล้วว่า คุณจะเลือกเอาแบบไหนที่เหมาะสมกับการใช้งานของคุณเอง


EDIT: ผมขอเพิ่มเติมในส่วนของ การ Spill ของแสงนิดหนึ่ง ในบทความเก่าไม่ได้อธิบายไว้ นั่นคือ ร่มทะลุ แม้จะสามารถแหย่เข้าใกล้วัตถุได้มาก แสงนุ่ม แต่ปัญหาคือ การสะท้อนกลับของแสง กล่าวคือ ส่วนหนึ่งจะทะลุไป อีกส่วนจะเด้งออก ทำให้มีปัญหาในการควบคุมแสง ซึ่งโปรหลายๆคนไม่ชอบ ส่วนที่พอจะ รอมชอมกันได้คือ ร่มสะท้อน ที่แม้ว่าจะไม่มี Spill แต่ปัญหาของการใช้ร่มคือ
การ สาดแสง ไปทั่ว และคุมยาก ไม่เหมือน softbox ที่จะคุมแสงง่ายกว่า แต่ร่มสะท้อนนั้นจะเหมาะกับการถ่ายภาพหมู่ ที่ต้องการสาดแสงให้ทั่วถึงเป็นวงกว้าง ก็ได้อย่าง เสียอย่าง ครับ

Briese : ตัวดัดแปลงแสง และ ระบบแฟลช ที่ ไฮโซ สุดๆ

คิดอยู่ว่า จะแปะ วิดีโอ ไอ้เจ้าแฟลชและระบบไฟของ Briese นี่ดีหรือไม่ แต่มัน อดไม่ได้ จริงๆ ระบบแฟลชอะไรจะไฮโซ ขนาดนั้น
ขนาดเทพๆ อย่าง Profoto กับ Broncolor ยังสะดุ้งเลย

A Day at the Beach - Behind the Scenes Photography

เมลิซ่า ร็อดเวลล์ ช่างภาพแฟชั่นระดับแนวหน้าอีกคนที่ผมชอบ ผมว่าเธอสวยนะ ในอายุขนาดนี้
กล้องใช้ แฮส แต่ที่แปลกใจคือ เธอใช้แฟลช ในการลบเงา ดูไปคล้ายๆ 430EZ ที่ผมเคยมี (แต่ทำไหม้ไปแล้ว)
เบื้องหลังงานนี้ สนุกดีครับ

วันจันทร์ที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2553

นี่ก็ห้ามพลาดอีกเช่นกัน เป็นงานของ คนที่เข้าอบรมกับวิทยากรต่างๆ ซึ่งจะมีชื่อวิทยากรบอก
ที่สนุกคือ ดนตรี!! ผมว่า เพลงมัน เข้ากับเนื้อหาดีมากๆเลย ทำให้การชม ได้อรรถรส มากขึ้น

gulf photo plus 2010 Slideshow of Students' Work from gulf photo plus on Vimeo.

gulf photo plus 2010

พลาดไม่ได้ ด้วยประการทั้งปวง กับ วิดีโอ จากดูไบ ชุดนี้
ผมม่วนซื่น กับการดูวิดีโอนี้มาก ขำก็ขำ ที่แต่ละคน เย้ากัน แบบเพื่อนฝูง
และเห็นความเป็นผู้ใหญ่ในตัวตนของนักถ่ายภาพระดับโลกเหล่านี้

The gulf photo plus 2010 shoot-out from gulf photo plus on Vimeo.

เทคนิคการถ่ายภาพโดยใช้แฟลช ในการจับจังหวะการว่ายน้ำ

แบบนี้แสงธรรมชาติจะทำไม่ได้เลย ต้องใช้เทคนีคนี้เท่านั้น ส่วนใครจะไปประยุกต์ใช้กล่องกันน้ำแบบไหน ลองทำกันดูครับ

เทคนิคถ่ายหยดน้ำ

เทคนิคถ่ายหยดน้ำครับ จริงๆ เราสามารถทำเองด้วยอุปกรณ์ง่ายๆ เพียงแต่ต้องลองหลายๆทีหน่อย ส่วนจังหวะให้ได้แบบเขา
คือ ให้หยดน้ำสองหยดกระทบกันกลางอากาศ จะยากมาก ถ้าไม่มี อุปกรณ์อิเล็กโทรนิค ช่วยครับ


รวม Work Shop เก่าๆ ครับ

ผมคิดว่า รวบรวม เอา Workshop เก่าๆมาไว้ที่นี่ก็ดี เพื่อนสมาชิกจะได้ พบในที่ๆเดียวครับ














Light Painting สวยๆ







ภาพจาก http://digital-photography-school.com/
เป็นภาพที่สวยมาก ในการทำ Lighting Painting ครับ
วิดีโอตัวอย่าง ในการทำภาพสวยๆ แบบนี้ อยู่ด้านล่างครับ
อันนี้ เป็นโฆษณาเหล้าชีวาส แต่หลักการเหมือนกันครับ


Learn to Light 9

เป็นการเล่นเจลสีครับ ถ่ายในวันเดียวกับ Learn to light 8 นั่นแหละครับ


Learn to Light 8

อันนี้ ผมขอแก้ไข นิดนะครับ การจัดแสงแบบ ผีเสื้อ Butterfly Lighting ที่ผมอธิบาย จะผิดไปนิด เนื่องจากผมเรียนมาหลายสำนัก
ที่อธิบายก็เป็นหนึ่งในคำอธิบาย แต่ในระดับสากล จริงๆ ที่ผมสรุปได้คือ การให้แสงแบบนี้ จะให้แสงมาจากด้านบน จนเกิดเงาใต้จมูก
ซึ่งมองที่ปลายจมูกและเงา จะดูคล้ายผีเสื้อ กางปีกครับ

การจัดไฟแบบนี้ จะมีรีเฟลกซ์ หรือไม่ีมีก็ได้ แล้วแต่ชอบ หลักคือ ไฟมาจากด้านบนของแบบเท่านั้นครับ

ข้อควรระวังคือ อย่าให้แสงสูงเกินไป จนเกิดเงาใต้ตา เว้นว่าเราต้องการเอฟเฟคนี้จริงๆ (มีช่างภาพอาชีพระดับโลกบางคน จงใจให้เกิดเงาใต้ตา แต่ยีังพอมองเห็นดวงตาได้ชัด)

Learn to Light 7

อันนี้มันส์ โคตรๆ เล่น stop action กันกับ แฟลช



ค้นหาวีดีโอคลิปเพิ่มเติมใน เครือข่ายตากล้อง บ้านสำหรับเพื่อนทุกคน

Learn to light 6

ไปถ่ายเจ้าอ้อแอ้ ที่บ้านก้ามปู สภาพจริงๆคือ ฝนตก แล้วอยู่ในร่ม แสงน้อยมากกกก
ใช้แฟลชก็เลยถ่ายได้


ค้นหาวีดีโอคลิปเพิ่มเติมใน เครือข่ายตากล้อง บ้านสำหรับเพื่อนทุกคน

Learn to light 5

ไปถ่ายเด็กที่ จิมโบรี และต้องการถ่ายโดยใช้ F เดียวตลอด ทุกมุม ปัญหาก็คือ จะทำอย่างไรให้ ได้แสงเท่ากันตลอดภายในขอบเขตที่เราต้องการ ความรู้นี้ นำไปใช้ได้ กรณีถ่าย กีฬา เช่น บาสเก็ตบอล เป็นต้น

Learn to light 4

อันนี้เราไปเกาะสีชัง ในนามเวป thebetterpix ครับ นับว่าเกือบแย่ เพราะมีเมฆมาก และเราตั้งใจ ดัดแปลงแสงธรรมชาิติ ทีมงานเลยไม่มีใครเอา แฟลช และ อุปกรณ์ด้านแฟลช ไปเลย มีแต่รีเฟลกซ์เพียวๆ แต่โชคดี ที่ฟ้าเปิดบ้างเป็นระยะๆ แต่ไม่แรงจัด ซึ่งเราอยากให้เป็น
จะได้ให้ความรู้เรื่องการดัดแปลงแสงธรรมชาติตอนแรงจัดๆ (ชอบ) เสียดาย เลยเล่นได้เป็นบางอย่างเท่านั้น แสงวันนั้น กลับเป็นแสงที่ ดิฟฟิวส์แล้ว เป็นอย่างดี


ค้นหาวีดีโอคลิปเพิ่มเติมใน เครือข่ายตากล้อง บ้านสำหรับเพื่อนทุกคน

Learn to light 3

อันนี้ ไปเล่นกันที่สวนรถไฟ ก่อนที่จะมีกรณี เรื่องถ่ายภาพ ที่มีอุปกรณ์เยอะๆเข้าไปในสวนครับ จะว่าไป อุปกรณ์ของเรามีน้อยนิดเองจริงๆ


ค้นหาวีดีโอคลิปเพิ่มเติมใน เครือข่ายตากล้อง บ้านสำหรับเพื่อนทุกคน

Learn to light 2

ยังเป็นการอบรมที่งาน Comworld อยู่ครับ

Learn to light 1

ตาบิ๊ก ได้จัดทำ ซี่รีส์นี่ขึ้น ตอนที่เราเริ่มทดลองภายในของเราเองบ้าง หรือ ตอนอบรมสัมนาที่งาน Comworld บ้างครับ


งาน Off-Camera Lighting ที่ผ่านมา

อันนี้เป็นจุดเริ่มก่อนจะทำเวปไทยออฟนะครับ ผมได้รับเชิญให้ไปให้ความรู้เรื่อง off-camera ครับ ตอนนั้น องค์ความรู้เรื่องนี้ ยังค่อนข้างใหม่ในบ้านเรา สำหรับต่างประเทศ ก็ถือว่าพึ่งจะตื่นตัวกันครับ คือ อาจมีมานาน แต่พึ่งตื่นตัวกันก็ช่วงนั้นแหละครับ ลองดู ภาพบรรยากาศละำกันครับ

บ้านหลังใหม่ของ Thaioffcamera

หลังจากที่ผมทราบว่า เวป NING ที่เป็น กลุ่มสังคม ที่เปิดให้ใช้ฟรี จะเก็บเงิน ผมชักไม่แน่ใจว่า เจ้าของจริงๆคือ ตาบิ๊ก (Bigowl) จะทำไงต่อ จ่ายเงินหรือพอร์ตข้อมูลออกไป แต่จะไปไหน? ผมมาคิดสะ-ระ-ตะ แล้วก็คิดว่า ไหนๆ เราก็มาสายแสง เน้นข้อมูลเชิงวิชาการ มองภาพกว้างในระดับสากล ก็จะเสียดายข้อมูลต่างๆ ที่ทำไว้ในไทยออฟ ผมเลยคิดว่า ทำบล็อกขึ้นมาเล่นๆส่วนตัวละกัน แต่ชอบชื่อไทยออฟนะ ซึ่งอันที่จริงตอนตั้งก็ถกกับตาบิ๊กนานเรื่องชื่อ แต่ก็มาลงเอยชื่อนี้ ผมชอบ เขาก็ชอบ

อาจถึงเวลาที่จะมีเวปส่วนตัวเองจริงๆซะที เผื่อจะได้ทำอะไรได้สะดวก จัดอบรมเอง ก็คล่องตัว
ผมเลยคิดว่า รีบตั้งซะ แล้วพอร์ตข้อมูลมา และถ้าเวปนั้นยังอยู่ก็ร่วมมือกันทำประโยชน์ได้

นี่คือ ที่มาของการเกิดบล็อกนี้ ซึ่งผมคิดว่าในระยะยาว บล็อก ก็ยังคงอยู่ไปอีกนาน แถมดูแลรักษาง่าย
แม้จะไม่เท่ากับเวป แต่คงทำอะไรๆได้พอควร ค่อยๆสะสม สาวกเอา 555

ผมคิดว่าระยะแรกจะพอร์ตเอาลิงค์จากวิดีโอเก่าๆ ซี่รี่ส์ Learn to light มาใส่ก่อน จากนั้นก็ดูว่าผมเคยทำบทความอะไรที่น่าสนใจก็พอร์ตมา และค่อยๆ ทำเพิ่ม

เพราะทุกวันนี้ ผมเชื่อว่า ผมมีข้อมูล ล้นเกิน ในเรื่องวงการถ่ายภาพในระดับสากลแล้ว เพราะอ่านไม่ทัน
RSS ที่ผมมีก็เกือบจะร้อยได้แล้ว ไม่นับ หนังสือ E-magazine อีก พระเจ้าช่วยกล้วยทอด

กลับมา อัพเดท นะครับ ผมมีข้อแนะนำในการติดตามบล็อค นั่นก็คือ คุณควรใช้ RSS Feed หรือไอ้ตัวสีส้มๆ ที่อยูุ่มุมบนของแถบ URL นั่นแหละครับ และ จะให้ไดี คุณน่าจะดาวน์โหลด Google Reader ไปใช้ด้วย เพราะทุกวันนี้ ผมก็แทบไม่ได้เข้าเวปอื่นใด
นอกจากอ่านใน Google Reader นี่แหละ ครับ
มันจะทำให้คุณติดตามการอัพเดทจากเวปที่คุณสนใจได้ทุกเวป โดยที่คุณไม่ต้องเสียเวลาเข้าไปที่เวปนั้นเลย
เวปใดที่มีการอัพเดท มันจะแสดงผลให้คุณเห็นเองใน reader นี่จะเป็นวิธีการ ติดตามข่าวสารที่ดีที่สุดในเวลานี้เลยครับ
ลองสมัครดูครับ