pic of day

pic of day

วันเสาร์ที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2554

ใช้ ND ฟิลเตอร์แบบ เข้มข้น เพื่อสร้างสรรผลงานที่น่าทึ่ง








ผมเคยมี ND ฟิลเตอร์ และ CPL ฟิลเตอร์ไว้ใช้ แรกๆตอนเป็นมือใหม่ ก็ทำตามเขาว่ากันว่า เอาไว้ถ่ายน้ำตกให้เป็นสายบ้างล่ะ หรือ เอาไว้ตัดแสงสะท้อน ซึ่งก็จริงระดับหนึ่ง แต่สิ่งที่เราไม่ค่อยรู้กันคือ ในกรณีที่เป็น ND (neutral density) นั้นควรใช้ที่ความเข้มกี่สต๊อป!! ส่วน CPL นั้นทำอะไรไม่ได้มาก เพราะเป็นตัวโพลาไรซ์แสง ซึ่งมักตัดแสงได้ราว 1.5-2 สต๊อป แค่นั้น ส่วน ND จะมีสองแบบใ้ห้เลือกใช้คือ GND (graduated neutral density) มีทั้งแบบสวมหน้าเลนส์ และแบบแผ่นสี่เหลี่ยม ซึ่งแบบแผ่นสี่เหลี่ยมจะใช้งานคล่องตัวกว่า แต่คุณต้องหาตัวจับ (Holder) มาด้วยนะ (ดูรูปด้านล่าง)

วิธีการใส่ ผมไปเจอในหนังสือ Digital Camera World เืดือน เมษา พอดีเลย ยืมรูปเขามาครับ





การเลือกใช้งาน ฟิลเตอร์ ND นั้น เอาในภาพรวมก่อน มันจะไปลดแสงที่จะเข้ามาสู่กล้องของเรา ซึ่งแบบครึ่งซีก นั้นเหมาะกับการบาลานซ์แสงบนและล่างตามที่เราต้องการ ลองนึกถึงการถ่ายภาพ คลื่นซัดเข้าชายหาดในยามเช้าตรู่ โดยทั่วไป ท้องฟ้าจะสว่างกว่าส่วนของหาดมาก ดังนั้น ถ้าคุณต้องการ เอฟเฟค คลื่นที่ซัดเข้ามาให้ดูเป็นสายไหม คุณก็ต้องหา GND แบบเข้มมาบังส่วนท้องฟ้าไว้ (เข้มแค่ไหน เดี๋ยวมาว่ากัน) ส่วน ND แบบเต็มใบนั้น เหมาะกับการถ่ายอะไรที่คุณต้องการลดทอนแสงในภาพรวมลงไป ลองดูตัวอย่างภาพนะครับ ภาพจาก Chris Gin จากบทความ นี้ ครับผม

ภาพนี้ ใช้ ND 3 สต๊อป ซึ่งจะเห็นว่า ผลลัพธ์ไม่ค่อยเห็นเ่ด่นชัดนัก


ส่วนภาพล่างนี้ใช้ ND 10 สต๊อป!! จะเห็นว่าผลของภาพต่างกันมาก


เห็นไหมครับว่าผลลัพธ์ที่ได้แตกต่างกันมาก ทีนี้มาตอบคำถามสำคัญกันหน่อยว่า ควรใช้กี่สต๊อป คำถามนี้ ก็ต้องกลับไปถามก่อนว่าคุณต้องการให้เอฟเฟคมันเป็นอย่างไร? ฟังดูเหมือนกวน แต่ไม่ใช่ เอาล่ะ สมมติว่า คุณต้องการถ่ายภาพด้านบนที่ว่า ผมสมมติเหตุการณ์ว่า คุณใช้ ISO 100 ใช้ F 16 ได้เวลา 1/2 วินาที ถ้าไม่มีฟิลเตอร์ใดๆ ถ้าคุณดูแล้วอยากได้สายน้ำเป็นหมอกหรือเห็นเมฆเคลื่อนตัวเร็วช้าแค่ไหน คุณกะว่าคุณต้องการเวลาเพิ่มเป็น 3-4 เท่าตัวเพื่อให้ได้ผลอย่างที่ต้องการ คุณก็นับสต๊อปได้ดังนี้
จากเดิม 1/2 วินาที ถ้าต้องการ 1 วินาที ก็ 1 สต๊อป 2 วินาที 2 สต๊อป 4 วินาที 3 สต๊อป เป็นต้น ดังนั้นถ้าจะถ่ายให้ได้ 30 วินาทีขึ้นไปคุณก็ต้องการอีก 3 สต๊อป รวมเป็น 6 สตีอป ได้ 32 วินาที เป็นต้น

หรือกรณีเหตุการณ์ที่คุณต้องการถ่ายน้ำตก ในยามแสงแรง จะตัดแสงกี่สต๊อป ?


อย่างในกรณีคุณต้องการถ่ายภาพ พอร์ดเทรด ในยามแสงแดดแรงกล้า สมมติคุณใช้ ISO 100 ความเร็ว 1/100 F16 จะพอดี หากคุณต้องการเปลี่ยนจาก F16->F2.8 คุณก็จะได้ชัตเตอร์สปีด 1/3200 วินาที แต่ถ้าต้องการต่ำกว่านั้นเช่น F2.0 ก็ต้องเป็น 1/6400 ซึ่งอาจเกินความเร็วชัตเตอร์ คุณก็ต้องหันมาใช้บริการ ND ฟิลเตอร์แล้ว

อีกตัวอย่างที่น่าสนใจคือ คุณอยากถ่ายภาพให้เห็นการเคลื่อนไหว ในเวลา กลางวันแสกๆ!! อย่างนี้ (ภาพจาก Light Craft Workshop)


เมื่อได้ไอเดียอย่างนี้แล้ว คุณอาจลองหา ND ฟิลเตอร์ยี่ห้อดีๆ ได้จากเวปเปล่านี้
และปัจจุบัน มี ND แบบปรับค่าได้ ให้คุณเลือกใช้ แต่ราคา แพงจับใจ ครับ

http://www.leefilters.com/camera/products/show/ref:C4B8F834D908E7/

http://www.singh-ray.com/varind.html

http://lightcraftworkshop.com/site/page1000.aspx

วันศุกร์ที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2554

มันไม่ได้อยู่ที่การวางแสง แต่มันอยู่ที่การวางเงา!!


แหม ไม่นึกว่า George Hurrell จะพูดคำคมได้เพียงนี้ ถูกใจ จริง จริ๊งง แบบนี้ต้องกด Like เอ๊ะ ใช่เป่า คนละเรื่องๆ กำลังเห่อ แฟนเพจ ของผมน่ะ พึ่งสร้าง เอ๊า มาว่ากันต่อ

ผมไปอ่านบทความของ Luke Townsend ในหัวข้อ ที่ผมคุ้นนนน มากคือ Small Lighting for Big Results จากเวป DPS ที่ว่าคุ้นเพราะ ถ้าผมจำไม่เพี้ยน เจ้าของประโยคเด็ดนี้คือ David Tejada ซึ่งผมเคยอีเมล์ไปทาบทามมาออกงาน Photo World (แต่ท้ายสุด ไปดูไบกัน ยกแก้งค์ อดเลย)
จริงๆเวปของ Tejada ชื่อ Small Strobes Big Results ครับ คล้ายกันไหมล่ะ

บทความนี้จริงๆพยายามพูดถึงการเลือกใช้ชนิดและขนาดของแสงที่เหมาะสม หรือ right light ซึ่งมันไม่มีหรอก คำตอบนี้ไม่มีอยู่จริง เพราะองค์ประกอบและเงื่อนไขของแต่ละคน แต่ละงานไม่เหมือนกัน และหากคุณชำนาญเรื่องแสงจริงๆจังๆแล้ว คุณจะไม่คิดถึงเรื่องนี้ แต่จะคิดว่า ทำอย่างไรให้งานบรรลุเป้าหมายมากกว่า ผมชอบตรงนี้ ตัวอย่างและคำพูดที่เขาอ้างถึง George Hurrell ซึ่งผมจำชื่อนี้ได้ขึ้นใจเพราะอาจารย์ใหญ่ของผม ดีน คอลลินส์ เคยเอ่ยถึงมาแล้ว ใครอยากดูผลงานของเขาค้นกูเกิลได้ไม่ยากครับ งานดีมักๆ ขอบอก

กลับมาเรื่องนี้ ผมอยากจะชูสองทัมป์ให้เลย เพราะมันตรงใจม๊ากกก เออ เพราะงานจริงที่ผมเจอมันก็เป็นเช่นนั้นแล อุตสาห์ไปค้นหาศาสตร์ในเรื่องนี้อยู่นานสองนาน ในที่สุดมันจะจบลงที่ว่า คุณต้องการให้เงานั้นอยู่ตรงไหน!!!

ไอเดียนี้ได้รับการประยุกต์จาก Luke Townsend ในการถ่ายภาพคนบังคับเครน ให้เหมาะสม ผมไม่นึกว่าไอเดียเขาจะเด็ดขนาดนี้
ลองดูตัวอย่างภาพด้านบนนะครับ เงาของเครน ในที่นี้ ทำให้ภาพนี้ สมบูรณ์มาก และ การเกิดเงานี้ก็ไม่ใช่เกิดลอยๆ แต่เกิดจากการสร้างขึ้นอย่างจงใจ ด้วย SB-900 หนึ่งดวง ส่วนไฟหน้าได้จาก Pro 7B ซึ่งเป็นขนาด 1200 วัตต์

ดูตัวอย่างไดอะแกรมนะครับ



ส่วนการจัดแสง ดูได้ตามนี้ครับ


คิดว่าคงได้ไอเดียใหม่ๆเพิ่มนะครับ

วันอังคารที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2554

กล้องโปร กับมือใหม่ VS ตากล้องโปร กับ ไอโฟน

ถ้าเอาภาษาอังกฤษจะได้ ฟิล กว่า คือ Pro Camera, Noob Photographer และ Pro Photographer, Cheap Camera

จริงๆเรื่องนี้ คุยกันมาหลายฟอรัม แต่พึ่งมาร้อนแรงนิดๆ ในฟอรัมชาวแสง ซึ่ง เหล่าบรรดาชาวแสงต่างเห็นฟัองกันว่า
เมื่อคุณใช้แสงได้ดั่งใจ กล้องแพงระยับ ก็ให้ผลไม่ต่างกับ กล้องราคาปานกลาง (หรือค่อนต่ำ) สั่กเท่าไหร่ ลำดับการซื้อของ ของพวกเราจึงเป็น 1. แสง 2. เลนส์ 3.บอดี้กล้อง

จากฟอรัมผมเลยได้ลิงค์ สนุก ฮา สองอันนี้ ตลกดี และ ได้สาระครับ ลองดู แต่ผมชอบอันแรกนะ ตากล้องมือใหม่กับกล้องโปร 555



อันสอง ตากล้องโปรกับกล้อง ไอโฟน

วันพฤหัสบดีที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2554

มันเกี่ยวกับ ดวงตา เท่านั้นแหละ (ในการถ่ายภาพคน)




หัวข้อ ยอดฮิต ติดอันดับของการถ่ายภาพอันหนึ่งก็คือ การถ่ายภาพบุคคล หรือที่เราเรียกว่า พอร์ดเทรด นั่นเอง
หัวข้อนี้ ผมจำความได้ว่า มีการอบรม และ สอนกันมากกกก ในบ้านเรา แต่ส่วนใหญ่ ผมจะเจอการสอนในระดับพื้นฐาน เป็นส่วนใหญ่




เกือบทั้งหมด ไม่สอนเกี่ยวกับการโพส และ องค์ประกอบสำคัญอื่นๆ ผมแนะนำให้หาหนังสือค่าย Amherst Media มาอ่าน มีโปรหลายคนเก่งมากด้านนี้ ผมแนะนำของ BILL HURTER คนหนึ่งละกัน

กลับมาเรื่องนี้ ผมจำได้ว่า เรื่อง ตา นี่ มีคนพูดคนแรกที่ผมได้ยินคือ แมรี่ ดู ปรี ที่บอกว่า การถ่ายภาพบุคคลนั้น ตา ก็สำคัญเป็นอย่างยิ่ง



การวางตำแหน่ง ตาดำ ที่ดีนั้น ควรวางให้มีพื้นที่ของ ตาขาว ไว้ด้วย ไม่ควรให้นางแบบ กลอกตา ไปทีุ่มุมใดมุมหนึ่งจนชิด ซึ่งวิดีโอที่ Joe Edelman แนะนำในที่นี่ ให้ตัวอย่างที่ชัด นอกจากนี้ งานตัวอย่างของ Joe Edelman ก็น่าสนใจมาก จนผมกะยืมมาใช้ในคลาส CL 101 ด้วย ฮา......

เชิญชม วิดีโอ และ ภาพสวยๆได้ครับ

ส่วนใครที่อยากดูงานของ Joe Edelman ไปดูได้ ที่นี่ ครับ