pic of day

pic of day

วันจันทร์ที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

YN-560 แฟลชตัวใหม่ล่าสุดจาก Yongnuo









ค่ายนี้ออกมาเรื่อยๆนะครับ และดูมีพัฒนาการดี จากเดิมรุ่น YN 460 และออกรุ่น 46X มาเรื่อยๆ ส่วนตีัวผมมี YN-462 อยู่สองตัวครับ

ตัวแรงสุดในตระกูลนี้คือ YN 460 II หรือเรียกว่ารุ่นสองก็ได้ แรงกว่าเดิมหนึ่งสต๊อป ครับ

ตัวล่าสุดนี้ มีฟีเจอร์เด่นตรงที่ สามารถรับแหล่งจ่ายไฟแรงสูงภายนอกได้ แต่ไม่ได้บอกรายละเอียดของตัวเชื่อมต่อว่า กี่โวลท์ และจะอยู่ในแพคเกจแบบไหน ซึ่งถ้าเป็นจริง เราคงเห็นรีไซเคิลไทม์ ที่ FULL อยู่แถวๆ 1 วินาที เป็นแ่น่แท้ แต่ต่อให้ไม่มี แฟลชตระกูลนี้ ก็ได้ชื่อว่า มี Recycle ที่เร็วมากพอๆกับ แฟลชไฮเทคของยี่ห้อกล้องเลยครับ แม้แต่ YN 462 ตัวที่ผมใช้ ถ้าใช้ถ่าน Eneloop ก็จะมี Recycle time อยู่ที่ราวๆ 3 วินาที ถือว่า โอ มากๆเลย

จุดเด่นอีกอย่างก็คือ มันมี GN แรงขึ้นพอๆกับ 580EX ที่ระยะซูม 105mm ต้องถือว่าแรงมากเอาการ

และเขาโฆษณาว่า รุ่นนี้มี Recycle time ที่เร็วมากๆ แต่ไม่บอกว่ากี่วินาที

ลองอ่านสเปกภาษาอังกฤษฉบับเต็มดูครับ

From the images (see more here) we can see the new YN-560 features:

* New body design (think Canon 580EX II), including an improved battery compartment door.
* 24-105mm manually-controllable power zoom
* “Idiot lights” to show zoom setting, mode and power level
* Manual mode and two slave modes (despite the caption saying “TTL”, this is likely reserved for a future model, e.g. YN-565)
* Improved optical slave, with range of “up to 15m”
* PC sync port
* High voltage battery pack input (looks like Canon type)
* Bounce card and flip-down diffuser
* Ready beep (can be switched off)
* Full to 1/128 power (control pad also suggests potential for fractional adjustment?)
* Guide Number (GN) 58 (metres) at Iso 100, 105mm zoom.
* “you can completely get rid of the evil anxiously waiting for call back dream” with a fast recycle time :-)
* 8fps at 1/8 power and below
* Power saving mode (can be switched off)
* Settings are saved when you switch the flash off

วันอาทิตย์ที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

A Holistic Approach to Lighting and Digital Photography






http://super.nova.org/DPR/#TOC

ผมพึ่งเจอเวปไซด์ของ Chuck Gardner ซึ่ง ผมได้มาจากฟีดข่าวของ เดวิท ไซเซอร์ ซึ่งไได้พูดถึงการที่เขาเคยเข้าร่วมสัมนากับ
Monte Zucker ซึ่ง ทั้ง เดวิท และ มอนเต ซุกเกอร์ (พึ่งเสียชีวิตได้ไม่นานมานี้) นี้ผมรู้จัก โดยเฉพาะคนหลังนี่ คือเป็น ตำนานเลยทีเดียว
ผมมีโอกาศได้ดู DVD พื้นฐานการวางแสง และ การโพสติง เบื้องต้นของ ซุกเกอร์มานาน และอ่านต่อไปจึงได้ทราบว่า ไปๆมาๆ Chuck Gardner เคยสมัครเป็นผู้ช่วยของ ซุกเกอร์ (http://super.nova.org/DPR/Monte/)

โดยรวม เวปไซด์นี้ ดูโบราณเป็นอย่างยิ่ง แต่คลาสสิก เป็นอย่างยิ่งด้วย ผมพบว่าข้อมูลในเวปนี้ ถือเป็นข้อมูลระดับ คลาสสิกจริงๆ
โดยเฉพาะผมชอบประโยคนี้ The BIG SECRET about lighting is revealed: It's not the light, but rather contrast and relative brightness of areas in the photo which triggers the brain to react and move the eye in a photo

ซึ่งจะย้อนกลับมาถึง อาจารย์ใหญ่ของผม ดีน คอลลินส์ ในเรื่อง 3D Contrast ได้ (เชื่อไหมครับ สมัยผมศึกษา Lighting ใหม่ๆ เพื่อนผมยกเรื่องนี้มาอธิบาย ผมหัวเราะ และ ไม่สนใจเลย ทีไหนได้ .......... นีึ่มัน คัมภีร์ เก้าอิม นี่หว่า)

ลองอ่านเรื่อง Lighting Pattern นะครับ ผมว่า แกมีไอเดียน่าสนใจ ที่ผมว่า จริงๆมันจะ สนับสนุนแนวคิดแบบ Tradition ในเรื่องนี้ด้วยซ้ำ

คิดว่าเวปนี้จะมีประโยชน์เป็นอย่างยิ่งสำหรับคนสนใจเรื่องแสงครับ

วันพฤหัสบดีที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

การถ่ายภาพมาโคร โดยใช้เทคนิด Focus Stacking


จากบทความในหนังสือ Amateur Photographer ได้เสนอเรื่องการทำ focus stacking ซึ่งเป็นเทคนิคที่จะเอาชนะการถ่ายภาพที่มีกำลังขยายสูงมากๆ โดยสามารถเก็บรายละเอียดทุกส่วนได้หมด
เราคงทราบกันดีว่า การถ่ายภาพมาโครที่มีกำลังขยายสูงๆนั้น DOF จะเหลือน้อยมากๆ จนถึงเศษส่วนของมิลลิเมตร
ดังนั้น วิธีการเอาชนะปัญหาที่ว่า ก็ต้องใช้ตัวช่วย ซึ่งบัดนี้ ซอฟต์แวร์ PS ตั้งแต่รุ่น CS4 มีฟังก์ชั่น อัตโนมัติ ที่จะช่วยให้ชีวิตง่ายขึ้น
นั่นคือ ฟังก์ชั่น Edit > Auto Blend Layers, จากนั้นให้เลือก "Stacking"

วิธีการคือ ตั้งกล้องไว้ และถ่ายหลายๆภาพ โดยเลือกให้จุดโฟกัสครอบคลุมทุกส่วนของภาพที่ต้องการ อย่างในตัวอย่างนี้
เขาถ่ายถึง 60 กว่าภาพ และนำมาซ้อนกัน ตามกระบวนการที่กล่าวไปแล้ว



ลองดูวิดีโอนี้ จะเห็นภาพดีขึ้นครับ
คนถ่ายชนะการประกวดภาพ โดยใช้เทคนิคนี้ และ อุปกรณ์ง่ายๆ ที่ซื้อจาก e-bay

วันจันทร์ที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

On-Axis Fill : การ ฟิลอิน (fill-in) ในแกนเดียวกับ กล้อง

เหตุที่ผมขอเอาแนวคิดของการ ฟิลอิน (fill-in) ที่เรามักคุ้นเคยกันดี ว่าการเติมแสงลบเงานั้น โดยทั่วไปเรามัก เติมแสงในทิศทาง "ตรงกันข้าม" กับแสงหลัก (main light) แต่ เดวิท ฮอบบี้ แห่ง Strobist ได้เสนอไอเดีย การลบเงา จากการ ฟิลแสง ในแกนเดียวกับ กล้องถ่ายภาพ (on-axis fill) ซึ่งแนวคิดนี้มาจากการที่ เขามองว่า การให้แสงในทิศตรงข้ามเพื่อลบเงานั้น อาจเกิดปัญหาตามมาคือ การเกิดเงาอื่น แทรกซ้อนขึ้นมา และ การทำให้คุณภาพของความเป็น สามมิติ ของภาพด้อยลง ซึ่ง ผมเคยเห็น ช่างภาพระดับใหญ่ของ ตปท บางคน เช่น มาร์ค เฮาเซอร์ ปฎิเสธ ที่จะใช้แหล่งกำเนิดแสงอื่น ที่จะลบเงา นอกจากตัวสะท้อนแสง

ปีเตอร์ แยง (Peter Yang)เป็นอีกคน ที่เสนอไอเดียนี้ และ เดวิท ได้รับไอเดียนี้เข้ามา (ดูภาพของเขาใน นิตยสาร Esquire ฉบับนี้ ) หรือตัวอย่าง ที่เดวิทถ่ายโดยใช้เทคนิคนี้


ดังนั้น ไอเดีย ของการ ฟิลอิน โดยอยู่ในแกนเดียวกับกล้องนั้น ก็นับเป็นไอเดียที่น่าสนใจ และลองปฎิบัติดู ผมเองได้ลองทำอยู่บ้าง ตามซี่รี่ส์ ตัวอย่างนี้


เทคนิคนี้ใช้ได้ดี แม้คุณจะไช้ แสงแข็ง (hard light) เป็นแสงหลัก เช่น ภาพนี้



ดังนั้น โดยเทคนิคนี้ คุณสามารถ ปรับ น้ำหนัก ของเงา ให้มากหรือน้อย ตามต้องการ โดยยังคงรักษาคุณภาพของมิติภาพไว้ได้
คุณสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่บล็อกของ Strobist ตามนี้